[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 
 
นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน.

 

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖
--------------------------------------------------------------------
วิสัยทัศน์
 
                             คนไทยได้รับการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำที่มีคุณภาพ อย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดสังคมฐานความรู้ และการมีอาชีพอย่างยั่งยืน
 
พันธกิจ
                             ๑. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพ
                             ๒. จัดและส่งเสริมการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำเพื่อพัฒนาสมรรถนะของประชาชนและชุมชนให้สามารถสร้างสรรค์และแข่งขันด้านอาชีพได้อย่างยั่งยืน
                             ๓. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาเพื่อการมีงานทำ
                             ๔. พัฒนาและส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพต่อการจัดการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ
                             ๕. พัฒนาบุคลากรและระบบการบริหารจัดการให้สามารถดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาเพื่อการมีงานทำของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
 
 
 
 
 
 
 
 

นโยบายเร่งด่วน

 
 

 

 
 

                             ๑. การเยียวยาและฟื้นฟูหลังวิกฤตอุทกภัย
                                      ๑.๑ ให้ข้อมูล ข่าวสาร และความรู้เพื่อการป้องกันภัยพิบัติ การจัดการแก้ปัญหาในกรณีที่ประสบภัยพิบัติ สำหรับประชาชนอย่างทั่วถึง
                                      ๑.๒ จัดกิจกรรมการศึกษาเพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจและเสริมสร้างสมรรถนะในการประกอบอาชีพ ให้ประชาชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ทั้งในการพัฒนาอาชีพเดิม การแสวงหาอาชีพเสริม และการสร้างอาชีพใหม่ รวมทั้งการเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานเพื่อส่งเข้าสู่ระบบการผลิตอุตสาหกรรมตามเดิม
                                      ๑.๓ สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลความเสียหายที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดเพื่อขอรับการสนับสนุนในการซ่อมแซมและฟื้นฟูให้มีความพร้อมสำหรับให้บริการประชาชนต่อไป
                                      ๑.๔ ให้มีการเตรียมความพร้อมในทุกพื้นที่ที่อาจประสบภัยในลักษณะอื่นใดด้วย อาทิ วาตภัย ดินถล่ม อัคคีภัย ภัยจากอากาศหนาว ภัยแล้ง โดยจัดให้มีการจัดทำแผนสำรองภาวะฉุกเฉินและมีการซ้อมการดำเนินงานตามแผนอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากภัยต่างๆ
                                      ๑.๕ เร่งจัดบริการเพื่อเยียวยาและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของประชาชนโดยจัดหาอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องดำรงชีพขั้นพื้นฐาน และที่พักอาศัยชั่วคราวให้กับผู้ประสบภัย
                             ๒. การจัดตั้งศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน
                                      ๒.๑ เร่งเสนอจัดตั้งคณะกรรมการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนจังหวัดในทุกจังหวัด โดยมีผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ เพื่อเป็นกลไกในการกำหนดทิศทาง อำนวยการ กำกับ ติดตาม ประเมินผล ส่งเสริมสนับสนุนและบูรณาการการดำเนินงานการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำของศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนของจังหวัด
                                      ๒.๒ เร่งสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการด้านการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำของประชาชน ความต้องการด้านแรงงาน สินค้า และบริการ รวมทั้งศักยภาพของพื้นที่ ทั้ง ๕ ด้าน กล่าวคือ ศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละพื้นที่ ศักยภาพของพื้นที่ตามลักษณะภูมิอากาศ ศักยภาพของภูมิประเทศและทำเลที่ตั้งของแต่ละพื้นที่ ศักยภาพของศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตของแต่ละพื้นที่ และศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละพื้นที่ เพื่อนำมากำหนดหลักสูตรอาชีพตาม ๕ กลุ่มอาชีพหลัก กล่าวคือ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และบริหารจัดการและบริการ
