[x] ปิดหน้าต่างนี้
 




 

  

ข่าวประชาสัมพันธ์
วันพระมหาธีรราชเจ้า ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๗

อังคาร ที่ 25 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2557


 

 

วันพระมหาธีรราชเจ้า ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๗

 

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

วันมหาธีรราชเจ้า เป็นวันที่ถือเอาจากวันสวรรคตของพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้ละลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๒๓ ได้รับพระราชทานพระนาม สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ  เมื่อพระองค์ทรงมีพระชนมายุได้ ๘ พรรษา ทรงได้รับสถาปนาเป็นกรมขุนเทพ ทวาราวดี


สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเทพทวารวดี ภาพจาก http://upload.wikimedia.org/


ต่อมาเมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ประชวรและเสด็จทิวงคตลงอย่างกระทันหัน เมื่อวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดสถาปนา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ กรมขุนเทพทวาราวดี ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในระหว่างประทับทรงศึกษาวิชาการชั้นต้น ณ ประเทศอังกฤษ ให้ทรงดำรงตำแหน่ง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารแทน เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗


ขณะทรงพระเยาว์ได้ทรงศึกษาในพระบรมมหาราชวัง จนถึง พ.ศ.๒๔๓๖ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๒ พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษโดยมีพระมนตรีพจนกิจเป็นพระอภิบาลตามเสด็จไปด้วย พระองค์ได้ทรงศึกษาวิชาต่าง ๆหลายสาขา ทั้งด้านการทหาร และเมื่อทรงสำเร็จการศึกษาในด้านการทหารแล้ว เพราะทรงดำรงตำแหน่งสยามมกุฎราชกุมาร และจะต้องเสด็จขึ้นครองราชย์ต่อไป จึงได้ทรงศึกษาวิชาวิชาพลเรือนเกี่ยวกับกฎหมายและการปกครองต่อไปในมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด กระทั่งพระชนมายุได้ ๒๒ พรรษา จึงพระราชดำเนินเสด็จกลับประเทศไทยใน พ.ศ. ๒๔๔๕ 

นับเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ



เมื่อเสด็จกลับประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้รับราชการในกองทัพบก พระองค์จึงได้ทรงรับราชการในกองทัพบก ในตำแหน่งหน้าที่สำคัญ เช่น ผู้ตำแหน่งทรงบัญชาการทหารมหาดเล็กและได้รับพระราชทานยศเป็นนายพลเอกราชองครักษ์  จเรทหารบก และทรงเป็นผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ ใน พ.ศ. ๒๔๕๐


ทรงผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีองค์อุปัชฌาย์คือ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา ๑ พรรษา


 ครั้นสมเด็จพระปิยมหาราชเสด็จสรรคต ณ วันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๓  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์  ทรงมีพระปรมาภิไธยย่อว่า  พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ขณะทรงมีพระชนมายุไค้ ๓๐ พรรษา  นับเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๖ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์



พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ภาพจาก www.krama6.su.ac.th

            พระองค์ทรงครองราชย์สมบัติได้ถึงปีที่ ๑๕ ก็ทรงพระประชวรโรคพระโลหิตเป็นพิษ ในพระอุทร โดยเป็นมาตั้งแต่วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ภายหลังจาก พระราชพิธีฉัตรมงคล เป็นต้นมา และสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ โดยได้อัญเชิญพระบรมศพไปประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท รวมพระชนมพรรษาได้ ๔๖ พรรษา และเสด็จดำรงสิริราชสมบัติได้ ๑๕ พรรษา แต่เนื่องจากเวลาที่พระองค์เสด็จสวรรคต เป็นเวลา ๑ นาฬิกา ๔๕ นาทีนั้น เพิ่งจะล่วงมาในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน เพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชประสงค์ให้ถือเอาวันที่ ๒๕ พฤศจิกายนเป็นวันสวรรคต และวันที่ ๒๖ พฤศจิกายนเป็นวันเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ


