7 สิงหาคม วันรำลึกพระบิดาแห่งกฎหมายไทย
วันรพี สำหรับผู้ที่มีความสนใจทางด้านกฎหมาย จะต้องรู้จักเป็นอย่างดี กับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ซึ่งได้ถูกยกย่องเป็นพระบิดาแห่งกฎหมายไทย วันนี้จึงมีสาระดีๆ และประวัติของพระองค์ท่านมาฝากกัน
ประสูติ
พระองค์ท่านมีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองคืเจ้ารพีพัฒนศักดิ์ เป็นพระราชโอรส พระองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประสูติเมื่อวันที่ 21ตุลาคม 2417
การศึกษา
พระองค์ทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ และเลือกวิชาเอกคือวิชากฎหมาย โดยเนื่องจากช่วงนั้น เมืองไทยมีศาลกงสุลจากชาติตะวันตกค่อนข้างมาก ซึ่งพระองค์ทรงเล็งเห็นว่าจะเป็นการดี ที่จะศึกษาถึงกฎหมายต่างๆ อีกทั้งทรงพยนายามขอยกเลิกอำนาจศาลกงสุลต่างๆ ที่มาพิจารณาคดีของชนชาติตนเอง เพื่อให้ประเทศไทยมีเอกราชทางด้านการศาลอย่างแท้จริง
พระองค์ได้เจ้าศึกษาวิชากฎหมายที่วิทยาลัยไครส์เชิร์ช มหาวิทยาลัยออฟซ์ฟอร์ด ซึ่งในขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุเพียง 17 พรรษา ซึ่งทางมหาวิทยาลัยกำหนดให้ต้องมีพระชนมายุไม่ต่ำกว่า 18 พรรษา จึงจะสามารถเข้ารับการศึกษาได้ แต่พระองค์ทรงขอความกรุณา อีกทั้งยังดำรัสว่า “คนไทยเกิดง่าย ตายเร็ว” ทางมหาวิทยาลัยจึงยอมผ่อนผันให้รับการศึกษาต่อไปได้
และด้วยพระองค์ทรงพระวิริยะอุตสาหะเอาพระทัยทางด้านการเรียนเป็นอย่างมาก ทรงได้รับปริญญาบัตรเกียรตินิยมทางกฎหมาย Bachelor of Arts.Hons เมื่อพระชนมายุเพียง 20 พรรษา โดยใช้เวลาเพียง 3 ปี
วันรพี 7 สิงหาคม พระบิดาแห่งกฎหมายไทย
งานราชการและ พระกรณียกิจ
- ในปี 2437 พระองค์ได้ทรงจัดตั้งโรงเรียนมหาดเล็ก เพื่อสอนความรู้เบื้องต้นสำหรับข้าราชการพลเรือนในกระทรวงต่างๆ และทรงรับสมัครข้าราชการทางฝ่ายตุลาการ ทรงฝึกหัดทางด้านกฎหมายอย่างจริงจังจนต่อมาไม่นาน พระองค์สามารถตั้งกรมราชเลขานุการได้ทุกตำแหน่ง อีกทั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดแต่งตั้งพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์เป็นองคมนตรีในปีเดียวกัน
- ในปี 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักด์เป็นสภานายกพิเศษจัดการตั้งศาลในมณฑลอยุธยา
- ในปี 2441 พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงเป็นกรรมการตรวจตัดสินความฎีกาในคณะกรรมการ ชื่อว่า “ศาลกรรมการฎีกา” ทำหน้าที่เป็นศาลสูงสุดของประเทส แต่ไม่สังกัดกระทรวงยุติธรรม และต่อมาคือศาลฎีกาในปัจจุบัน
- ในปี 2442 ได้รับพระราชทานพระสุพรรณบัตรเป็น “กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์”
- ในปี 2453 รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล่าฯ ให้เป็นองคมนตรี
- ในปี 2455 ทรงพระกรณาโปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ และในปีเดียวกัน ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นกรมหลวง มีพระนามจารึกในสุพรรณบัฏว่า “พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์คชนาม”
- ในปีะ 2462 พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงประชวรด้วยพระวัณโรค ที่พระวักกะ (ไต) และทรงเสด็จไปรับการรักษาที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จนกระทั้งวันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม 2463 พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ก็สิ้นพระชนม์ รวมพระชนมายุ 47 พรรษา
พระบิดาแห่งกฎหมายไทย
ด้วยคุณาณุปการอันล้นพ้นดังกล่าวข้างต้น เนติบัณฑิตยสภาจึงได้ถวายการยกย่องพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เป็น“พระบิดาแห่งกฎหมายไทย“ เมื่อปี 2497 ทั้งเริ่มต้นเรียก วันที่ 7 สิงหาคมของทุกปี เป็น “วันรพี“ เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ พร้อมทั้งมีการจัดงานบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายเป็นประจำทุกปี