                                      ๒.๓ เร่งพัฒนาและจัดทำหลักสูตรการศึกษาอาชีพให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ความต้องการของตลาด และศักยภาพของพื้นที่โดยมีเป้าหมายเพื่อให้การจัดการศึกษาอาชีพแนวใหม่ เป็นการจัดการศึกษาที่สามารถสร้างอาชีพหลัก ที่มั่นคงให้กับผู้เรียน โดยสามารถสร้างรายได้ได้จริงทั้งในระหว่างเรียนและสำเร็จการศึกษาไปแล้ว และสร้างความสามารถเชิงการแข่งขันให้กับชุมชน
                                      ๒.๔ จัดให้มีศูนย์ฝึกอาชีพในทุกอำเภออย่างน้อยอำเภอละ ๒ แห่ง เพื่อเป็นศูนย์กลางในการฝึก พัฒนา สาธิต และสร้างอาชีพของผู้เรียนและชุมชน รวมทั้งเป็นที่จัดเก็บแสดง จำหน่าย และกระจายสินค้าและบริการของชุมชนอย่างเป็นระบบครบวงจร
                                      ๒.๕ ประสานการดำเนินงานกับศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนของหน่วยงานและสถานศึกษาต่างๆ ในพื้นที่เพื่อเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายการฝึกและสร้างอาชีพของประชาชนและชุมชนในจังหวัด กลุ่มจังหวัด และระหว่างจังหวัด
                                      ๒.๖ จัดให้มีระบบการประสานงานเพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งทุนต่างๆ สำหรับเป็นช่องทางในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านอาชีพอย่างต่อเนื่องให้กับผู้เรียน
                                      ๒.๗ จัดให้มีการกำกับ ติดตาม และรายงานผลการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง พร้อมทั้งนำผลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานให้เป็นไปตามความต้องการด้านการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำของประชาชน ความต้องการของตลาด และศักยภาพของพื้นที่ทั้ง ๕ ด้าน
                             ๓. เร่งรัดจัดการศึกษานอกระบบตั้งแต่แรกเกิดจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เพื่อยกระดับการศึกษาให้กับประชาชน
                                      ๓.๑ เร่งพัฒนาหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถนำสาระการเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ได้จริงในการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยรวม และสร้างเสริมสมรรถนะการประกอบอาชีพที่สามารถสร้างรายได้อย่างมั่นคง
                                      ๓.๒ เร่งพัฒนาตำราเรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีเนื้อหาสาระการเรียนรู้ที่ทันสมัย ครอบคลุมตามโครงสร้างหลักสูตร นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ได้มาตรฐานทั้งความรู้สากลและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยจัดทำในรูปแบบสื่อเอกสารและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีคุณภาพ และเผยแพร่ให้สถานศึกษาในสังกัดอย่างทั่วถึง
                                      ๓.๓ ส่งเสริมให้ กศน.อำเภอทุกแห่งดำเนินการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งผลการเรียนอย่างเป็นระบบ ได้มาตรฐานสอดคล้องกับหลักสูตร เพื่อการขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนอย่าง
                                      ๓.๔ พัฒนาระบบการประเมินเพื่อเทียบระดับการศึกษาที่มีความโปร่งใส ยุติธรรม ตรวจสอบได้ มีมาตรฐานตามที่กำหนด และสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
                             ๔. เร่งรัดการจัดระบบความรู้สำหรับประชาชน
                                      ๔.๑ รณรงค์ส่งเสริมให้ครอบครัว ชุมชน และสังคม ตระหนักถึงความสำคัญของการอ่านเพื่อเป็นวิธีการในการแสวงหาความรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต
                                      ๔.๒ เร่งพัฒนาความรู้ความสามารถของผู้เรียนและประชาชนให้สามารถอ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                                      ๔.๓ พัฒนาหนังสือและสื่อที่มีเนื้อหาสาระจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และหนังสือดีมีคุณภาพในการพัฒนาความรู้สำหรับประชาชนในชุมชน

