[x] ปิดหน้าต่างนี้
Home
ประชาสัมพันธ์
ปฏิทินปฏิบัติการ
Webboard
บทความสาระน่ารู้
ศรช.แหล่งเรียนรู้
ติดต่อเรา
เข้าระบบ
ข่าวประชาสัมพันธ์
วันบริจาคโลหิตโลก
ศุกร์ ที่ 13 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2557
วันบริจาคโลหิตโลก ๑๓ มิถุนายน๒๕๕๗
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
การให้ หรือ การบริจาคไม่ว่าจะเป็นวัตถุหรือสิ่งใดก็ตามล้วนแต่ได้บุญกุศล และความสุขใจจากการได้เป็นผู้ให้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบริจาคโลหิต นับได้ว่าเป็นบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่ง เพราะโลหิตเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับชีวิตของมนุษย์และสัตว์โลกทั่ว ๆ ไป ดังนั้นการบริจาคโลหิตเป็นสิ่งที่มีส่วนในการช่วยเหลือชีวิตผู้อื่นให้อยู่รอดปลอดภัย และเพื่อให้ผู้คนเห็นความสำคัญของการบริจาคโลหิต
ดังนั้นจึงมีการกำหนดให้มีวันผู้บริจาคโลหิตโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 14 มิถุนายน และวันนี้กระปุกดอทคอมก็มีเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับเรื่องราววันผู้บริจาคโลหิตโลก และกิจกรรมดี ๆ มาฝากกัน
สำหรับวันผู้บริจาคโลหิตโลก ตรงกับวันที่ 14 มิถุนายน เป็นวันคล้ายวันเกิดของ ดร.คาร์ล แลนด์ สไตเนอร์ ชาวออสเตรีย ผู้ค้นพบหมู่โลหิต ระบบเอบีโอ
เป็นการค้นพบที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่องานบริการโลหิตทั่วโลก และได้รับรางวัลโนเบล สาขาสรีรวิทยา หรือแพทยศาสตร์ ในปี ค.ศ.1930 องค์การอนามัยโลก (WHO) สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC) จึงได้ขอความร่วมมือให้สภากาชาดทั่วโลก จัดกิจกรรมเพื่อเป็นการขอบคุณผู้บริจาคโลหิตทั่วโลก และส่งเสริมงานบริการโลหิตให้เป็นที่แพร่หลาย สำหรับประเทศไทยได้จัดงานวันผู้บริจาคโลหิตโลกอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 จนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 9 แล้ว
และในปีนี้วันผู้บริจาคโลหิตโลก มีคำขวัญการรณรงค์ว่า "Every blood donor is a hero" หรือในภาษาไทยว่า ทุกคนเป็นฮีโร่ได้ด้วยการบริจาคโลหิต เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูผู้บริจาคโลหิตทุกคนที่มีอยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะผู้บริจาคโลหิตประจำ ซึ่งทำหน้าหน้าที่เป็นเสมือนฮีโร่แบบไม่แสดงตัว ช่วยชีวิตผู้อื่นด้วยโลหิตของตนเอง ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีและเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้มีสุขภาพดี รวมถึงตอบสนองต่อนโยบายขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ได้ตั้งเป้าการจัดหาโลหิตไว้ว่า โลหิตทุกยูนิตที่ได้รับบริจาค จะต้องได้มาจากผู้บริจาคโลหิตด้วยความสมัครใจ ไม่หวังสิ่งตอบแทน 100% ภายในปี ค.ศ.2020 หรือ พ.ศ.2563
แล้วเพื่อน ๆ ทราบหรือไม่ว่า การบริจาคโลหิตนอกจากจะได้บุญจากการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันแล้ว แต่ยังมีผลดีสำหรับร่างกายของเราเองอีกมากมายด้วยนะ...
โดยการบริจาคโลหิตจะช่วยกระตุ้นให้ไขกระดูกทำงานดีขึ้น และร่างกายได้ผลิตเม็ดโลหิตใหม่ ซึ่งมีความแข็งแรงและทำงานได้มีประสิทธิภาพกว่า เช่น ลำเลียงออกซิเจนได้เต็มที่ มีเม็ดโลหิตขาวที่ทำลายสิ่งแปลกปลอมได้ดีขึ้น ขณะที่เกล็ดโลหิตก็จะช่วยซ่อมแซมรอยฉีกขาดในร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ การบริจาคโลหิตยังเป็นการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โดยผลผลการวิจัยจากฟินแลนด์ ระบุว่า โรคนี้มีความสัมพันธ์กับปริมาณธาตุเหล็กที่สะสมในร่างกาย เนื่องจากธาตุเหล็กจะส่งผลให้ไขมันทำปฏิกิริยากับออกซิเจน จนหลอดเลือดตีบและมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน การบริจาคโลหิตจึงช่วยลดการสะสมธาตุเหล็ก ซึ่งเท่ากับลดความเสี่ยงโรคหัวใจลงด้วย ดังนั้นในฟินแลนด์การบริจาคโลหิตช่วยลดความเสี่ยงโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในเพศชายได้ถึงร้อยละ 88 เลยทีเดียว
สำหรับข้อควรปฏิบัติในการเตรียมตัวบริจาคโลหิต มีดังนี้
1. มีอายุ 17-60 ปี น้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป ทั้งชายและหญิง
