[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 



 
 
ประวัติ กศน.ตำบล

กศน.ตำบลนาเมืองเพชร

ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลนาเมืองเพชรประกาศจัดตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๔  ตั้งอยู่  หมู่ที่  ๔  ตำบลนาเมืองเพชร  เห็นชอบโดย นายกฤษณ์  อุไรรัตน์  นายอำเภอสิเกา นายภมร  กลิ่นหอม ประธานกรรมการบริหาร อบต.  อนุมัติ  โดย นายเฉลิมชัย  ปรีชานนท์  ผู้ว่าราชการจังหวัดตรังต่อมาเมื่อปี ๒๕๔๖ ทางกระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยนแปลงหลักสูตรใหม่และได้มีนโยบายให้รับสมัครครู ศูนย์การเรียนชุมชน และได้สำรวจกลุ่มเป้าหมายความต้องการของผู้เรียนปรากฏว่ามีผู้เรียนใน หมู่ที่  ๑-๗  ที่ต้องการพบกลุ่มที่ใกล้บ้านที่สุด คณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชนตำบลนาเมืองเพชร  ลงมติเปลี่ยนสถานที่พบกลุ่มเดิมอยู่ที่วัดเขาแก้วมาขอใช้  สถานที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาเมืองเพชร  ตำบลนาเมืองเพชรอำเภอสิเกา  จังหวัดตรัง เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่กลุ่มเป้าหมายทั้ง ๗ หมู่บ้าน  ปี  ๒๕๔๙  -  ๒๕๕๐   ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดตรัง แจ้งว่าจะสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน VDO  ETV อาคารดังกล่าวไม่เหมาะสม เพราะเป็นสถานที่โล่ง ไม่ปลอดภัยอาจเกิดการสูญหายได้  จึงขอความอนุเคราะห์ขอใช้อาคารร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลนาเมืองเพชร

                   กศน. ตำบลนาเมืองเพชร ได้จัดตั้งเมื่อพ.ศ. ๒๕๔๔ณ    หมู่ที่ ๔  ตำบลนาเมืองเพชร  อำเภอสิเกาจังหวัดตรังได้จัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. ๒๕๔๒  ของการศึกษานอกระบบโรงเรียนในการจัดกระบวนการเรียนรู้
                   กศน.ตำบลนาเมืองเพชรเป็นศูนย์กลางการจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนในชุมชนเป็นสถานที่เสริมสร้างถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่นและเป็นแหล่งบริการชุมชนในการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในชุมชนนั้นๆบนพื้นฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

 

               


 

สภาพทั่วไปของตำบลนาเมืองเพชร

 

ประวัติความเป็นมา

                   ในอดีตตำบลนาเมืองเพชรมีคนไทย  ๒ คน นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นพี่น้องกันเดินทางจากจังหวัดชายแดนใต้  ซึ่งไม้ได้ระบุว่ามาจากจังหวัดใด ได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณใกล้กับคลองสว่าง  ทั้งสองคนมีชื่อว่า  “โต๊ะเพชร” และ “โต๊ะหมิง”  ทั้งสองคนได้แยกกันอยู่คนละฝั่งคลอง  และได้ประกอบอาชีพ การทำนา โดยคนที่หนึ่งว่า“โต๊ะเพชร”ได้ทำนาอยู่บริเวณทิศตะวันตกของคลองสว่าง  ส่วนคนที่ชื่อว่า  “โต๊ะหมิง”   ก็ทำนาอยู่บริเวณฝั่งตรงกันข้าม  ต่อมามีผู้คนเดินผ่านสัญจรที่บริเวณนาของนายโต๊ะเพชรจึงเรียกที่นาตรงนี้ว่า “นาโต๊ะเพชร” ต่อมาราษฎรมาอาศัยยอยู่บริเวณนี้มากเป็นชุมชนจึงเรียกบริเวณจากเดิม  นาโต๊ะหมิง  กลายมาเป็น  “นาเมืองเพชร”  ต่อมาทางราชการก็ได้จัดตั้งขึ้นเป็นตำบลโดยเรียกชื่อ  ตามที่ชาวบ้านเรียกว่า  “ตำบลนาเมืองเพชร”  จนถึงปัจจุบัน  (๒๕๔๕)  ซึ่งเดิม ตำบลนาเมืองเพชร ประกอบด้วย  ๔  หมู่บ้าน  คือ  หมู่ ๑,๒,๓  และ หมู่ ๔  ต่อมา ประมาณ ปี  พ.ศ.  ๒๔๙๐  จึงได้มีการแยกหมู่บ้าน  หมู่ ๔  ออกเป็น หมู่ที่  ๕  และได้แยกหมู่ที่  ๒  ออกเป็นหมู่ที่  ๖  และต่อมาปี พ.ศ.  ๒๕๓๔  ได้แยกหมู่ที่  ๑  ออกเป็นหมู่ที่  ๗  จนปัจจุบัน  ตำบลนาเมืองเพชร มี  ๗  หมู่บ้าน

 

วิสัยทัศน์ตำบลนาเมืองเพชร

                   “โครงสร้างพื้นฐานดี  มีการศึกษาและคุณภาพ  เศรษฐกิจก้าวหน้า  นาเมืองเพชรน่าอยู่”