 

นโยบายต่อเนื่อง

 
 

 


                             ๑. นโยบายด้านการศึกษานอกระบบ
                                       ๑.๑ จัดการศึกษานอกระบบตั้งแต่แรกเกิดจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                                                 ๑) ดำเนินการให้ผู้เรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้รับการสนับสนุนค่าจัดซื้อตำราเรียน ค่าจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และค่าเล่าเรียนอย่างทั่วถึง เพื่อเพิ่มโอกาสในการรับการศึกษาที่มีคุณภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
                                                 ๒) จัดหาตำราเรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพตามที่สำนักงาน กศน. ให้การรับรองคุณภาพให้ทันต่อความต้องการของผู้เรียน พร้อมทั้งจัดให้มีระบบหมุนเวียนตำราเรียน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนสามารถเข้าถึงการใช้บริการตำราเรียนอย่างเท่าเทียมกัน
                                                ๓) ขยายการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพให้กับประชากรวัยแรงงาน
ที่ไม่จบการศึกษาภาคบังคับและไม่อยู่ในระบบโรงเรียน โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสกลุ่มต่างๆ
                                                ๔) พัฒนาระบบฐานข้อมูลรวมของนักศึกษา กศน.ให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัย และเชื่อมโยงกันทั่วประเทศ สามารถสืบค้นและสอบทานได้ทันความต้องการ
เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียน
                                                ๕) จัดให้มีวิธีการเรียนรู้ที่เน้นการฝึกปฏิบัติจริงเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจและเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ รวมทั้งสามารถพัฒนาทักษะเกี่ยวกับสาระและวิธีการเรียนรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                                      .๒ การส่งเสริมการรู้หนังสือ
                                                ๑) พัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ไม่รู้หนังสือทั้งในระดับพื้นที่และส่วนกลางให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัย และเป็นระบบเดียวกัน
                                                ๒) พัฒนาหลักสูตร สื่อ แบบเรียน เครื่องมือวัดผล และเครื่องมือการดำเนินงานสำหรับผู้ไม่รู้หนังสือให้สอดคล้องกับสภาพของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
                                                ๓) เพิ่มศักยภาพครู กศน.และภาคีเครือข่ายที่ร่วมจัด ให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้ไม่รู้หนังสืออย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ
                                                ๔) มุ่งเน้นให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือ การคงสภาพการ
รู้หนังสือ การพัฒนาทักษะการรู้หนังสือ และการพัฒนาทักษะด้านคอมพิวเตอร์พื้นฐานเพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือ สำหรับให้ประชาชนได้นำไปใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาและเรียนรู้
                                                ๕) พัฒนาระบบการประเมินผลระดับการรู้หนังสือให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ
                                      ๑.๓ การศึกษาต่อเนื่อง
                                                ๑) มุ่งจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับ
การจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ ใน ๕ กลุ่มอาชีพ ประกอบด้วย อาชีพเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และกลุ่มอำนวยการและอาชีพเฉพาะทาง
ที่สอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละพื้นที่ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ความสามารถ เจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพและทักษะที่พัฒนาขึ้นไปใช้ประโยชน์และสร้างรายได้ได้จริง
                                                ๒) มุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตให้กับทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยจัดกิจกรรมการศึกษาที่มุ่งเน้นให้ทุกกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความสามารถในการจัดการชีวิตของตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข รวมทั้งการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และชุมชน
                                                ๓) มุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนโดยใช้รูปแบบการฝึกอบรม
การประชุมสัมมนา การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรูปแบบอื่นๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยเน้นการสร้างจิตสำนึกความเป็นประชาธิปไตย ความเป็นพลเมืองดี เศรษฐกิจชุมชน การอนุรักษ์พัฒนาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และการรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน และหลักสูตรเชิงบูรณาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
                                                ๔) พัฒนาระบบคลังหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องให้ได้มาตรฐาน และสะดวกต่อการใช้งานเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและภาคีเครือข่าย
                                      ๑.๔ การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน
                                                ๑) เร่งรัดพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามจุดมุ่งหมายและมาตรฐานของหลักสูตร
                                                ๒) พัฒนาครูและผู้ที่เกี่ยวข้องให้สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ
โดยส่งเสริมให้มีความรู้ความสามารถในการจัดทำแผนการเรียนการสอน การจัดกระบวนการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล
                                                ๓) ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น และกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการและสภาพของกลุ่มเป้าหมาย
                                                ๔) ส่งเสริมการพัฒนาสื่อแบบเรียน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่ออื่นๆ ประกอบหลักสูตรโดยการมีส่วนร่วมของทั้งภาครัฐและเอกชน
                                                ๕) ส่งเสริมการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตที่หลากหลายสอดคล้องกับสภาพ และความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและชุมชน
                                                ๖) มุ่งเน้นให้กลุ่มเป้าหมายที่ลงทะเบียนเรียนได้เรียนในรูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพและความต้องการของตนเอง โดยมีอัตราการคงอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ มีผลสัมฤทธิ์ในสาระความรู้พื้นฐานไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐
                                                ๗) พัฒนาระบบการวัดผลและประเมินผลการศึกษานอกระบบทุกหลักสูตร โดยเฉพาะหลักสูตรในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ได้มาตรฐาน โดยการนำข้อทดสอบกลางมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
                                      .๕ การประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
                                                ๑) เร่งรัดให้สถานศึกษาพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในให้ได้มาตรฐาน โดยพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถดำเนินการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาได้อย่างต่อเนื่องโดยใช้การประเมินภายในด้วยตนเอง
                                                ๒) เร่งรัดให้สำนักงาน กศน.จังหวัด/กทม. ดำเนินการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาโดยต้นสังกัดให้ผ่านการประเมินคุณภาพภายใน ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐
                                                ๓) เร่งรัดดำเนินการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา กศน.ที่มีผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาไม่ได้ตามมาตรฐานที่ สมศ.กำหนดโดยปรับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา และดำเนินการตามแผนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด  สำหรับสถานศึกษาที่ยังไม่ได้เข้ารับการประเมินคุณภาพภายนอก ให้พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด
                                                ๔) ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐาน
สมศ. ผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษาให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
                                       ๑.๖ พัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
                                                ๑) จัดและพัฒนาหลักสูตร รูปแบบและกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพ บริบทในพื้นที่ และความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองและเสริมสร้างความสัมพันธ์ในท้องถิ่น
                                                ๒) ส่งเสริมการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ และการเทียบระดับการศึกษา ด้านศาสนศึกษาเข้าสู่การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                                                ๓) ให้หน่วยงานและสถานศึกษาจัดให้มีมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัย
แก่บุคลากรและนักศึกษา กศน.ตลอดจนผู้มาใช้บริการอย่างทั่วถึง
                                      ๑.๗ การศึกษาทางไกล
                                                ๑) พัฒนาการจัดการศึกษาทางไกล ทั้งระบบการให้บริการ ระบบการเรียน
การสอน ระบบการวัดผลและประเมินผลการเรียน ทั้งหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาต่อเนื่องโดยบูรณาการการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย
มาเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาทางไกลให้มีคุณภาพ
                                                ๒) พัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีความพร้อมในการจัดและให้บริการการศึกษาทางไกลเพื่อให้ประชาชนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ
                                                ๓) ขยายกลุ่มเป้าหมายภาคีเครือข่ายผู้ให้บริการ และผู้รับบริการให้มากขึ้น
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
 