ดังนั้นแล้ว ทางราชการได้กำหนดให้วันที่ ๒๕พฤศจิกายนของทุกปีเป็นวันที่ระลึกวันมหาธีรราชเจ้า


ตลอดราชการ พระองค์ทรงมีเพียงพระราชธิดาองค์เดียวเท่านั้น ซึ่งประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี   คือ  สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพรรณวดี  ซึ่งประสูติวันอังคารที่ ๒๔ พฤศจิกายน เวลา ๑๒.๕๕ น.ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง ก่อนที่พระบิดาจะสวรรคตเพียง ๑ วัน


แม้รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะมีระยะสั้น  แต่ 15 พรรษาตลอดรัชสมัยของ
พระองค์ ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ อันเป็นคุณประโยชน์ให้กับแผ่นดินไทยนานัปการ ซึ่งสามารถแยกได้เป็นด้านต่างๆ อาทิ


พระราชกรณียกิจด้านการปกครอง


- ปรับปรุงการปกครองแผ่นดินทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เปลี่ยนคำเรียก
ชื่อเมืองเป็นจังหวัด รวมมณฑลเป็นภาค ทรงจัดตั้งและปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมต่างๆ ทรงจัดระเบียบกระทรวงยุติธรรมใหม่ โดยแยกหน้าที่ฝ่ายธุรการ และฝ่ายตุลาการออกจากกัน ทรงจัดตั้งเนติบัณฑิตยสภา ทรงตั้งกรมศิลปากร กรมพาณิชย์ กรมสาธารณสุข
- ยกเลิกโรงบ่อนการพนัน และ หวย ก.ข. ซึ่งเป็นอบายมุขมอมเมาประชาชน 
- ลดการค้าฝิ่น แม้จะเป็นแหล่งรายได้สำคัญในยุคนั้น
- สร้างเมืองจำลอง " ดุสิตธานี " ขึ้น เพื่อทรงทดลองการปกครองระบอบประชาธิปไตย 
- ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพอย่างประชาธิปไตย โดยพระราชทานเสรีภาพแก่นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ในการแสดงความคิดเห็น และเขียนวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติใด ๆ ผ่านสื่อในยุคนั้นคือหนังสือพิมพ์ได้ อีกทั้งทรงพระราชนิพนธ์บทความต่าง ๆเกี่ยวกับการเมือง โดยทรงใช้พระนามแฝง และหากว่ามีคนเขียนโต้แย้ง พระองค์จะทรงตอบด้วยน้ำพระราชหฤทัยเป็นนักประชาธิปไตยมิได้ทรงใช้พระราชอำนาจ



ดุสิตธานี ภาพจาก www.thaisamkok.com

พระราชกรณียกิจด้านวัฒนธรรม ประเพณี


- ประกาศให้ใช้พุทธศักราชแทนรัตนโกสินทรศก- ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. ๒๔๕๖ เพื่อเป็นการให้คนไทยมีนามสกุลใช้ต่อท้ายชื่อเป็นสกุลวงศ์ของครอบครัว นอกจากจะช่วยให้ไม่สับสนในกรณีที่มีชื่อซ้ำกัน ยังจะส่งเสริ่มให้คนทำความดี เพื่อรักษาชื่อเสียงของวงศ์สกุลอีกด้วย และทรงมีพระราชอุตสาหะคิดนามสกุลพระราชทานถึง ๖,๔๖๐ สกุล
- กำหนดการใช้คำนำหน้าชื่อ นางสาว นาง นาย เด็กหญิง และเด็กชาย  
- ไช้เวลามาตรฐานตามเวลาที่กรีนิชประเทศอังกฤษ ซึ่งเวลาในประเทศไทยจะเร็วกว่าเวลากรีนิช  7 ชั่วโมง  
- เปลี่ยนแปลงการเรียกชื่อเวลา ใช้คำว่า นาฬิกา เลิกการใช้ทุ่มโมงยามดังแต่ก่อน 
- ให้ถือการเริ่มวันใหม่เป็นหลังเวลาเที่ยงคืน 
- ร่างกฎมญเทียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์
 - เลิกประเพณีโห่ฮิ้ว ให้ใช้ไชโยแทน
- ทรงคิดคำไทยให้ใช้แก่สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น ใช้รถยนต์ แทนคำว่า มอเตอร์คาร์ กองรักษาการ หรือ ใช้ตำรวจ แทนคำว่า โปลิส
- ตั้งชื่อถนนต่างๆในกรุงเทพมหานคให้ใหม่เป็นคำไทย เช่น ถนนราชวิถี, ถนนราชดำเนินนอก เป็นต้น
- เปลี่ยนธงชาติไทยจากรูปช้าง เป็น “ธงไตรรงค์”