2. ต้องนอนหลับเพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง
3. ไม่มีอาการท้องเสีย ใน 7 วันที่ผ่านมาหรือกำลังเป็นหวัด
4. น้ำหนักต้องไม่ลดผิดปกติระยะ 3 เดือนที่ผ่านมาโดยไม่ทราบสาเหตุ
5. หากทานยาแอสไพริน ยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาแก้ปวดอื่น ๆ ต้องหยุดยามาแล้ว 3 วัน ถ้าเป็นยาแก้อักเสบหรือยาอื่น ๆ ต้องหยุดมาแล้ว 7 วัน
6. ไม่เป็นโรคหอบหืด ผิวหนังเรื้อรัง ไอเรื้อรัง วัณโรค ภูมิแพ้ อื่น ๆ
7. ต้องไม่เป็นความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ ตับ ไต มะเร็ง ไทรอยด์ โลหิตออกง่ายหยุดยาก โรคประจำตัวอื่น ๆ
8. หากถอนฟันทิ้งระยะ 3 วัน
9. หากเคยผ่าตัดใหญ่ต้องเกิน 6 เดือน ผ่าตัดเล็กต้องเกิน 1 เดือน
10. คุณและคู่ครองไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศหรือเบี่ยงเบนทางเพศ
11. ไม่มีประวัติติดยาเสพติดหรือเพิ่งพ้นโทษต้องเกิน 3 ปี และมีสุขภาพดี
12. หากเจาะหู สัก ลบรอยสักหรือฝังเข็มในการรักษาต้องเกิน 6 เดือนไปแล้ว
13. หากมีประวัติเจ็บป่วยและได้รับโลหิตของผู้อื่นต้องเกิน 1 ปี
14. หากมีประวัติเป็นมาเลเรีย ต้องหายมาแล้วเกิน 3 ปี หากเคยเข้าไปพื้นที่ที่มีเชื้อมาเลเรียชุกชุม ต้องทิ้งระยะอย่างน้อยเกิน 1 ปี จึงบริจาคโลหิตได้
15. สตรีไม่ควรอยู่ในระหว่างมีรอบเดือน
16. หลังการคลอดหรือแท้งบุตรต้องเกิน 6 เดือน
17. ต้องไม่ได้รับวัคซีนระยะ 14 วัน หรือเซรุ่มในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา
18. ก่อนการบริจาคโลหิตรับประทานอาหารให้เรียบร้อย ยกเว้นประเภทมันจัด
19. งดสูบบุหรี่ ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี
20. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนบริจาค
ข้อปฏิบัติหลังบริจาคโลหิต
1. นอนพักบนเตียงอย่างน้อย 3-5 นาที ห้ามลุกจากเตียงทันที จะเวียนศีรษะเป็นลมได้
2. ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีบริการให้ และดื่มน้ำมากกว่าปกติเป็นเวลา 2 วัน
3. ไม่ควรรีบร้อนกลับ นั่งพักจนแน่ใจว่าเป็นปกติ
4. หากมีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลมระหว่างลุกจากเตียงหรือขณะเดินทางกลับ ต้องรีบนั่งก้มศีรษะต่ำ ระหว่างเข่าหรือนอนราบ เพื่อป้องกันอันตรายจากการล้มได้
5. หากมีโลหิตซึมออกมา ให้ใช้นิ้วมือ 3 นิ้ว กดลงบนผ้าก๊อสหรือพลาสเตอร์ที่ปิดรอยเจาะ ให้นิ้วหัวแม่มือกดด้านใต้ข้อศอกและยกแขนสูงจนโลหิตหยุดสนิท หากโลหิตไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคเพื่อพบแพทย์ พยาบาล
6. งดออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากภายหลังการบริจาคโลหิต ผู้บริจาคโลหิตที่ทำงาน ปีนป่วยที่สูงหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพักหนึ่งวัน
7. รับประทานยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละ 1 เม็ด จนหมด เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก
8. หลีกเลี่ยงการใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ เป็นเวลา 12 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการบวมช้ำ
9. การบริจาคโลหิตครั้งต่อไปเว้นระยะ 3 เดือน ยกเว้นการบริจาคพลาสมาหรือเกล็ดโลหิต
เข้าชม : 837
ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด
ศกร.ตำบลนาท่ามใต้
26 / ส.ค. / 2567
วันคลายวันสถาปนา กรมส่งเสริมการเรียนรู้ วันที่ 18 พฤษภาคม 2567
18 / พ.ค. / 2567
🌷ศกร.ตำบลนาท่ามใต้🌷 🌷เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ 🌷ภาคเรียน ที่1/2567
22 / เม.ย. / 2567
💎กศน.ตำบลนาท่ามใต้💎 รับสมัครนักศึกษาใหม่ ภาคเรียนที่ 2/2565 ตั้งแต่วันที่ 1-31 ตุลาคม 2565 🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻 https://forms.gle/6f1CtE6iRpysKWB
10 / ต.ค. / 2565
กศน.ตำบลนาท่ามใต้ เมืองตรัง สอบปลายภาคเรียนที่ 1/2565
6 / ก.ย. / 2565
กศน.ตำบลนาท่ามใต้
ศูนย์การศึกษากนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองตรัง
ที่อยู่ กศน.ตำบลาท่ามใต้ เบอร์โทร 0874318353
e-mail: Ppetch_2512@hotmail.co.th
สล็อตเว็บตรง
Powered by
MAXSITE 1.10
Modify by นิกร เกษโกมล Version 2.05