                             ๒. นโยบายด้านการศึกษาตามอัธยาศัย
                                      ๒.๑ การส่งเสริมการอ่าน
                                                ๑) พัฒนาระดับความสามารถในการอ่านของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายให้ได้ระดับอ่านคล่อง เขียนคล่อง และอ่านเชิงคิดวิเคราะห์พื้นฐาน โดยผ่านกระบวนการปฏิรูปการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ
                                                ๒) พัฒนาคนไทยให้มีนิสัยรักการอ่าน ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ โดยปลูกฝังและสร้าง
เจตคติให้เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการอ่าน ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วม และกำหนดมาตรการจูงใจเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน
                                                ๓) ส่งเสริมให้มีการสร้างบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่าน ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยสนับสนุนการพัฒนาแหล่งการอ่านให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง และหลากหลาย รวมทั้งมีความพร้อมในด้านสื่ออุปกรณ์ที่สนับสนุนการอ่าน และการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่านที่หลากหลาย โดยเฉพาะงานมหกรรมรักการอ่านในส่วนภูมิภาค
                                                ๔) ส่งเสริม และสนับสนุนการสร้างเครือข่ายส่งเสริมการอ่านโดยจัดให้มีอาสาสมัครส่งเสริมการอ่านในทุกตำบล
                                                ๕) ส่งเสริมให้มี “นครแห่งการอ่าน” ในจังหวัดที่มีความพร้อมเพื่อสร้างเสริมบทบาทของการส่งเสริมการอ่าน
 
 
 