ธงช้างเผือก ภาพจาก www.baanjomyut.com

พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา


- พระราชทานที่ดินและพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวง เป็นโรงเรียนในพระองค์ ปัจจุบันคือ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย 
-ทรงรวมกรมโยธา และกรมพิพิธภัณฑ์เป็น กรมศิลปากร เพื่อให้การศึกษาและอนุรักษ์วัฒนธรรม ศิลปกรรม โบราณคดี
- จดตั้งโรงเรียนพาณิชยการ เพื่อให้การศึกษาอาชีวศึกษา 
-  ตั้งเนติบัณฑิต ทำหน้าที่ให้การศึกษาด้านกฏหมายและควบคุมจรรยาบรรณของนักกฏหมาย
- ส่งเสริมการศึกษาของสตรี โดยทรงจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูสตรี และเปิดโรงเรียนสตรีตามจังหวัดต่าง ๆ 
- ทรงยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจ้าอยู่หัวที่ทรงสร้างขื้น เป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย
- ให้ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา เป็นการเริ่มต้นการศึกษาการจัดการเรียนการสอนภาคบังคับในประเทศไทย เพื่อให้เด็กทุกคนรู้หนังสือ
-ทรงให้จัดสร้างโรงเรียนเพาะช่างขื้น  ทำให้เกิดการสืบทอดและสร้างสรรค์ ช่างฝีมือทางศิลปกรรมไทยไว้จนถึงปัจจุบัน
- จัดตั้งโรงเรียนเบญจมราชาลัย เพื่อฝึกหัดครูใน
- เริ่มการศึกษาภาคบังคับขึ้นครั้งแรก  โดยบังคับให้เด็กที่มี อายุ ๗-๑๔ ปีบริบูรณ์ เรียนหนังสืออยู่ในโรงเรียนโดยให้บิดามารดาส่งบุตรเข้าโรงเรียนโดไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน



โรงเรียนมหาดเล็กหลวง ภาพจาก www.sainampeung.ac.th

พระราชกรณียกิจด้านกิจการเสือป่าและลูกเสือ
         
- ทรงจัดตั้งกองเสือป่าขึ้นเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ โดยมีพระราชประสงค์จะ ฝึกฝนให้ประชาชนได้เรียนรู้วิชาทหาร ทำให้เป็นคนมีวินัย ปลุกใจให้มีความจงรักภักดี และป้องกันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ปลูกฝังความสามัคคีในหมู่คณะ เป็นกำลังของชาติในยามคับขัน


- ทรงเป็น พระบิดาแห่งลูกเสือไทย ทรงจัดตั้งกองลูกเสือขึ้นเมื่อ วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ เป็นประเทศลำดับที่ 3 ที่ก่อกำเนิดลูกเสือขึ้นในโลก เพื่อฝึกเยาวชนให้มีความสามัคคีมานะอดทน เสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นผู้ช่วยรบได้ในยามคับขันและได้พระราชทานคติประจำใจลูกเสือทุกคนว่า " เสียชีพอย่าเสียสัตย์"