 
                                      ๒.๒ ห้องสมุดประชาชน
                                                ๑) มุ่งเน้นพัฒนาห้องสมุดประชาชนทุกแห่งให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชนเป็นแหล่งค้นคว้าและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาอาชีพเพื่อการมีงานทำและสร้างรายได้อย่างยั่งยืนและการสร้างความพร้อมให้กับประชาชนในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
                                                ๒) จัดตั้งห้องสมุดประชาชนในอำเภอที่ยังไม่มีห้องสมุดประชาชน เพื่อจัดบริการ ให้กับประชาชนอย่างครอบคลุมและทั่วถึง โดยเน้นการระดมทรัพยากรและความร่วมมือ
จากภาคีเครือข่ายในการดำเนินงาน
                                                ๓) จัดหาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเชื่อมโยงกับแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ สำหรับให้บริการในห้องสมุดประชาชน
                                                ๔) จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน และพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ด้วยตนเองของประชาชน เพื่อสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ได้จริงในการปฏิบัติ
                                                ๕) จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่พร้อมอุปกรณ์เพื่อส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ ที่หลากหลายออกให้บริการประชาชนในพื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึง สม่ำเสมอเพื่อเพิ่มโอกาสการเรียนรู้และการพัฒนาอาชีพของประชาชนและชุมชน
                                                ๖) พัฒนาศักยภาพบุคลากร ที่รับผิดชอบการบริการของห้องสมุดประชาชน ให้มีความรู้ ความสามารถในการให้บริการสนับสนุนการดำเนินงานห้องสมุด
                                                ๗) แสวงหาภาคีเครือข่ายเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการดำเนินงานห้องสมุดประชาชน
                                      ๒.๓ วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
                                                ๑) พัฒนาและจัดทำนิทรรศการ มหกรรมวิทยาศาสตร์สัญจร และจัดกิจกรรมที่เน้นการเสริมสร้างทักษะและกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ปลูกจิตสำนึกทางด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม กระตุ้นการใช้ความคิดสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจให้ประชาชนนำความรู้ ทักษะ และกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาชีวิต พัฒนาอาชีพ และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
                                                ๒) เชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชนโดยเน้นวิทยาศาสตร์ชุมชนให้ผู้รับบริการสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาอาชีพ สิ่งแวดล้อม
การป้องกันภัยพิบัติจากธรรมชาติและการดำรงชีวิตประจำวัน ของประชาชนในพื้นที่
                                                ๓) ส่งเสริม สนับสนุน ภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนทั้งใน
และต่างประเทศให้ร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์แก่ผู้รับบริการ
                                                ๔) ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ และกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์ให้มีรูปแบบและเนื้อหา ที่หลากหลาย สามารถปลูกฝังให้ผู้รับบริการมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ
                                                ๕) ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์เชิงบูรณาการ
เพื่อเป็นฐานสู่การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
                                                ๖) พัฒนาศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาให้เป็นแหล่งการเรียนรู้เชิงวิชาการ แหล่งจุดประกายการพัฒนาอาชีพ และแหล่งท่องเที่ยวประจำท้องถิ่น
                             ๓. นโยบายด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน
                                       ๓.๑ พัฒนา กศน.ตำบล/แขวง ให้เป็นศูนย์กลางการสร้างโอกาสและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนในชุมชน
                                                ๑) จัดหาครุภัณฑ์และสิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐาน
ด้าน
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสมกับ กศน.ตำบล/แขวง ให้ครบทุกแห่ง
เพื่อสนับสนุนการบริหาร การจัดกิจกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนและชุมชนได้ทันเวลา
                                                 ๒) จัดหาหนังสือและสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ อาทิ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยี ที่มีคุณภาพในรูปแบบและสาระที่หลากหลาย ทันสมัย ประชาชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและครอบครัว การพัฒนาอาชีพ การพัฒนาชุมชน และการสร้าง
ความบันเทิง
 เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความสุขในชีวิตให้กับประชาชนในชุมชน
                                                ๓) จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเชิงรุกที่หลากหลาย ทันสมัย สร้างสรรค์ ต่อเนื่อง และตอบสนองความต้องการของประชาชนและชุมชน โดยจัดให้มี
การจัดการศึกษาผ่านทีวีสาธารณะ การฝึกอาชีพ การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ การป้องกันภัยพิบัติ การศึกษาการดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเสริมสร้างกระบวนการประชาธิปไตย การเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และความจำเป็นเร่งด่วนต่างๆ ของแต่ละชุมชน
                                                 ๔) เร่งรัดให้ กศน.ตำบล/แขวง จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และส่งเสริมให้มีกลุ่มส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาเป็นชุมชนรักการอ่าน โดยใช้อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน
เป็นกลไกในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในรูปแบบต่างๆ ในชุมชน โดยดำเนินงาน
เป็นทีมร่วมกับครู กศน.ตำบล/แขวง
 
 
                                                ๕) พัฒนาระบบฐานข้อมูลสภาพการรู้หนังสือและความต้องการทางการศึกษาและการเรียนรู้ของประชากรวัยแรงงานและผู้สูงอายุ ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัยและเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ สามารถสืบค้นได้ทันความต้องการ เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว
                                                ๖) ส่งเสริมและพัฒนาเครือข่าย กศน.ตำบล/แขวง เพื่อการประสานเชื่อมโยง และส่งต่อผู้เรียนให้ได้รับบริการทางการศึกษาที่สนองตอบต่อความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ
                                                ๗) พัฒนาระบบการติดตามประเมินผล กศน.ตำบล/แขวง อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน กศน.ตำบล/แขวง และจัดให้มีการรายงานต่อสาธารณะ รวมทั้งนำผลมาพัฒนาการดำเนินงาน กศน.ตำบล/แขวง อย่างต่อเนื่อง
                                                ๘) กำกับและติดตามให้ กศน.ตำบล/แขวง ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐาน การดำเนิน กศน.ตำบล/แขวง
                                      ๓.๒ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นภาคีเครือข่าย
ในการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษาตลอดชีวิตและการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืน
ให้ครอบคลุมพื้นที่ทุกระดับ
                                                ๑) พัฒนาระบบฐานข้อมูลภาคีเครือข่ายทุกระดับ โดยจำแนกตามระดับความพร้อมในการมีส่วนร่วม ทั้งนี้ให้ดำเนินการจัดทำระบบฐานข้อมูลให้มีความถูกต้อง ทันสมัย และสามารถเชื่อมโยงกันได้ทั่วประเทศ เพื่อประโยชน์ในการให้การส่งเสริมและสนับสนุนได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับศักยภาพ และระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของภาคีเครือข่าย
                                                 ๒) พัฒนาบุคลากรภาคีเครือข่ายให้มีศักยภาพในการจัดการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างมีคุณภาพ
                                                ๓) ให้หน่วยงานและสถานศึกษา ประสานการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ และภารกิจเกี่ยวกับการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัยในการเป็นกลไกสำคัญเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
                                      ๓.๓ อาสาสมัคร กศน.
                                                ๑) ส่งเสริมให้ผู้มีจิตอาสา ตลอดจนผู้รู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และข้าราชการบำนาญเข้ามาเป็นอาสาสมัคร กศน. โดยเข้ามามีบทบาทในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน เป็นผู้สื่อสารข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนและนำเสนอความต้องการการเรียนรู้และการพัฒนาชุมชน โดยทำงานเป็นทีมร่วมกับครูในสังกัด สำนักงาน กศน.
                                                ๒) ส่งเสริมให้อาสาสมัคร กศน. ได้รับการพัฒนาสมรรถนะให้เป็นผู้จัด และ
ผู้ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ
                                                ๓) เสริมสร้างขวัญและกำลังใจในรูปแบบต่างๆ แก่อาสาสมัคร กศน. เพื่อให้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของตนเอง และเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
                                      ๓.๔ การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในชุมชน
                                                ๑) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชนโดยใช้ กศน.ตำบล/แขวง
ที่ดำเนินการอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                                                ๒) ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนโดยการจัดทำแผนชุมชน
จัดเวทีชาวบ้าน การศึกษาดูงาน การฝึกอบรม เพื่อนำความรู้ไปแก้ปัญหาหรือพัฒนาชุมชน
                                                ๓) ส่งเสริมให้มีการบูรณาการความรู้ในชุมชนให้เชื่อมโยงกับหลักสูตรต่างๆ ของ กศน. โดยคำนึงถึงการประกอบอาชีพและการมีงานทำของผู้เรียนที่แท้จริง เพื่อประโยชน์ในการมีงานทำและการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์
                                                ๔) ส่งเสริมให้มีขยายและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ชุมชนในการถ่ายทอด
องค์ความรู้ โดยให้มีการจัดทำและเผยแพร่สื่อเพื่อการธำรงรักษาและถ่ายทอดองค์ความรู้
ในชุมชน
                                                ๕) พัฒนาศักยภาพและส่งเสริมให้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญองค์ความรู้ด้านต่างๆ เป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน
 
                             ๔. นโยบายด้านการสนับสนุนโครงการพิเศษ
                                      ๔.๑ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
                                                ๑) ส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือโครงการอันเกี่ยวเนื่องจากพระราชวงศ์ อย่างมีคุณภาพและเกิดผลโดยตรงกับกลุ่มเป้าหมาย
                                                ๒) จัดทำฐานข้อมูลโครงการและกิจกรรมของ กศน.ที่สนองงานโครงการ
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
 