พระราชกรณียกิจด้านการศาสนา


- ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่ทรงแสดงตนเป็นพุทธมามกะ 
- ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องเกี่ยวกับศาสนาไว้หลายเรื่อง เช่น พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร เทศนาเสือป่า พระบรมราโชวาท ประโยชน์ของการอยู่ในธรรม  พระราชนิพนธ์แปลเทศนามงคลวิเศษกถาทรงไว้เป็นภาษาอังกฤษ 
- ทรงให้ชำระและจัคพิมพ์พระอรรกถาพระวินัยปิฎก พระอรรถกาพระอภิธรรมปิฎกพระสุตตันตปิฎก (บางคัมภีร์ ) 
- ทรงให้พิมพ์พระอรรถกถาพระสุตตันติปิฎกจนจบ  
-  ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนหนึ่งเพื่อนำไปปฎิสังขรณ์วัด ซึ่งในรัชกาลนี้ไม่มีการสร้างวัด เพราะทรงมีพระราชคำริว่าวัดมีมากอยู่แล้วจึงควรที่จะบูรณะของที่มีอยู่แล้วให้ดีขื้น และทรงให้มีการสร้างเป็นโรงเรียนแทนการสร้างวัด

พระราชกรณียกิจด้านวรรณกรรมและศิลปกรรม


- ด้วยทรงเชี่ยวชาญในด้านอักษรศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง จึงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือมากที่สุด พระราชนิพนธ์ของพระองค์ มีเป็นจำนวนนับพันเล่ม และภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เรื่อง  ไม่ว่าจะเป็นเป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง และมีทุกประเภทวรรณศิลป์ ได้แก่ โขน ละคร พระราชดำรัส เทศนาเสือป่า นิทาน สารคดี บทความ ทั้งร้อยแก้ว ร้อยกรอง อาทิเช่น พระนลคำหลวง สกุนตลา มัทนะพาธา  ตามใจท่าน เวนิสวานิส โรมิโอและจูเลียต ประวัคิศาสตร์โบราณคดี เช่น สันนิษฐานเรื่องท้าวแสนปม, เที่ยวเมืองพระร่วง             
- ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติการพิมพ์ฉบับแรกขึ้น เรียกว่า พระราชบัญญัติสมุด เอกสารและหนังสือพิมพ์ 
- ตั้งวรรณคดีสโมสรเพื่อส่งเสริมวรรณคดีไทย
- ตั้งโรงละครหลวงขึ้นเพื่อส่งเสริมการแสดงละครในหมู่ข้าราชบริพาร
- พระราชทานกำเนิดหนังสือพิมพ์หลายฉบับ เช่น ทวีปัญญา ชวนหวว สมุทสาร ดุสิตสมิต เป็นต้น อีกทั้งทรงพระราชนิพนธ์บทความส่งไปยังสำนักพิมพ์อีกด้วย  ตัวอย่างพระนามแฝงที่ทรงใช้ ได้แก่


อัศวพาหุ สำหรับบทพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับการบ้านการเมือง
รามจิตติ สำหรับบทพระราชนิพนธ์ที่แปลจากภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะเรื่องนักสืบ 
พระขรรค์เพชร สำหรับบทพระราชนิพนธ์บทละคร (ก่อนครองราชย์)
ศรีอยุธยา สำหรับบทพระราชนิพนธ์บทละคร (หลังครองราชย์)
พันแหลม สำหรับพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับทหารเรือ
นายแก้ว นายขวัญ สำหรับพระราชนิพนธ์ชุด “นิทานทองอิน”



พระนลคำหลวง ภาพจาก www.kositt.com

พระราชกรณียกิจด้านเศรษฐกิจ


- จัดตั้ง ธนาคารออมสินขึ้น เพื่อให้ประชาชนรู้จักออมทรัพย์
- เริ่มก่อตั้งบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย
- ทรงจัดตั้ง สภาเผยแผ่พาณิชย์ ทำหน้าที่ วางแผน และเป็นหน่วยงานกลางเพื่อประสานงานระหว่างกระทรวงทบวงกรมต่างๆ ซึ่งเป็นหน่วยงานคล้ายกับสภาพัฒนาการเศรษฐกิจในปัจจุบัน


พระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และสาธารณสุข


- ตั้งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และวชิรพยาบาลเพื่อรักษาพยาบาลประชาชนที่เจ็บไข้ได้ป่วย
- ทรงเปิดสถานเสาวภา เพื่อผลิตวัคซีนและเซรุ่ม
- ทรงเปิดกิจการการ ประปากรุงเทพฯ 
- ตั้งโรงเรียนนางพยาบาลของสภากาชาดไทย


พระราชกรณียกิจด้านการคมนาคม 

- ทรงปรับปรุงและขยายงานกิจการรถไฟ ให้สถานีหัวลำโพงเป็นจุดศูนย์กลางเชื่อมโยงทางรถไฟทั้งหมดของประเทศ
- ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานพระราม ๖ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา


พระราชกรณียกิจด้านการป้องกันประเทศ


เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๗ ประเทศทางยุโรปไค้แยกออกเป็น ๒ ฝำย คือ
ประเทศฝ่ายมหาอำนาจเยอรมนี  ออสเตรีย ฮังการี  กับอีกฝ่ายหนื่งคือฝ่ายสัมพันธมิตร มีอังกฤษ ฝรั่งเศส รุสเซีย  ในตอนต้นของสงครามประเทศไทยได้ประกาศตนเป็นกลาง แต่ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมองเห็นผลของการร่วมสงครามที่มีต่อประเทศชาติ จึงทรงตัดสินพระทัยประกาศสงครามกับเยอรมนี และออสเตรีย-ฮังการี เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ โดยให้เหตุผลว่าเพื่อรักษาสิทธิของประเทศ และรักษาความชอบธรรมทั้งหลายในระหว่างนานาประเทศ การเข้าร่วมสงครามครั้งนื้  พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ส่งทหารไทยอาสาสมัครไปร่วมรบในสมรภูมิด้วย นับเป็นการแสดงให้เห็นถึงความพร้อมทางด้านการทหารของไทย


ซึ่งการเข้าร่วมสงครามในครั้งนี้ เป็นผลดีแก่ประเทศไทยอย่างยิ่ง ทำให้ไทยได้รับในฐานะเป็นประเทศที่เป็นฝ่ายชนะสงคราม ก็คือ ทำให้สามารถเจรจากับประเทศมหาอำนาจขอแก้ไขสนธิสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ให้พ้นสภาพที่เคยเสียเปรียบชาวต่างชาติมาเป็นเวลานาน



อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ ๑  ภาพจาก www.prd.go.th

ข้อมูลอ้างอิง

www.welovethailand.com/king6.html
www.krama6.su.ac.th/activity/
http://skw2.school.in.th/4977/view.php?topic=207
www.krama6.su.ac.th
http://202.142.219.4/vcafe/5321
http://www.lib.ru.ac.th/journal/royal6.html
http://www.geocities.com/poetichome/bio_2.htm

 



เข้าชม : 1242


ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

      ศกร.ตำบลนาท่ามใต้ 26 / ส.ค. / 2567
      วันคลายวันสถาปนา กรมส่งเสริมการเรียนรู้ วันที่ 18 พฤษภาคม 2567 18 / พ.ค. / 2567
      🌷ศกร.ตำบลนาท่ามใต้🌷 🌷เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ 🌷ภาคเรียน ที่1/2567 22 / เม.ย. / 2567
      💎กศน.ตำบลนาท่ามใต้💎 รับสมัครนักศึกษาใหม่ ภาคเรียนที่ 2/2565 ตั้งแต่วันที่ 1-31 ตุลาคม 2565 🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻 https://forms.gle/6f1CtE6iRpysKWB 10 / ต.ค. / 2565
      กศน.ตำบลนาท่ามใต้ เมืองตรัง สอบปลายภาคเรียนที่ 1/2565 6 / ก.ย. / 2565


 
กศน.ตำบลนาท่ามใต้
ศูนย์การศึกษากนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองตรัง
ที่อยู่  กศน.ตำบลาท่ามใต้  เบอร์โทร  0874318353
e-mail:  Ppetch_2512@hotmail.co.th

สล็อตเว็บตรง Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05