 
                                      ๔.๒ โครงการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงชายแดนของ ศฝช.
                                                ๑) ให้ ศฝช.ทุกแห่ง เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาบุคลากร และการเผยแพร่ความรู้ด้านเกษตรธรรมชาติ โดยความร่วมมือระหว่าง สำนักงาน กศน.กับ มูลนิธิ MOA ไทย และ MOA International
                                                ๒) มุ่งจัดและพัฒนาการศึกษาอาชีพ กระบวนการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมพัฒนาอาชีพที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนชายแดน โดยเน้นเรื่องเกษตรธรรมชาติ ให้แก่ประชาชนตามแนวชายแดน
                                                ๓) จัดและพัฒนา ศฝช.ให้เป็นศูนย์สาธิตการประกอบอาชีพ ศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบการจัดกิจกรรมตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การประกอบอาชีพสำหรับประชาชนตามแนวชายแดน
                                                ๔) จัดระบบเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้อาชีพ ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเชื่อมโยงกับ กศน.ตำบล/แขวง ในพื้นที่
                                       ๔.๓ การส่งเสริมและจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ
                                                ๑) ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ ได้แก่ ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ไร้สัญชาติ เด็กและเยาวชนที่อยู่นอกระบบโรงเรียน เด็กด้อยโอกาส คนเร่ร่อน คนไทยในต่างประเทศ
                                                ๒) จัดและส่งเสริมการเรียนรู้และใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันสำหรับ
กลุ่มชาติพันธุ์
                                                ๓) พัฒนาศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ให้มีความพร้อม
ในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
                                                ๔) พัฒนาหลักสูตร รูปแบบการจัดกิจกรรม ให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายพิเศษแต่ละกลุ่ม
                                                ๕) ศึกษาวิจัยรูปแบบการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ
                                                ๖) พัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในการปฏิบัติงานของครูที่รับผิดชอบกลุ่มเป้าหมายพิเศษ
 
 
 
 
 
                             ๕. นโยบายด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
                                       ๕.๑ พัฒนาสถานีวิทยุศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการออกอากาศให้กลุ่มเป้าหมายสามารถใช้เป็นช่องทางการเรียนรู้ที่มีคุณภาพได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยขยายการรับฟังให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
                                       ๕.๒ พัฒนาสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการออกอากาศให้กลุ่มเป้าหมายสามารถใช้เป็นช่องทางการเรียนรู้ที่มีคุณภาพได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตโดยรวมสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ETV) และสถานี Teacher TV เพื่อเพิ่มช่องทางให้สามารถรับชม   ได้ทั้งระบบ C – Band และ Ku – Band พร้อมที่จะรองรับการพัฒนาเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาสาธารณะ (Free ETV)
                                       ๕.๓ พัฒนารายการวิทยุเพื่อการศึกษา ให้เชื่อมโยงและตอบสนองต่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพการเรียนการสอนและกระจายโอกาสทางการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ทั่วประเทศ
                                       ๕.๔ พัฒนารายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ให้เชื่อมโยงและตอบสนองต่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพการเรียนการสอนและกระจายโอกาสทางการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ทั่วประเทศ
                                       ๕.๕ เสริมสร้างโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทุกลุ่มเป้าหมายมีทางเลือกในการเรียนรู้ที่หลากหลายและมีคุณภาพโดยจัดให้มีการผลิตรายการพัฒนาอาชีพเพื่อการมีงานทำทางสถานีวิทยุศึกษา สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ETV) และสถานีวิทยุโทรทัศน์สาธารณะ
                                       ๕.๖ ผลิตและเผยแพร่สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายทั่วไปและกลุ่มเป้าหมายเพื่อคนพิการ เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนรูปแบบการจัดการศึกษาทางไกล การศึกษาตามอัธยาศัย และการศึกษาทางเลือก
                                       ๕.๗ พัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาและภาคีเครือข่ายให้สามารถผลิต เผยแพร่ และใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                                       ๕.๘ พัฒนาระบบการให้บริการสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้ได้หลายช่องทางทั้งทางอินเทอร์เน็ต และรูปแบบอื่น ๆ เช่น DVD, CD, VCD และ MP3 เป็นต้น เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถใช้บริการได้ตามความต้องการ
                                      ๕.๙ สำรวจ วิจัย และติดตามประเมินผลด้านสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
                             ๖. นโยบายด้านการบริหารจัดการ
                                      ๖.๑ การพัฒนาบุคลากร
                                                ๑) พัฒนาบุคลากรทุกระดับให้มีสมรรถนะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งก่อนและระหว่างการดำรงตำแหน่งเพื่อให้สามารถปฏิบัติงาน และบริหารจัดการการดำเนินงานของหน่วยงานและสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพและเป็นมืออาชีพ
                                                ๒) พัฒนาบุคลากรทุกระดับให้มีความรู้ ความเข้าใจ เจตคติที่ดีในการปฏิบัติงาน และมีความสามารถในการบริหารจัดการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนให้เป็นศูนย์กลางในการฝึกและสร้างอาชีพที่มั่นคงให้กับประชาชนและชุมชนพร้อมที่จะแข่งขันในเวทีอาเซียนและเวทีสากล
                                                ๓) พัฒนาหัวหน้า กศน.ตำบล/แขวงให้มีสมรรถนะสูงขึ้นในการบริหารจัดการ กศน.ตำบล/แขวง และการปฏิบัติงานตามบทบาทภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการเป็นนักจัดการความรู้และผู้อำนวยความสะดวกการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
                                                ๔) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ กศน.ตำบล/แขวง เพื่อการมีส่วนร่วมในการบริหารการดำเนินงานตามบทบาทภารกิจของ กศน.ตำบล/แขวง อย่างมีประสิทธิภาพ
                                                ๕) พัฒนาอาสาสมัคร กศน.ตำบล/แขวง ให้สามารถทำหน้าที่เป็นผู้ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของ กศน.ตำบล/แขวง ที่มีคุณภาพ
                                                ๖) เสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคลากร รวมทั้งภาคีเครือข่ายในทุกระดับเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน โดยจัดให้มีกิจกรรมการพัฒนาบุคลากร และ
ภาคีเครือข่ายในรูปแบบที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง เช่น มหกรรมกีฬา กศน. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานในรูปแบบต่างๆ
                                                ๗) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนานวัตกรรมสำหรับการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร
                                                ๘) ส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดพัฒนาตนเองเพื่อเลื่อนตำแหน่งหรือเลื่อน
วิทยฐานะโดยเน้นการประเมินวิทยฐานะเชิงประจักษ์
                                      ๖.๒ การกำกับ นิเทศ ติดตาม ประเมิน และรายงานผล
                                                ๑) สร้างกลไกการกำกับ นิเทศ ติดตาม ประเมิน และรายงานผลการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้เชื่อมโยงกับหน่วยงาน สถานศึกษา และภาคีเครือข่ายทั้งระบบ
                                                ๒) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสื่ออื่นๆ ที่เหมาะสม เพื่อการกำกับ นิเทศ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลอย่างมีประสิทธิภาพ
                                      ๖.๓ โครงสร้างพื้นฐานและอัตรากำลัง
                                                 ๑) จัดทำแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและดำเนินการปรับปรุงสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ ให้มีความพร้อมในการจัดการศึกษา
                                                ๒) ระดมทรัพยากรจากชุมชน เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน
ให้มีความพร้อมสำหรับจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน
                                                ๓) แสวงหาภาคีเครือข่ายในท้องถิ่นเพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
                                                ๔) เร่งผลักดันให้มีการประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการศึกษาตลอดชีวิต
                                                ๕) บริหารอัตรากำลังที่มีอยู่ทั้งในส่วนที่เป็นข้าราชการ พนักงานราชการ
และลูกจ้าง ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติงาน
                                      ๖.๔ การพัฒนาองค์ความรู้และฐานข้อมูล
                                                ๑) วิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในการใช้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
                                                ๒) ส่งเสริมให้มีการจัดการความรู้ในหน่วยงานและสถานศึกษาทุกระดับ รวมทั้งการศึกษาวิจัยเพื่อสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและชุมชนพร้อมทั้งพัฒนาขีดความสามารถเชิงการแข่งขันของหน่วยงานและสถานศึกษาทั้งในระดับอาเซียนและระดับสากล
                                                ๓) พัฒนาระบบฐานข้อมูลให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัย และเชื่อมโยงกันทั่วประเทศอย่างเป็นระบบเพื่อให้หน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหาร และจัดบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีประสิทธิภาพ
                                                ๔) สนับสนุนให้มีการประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์ใหม่ ของ กศน.
ในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ เพื่อสร้างกระแสให้ประชาชนและทุกภาคส่วนของสังคมเห็นความสำคัญและเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของ กศน.ทั้งในฐานะผู้รับบริการ ผู้จัด ผู้ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของ กศน.
 
 


เข้าชม : 1813
 
 
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอห้วยยอด(สกร.ระดับอำเภอห้วยยอด)
30 ถนนมหามิตร ตำบลห้วยยอด  อำเภอห้วยยอด  จังหวัดตรัง 92000 โทรศัพท์ 0-7527-1718 โทรสาร 075-271718 

huaiyot1407@gmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05