         

ที่ตั้งและอาณาเขต

                   ตำบลนาเมืองเพชร  อำเภอสิเกา  จังหวัดตรัง  มีเนื้อที่  ๑๐๒.๑๔  ตารางกิโลเมตร  หรือ  ๖๓,๘๓๘  ไร่ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสิเกาไปทางทิศตะวันออก ประมาณ  ๑๑  กิโลเมตร  ตามถนนสายตรัง – สิเกา  (๔๐๔๖) โดยมีอาณาเขตติดต่อ  ดังนี้

                        ทิศเหนือ                   ติดต่อกับตำบลเขาวิเศษ                       อำเภอวังวิเศษ  จังหวัดตรัง

ทิศตะวันออก     ติดต่อกับตำบลโคกยาง                        อำเภอกันตัง  จังหวัดตรัง

ทิศตะวันตก      ติดต่อกับตำบลนาโต๊ะหมิง                    อำเภอเมือง  จังหวัดตรัง

ทิศใต้    ติดต่อกับตำบลบ่อหินและตำบลไม้ฝาด      อำเภอสิเกา  จังหวัดตรัง

 


 

คำอธิบาย: sikao 051 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                ลักษณะภูมิประเทศ

                   มีสภาพทางกายภาพเป็นที่ราบและที่ราบสูง  มีแหล่งน้ำทางธรรมชาติหลายสาย  หากได้รับการพัฒนาใช้ประโยชน์ในการทำการเกษตรได้  มีจำนวนหมู่บ้าน  ๗  หมู่บ้าน  ได้แก่

                   หมู่ที่  ๑          บ้านห้วยไทร

                   หมู่ที่  ๒          บ้านเขาแก้ว

                   หมู่ที่  ๓          บ้านห้วนน้ำดำ

                   หมู่ที่  ๔          บ้านนาเมืองเพชร

                   หมู่ที่  ๕          บ้านไทรห้อย

                   หมู่ที่  ๖          บ้านกลิ้งกลอง

                   หมู่ที่  ๗          บ้านเขาเพดาน

ลักษณะภูมิอากาศ

                   มี ๒ฤดู  ฤดูร้อนเริ่มกลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม  ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนธันวาคม เป็นช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน ทำให้ฝนตกชุกโดยเฉลี่ยประมาณ ๒,๐๐๐มิลลิลิตร/ปี และช่วงกลางเดือนธันวาคม เป็นช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่าน ทำให้อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิอยู่ในช่วง ๒๐๓๐องศาเซลเซียส

 

ประชากร

ณ วันที่ ๒๔  พฤษภาคม  ๒๕๕๕อำเภอสิเกา

มีประชากรทั้งสิ้น                                       ๕,๑๔๔  คน

                   เพศชาย                                                 ๒,๖๑๙   คน              

เพศหญิง                                                ๒,๕๗๕  คน

                   มีจำนวนครัวเรือน                                      ๑,๗๑๖ครัวเรือน

                   นับถือศาสนาพุทธ                          ร้อยละ       ๑๐๐

สภาพเศรษฐกิจ
อาชีพของราษฎร
      ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักเกษตรกรรม ได้แก่ การทำสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน นอกจากนั้นมีการประกอบอาชีพอื่น ๆ เช่น ค้าขาย ทำงานโรงงาน รับราชการและอื่นๆ 

 

ที่

อาชีพ

จำนวน

(ครัวเรือน)

ร้อยละ

 .

 เกษตรกร  

๖๐๐

 ๓๔.๙๗

 .

 ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ  

๒๐๐

๑๑.๖๖

 ๓.

 พนักงาน หน่วยงานเอกชน 

๑๕๐

๘.๗๔

 .

 ธุรกิจส่วนตัว 

๒๐๐

๑๑.๖๖

 

 รับจ้างทั่วไป 

 ๓๕๐

๒๐.๓๙

.

 อื่น ๆ 

๒๑๖

๑๒.๕๘

รวม

 ,๗๑๖

๑๐๐

 


 

 

ผลิตผลหรือสินค้า/บริการ ที่สำคัญของตำบล ได้แก่
) ยางพารา ๘๕ %
) ปาล์มน้ำมัน ๑๐ %
) ผลไม้ (เงาะ ทุเรียน) ๕ %
) อื่น ๆ ๒

 

 

 

 

 

 

       
   
 

 




 

 

 

 

 

 

 

       
   
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


แหล่งทุนในชุมชน  

 

ชื่อกลุ่มออมทรัพย์ 

หมู่ที่

ปีที่จัดตั้ง

จำนวนสมาชิก

จำนวน

เงินสะสม

ชื่อประธานกลุ่ม

บ้านห้วยน้ำดำ

๒๕๔๒

๑๕๐

,๒๘๓,๑๐๐

นายภมร กลิ่นหอม 

บ้านไทรห้อย

๒๕๔๒

๖๐

๔๐๓,๑๐๐

นางโสพิศ หงษา 

บ้านกลิ้งกลอง

๒๕๔๒

๒๗๕

๓,๑๒๖,๐๐๐

นายเฉลิม นุ้ยขาว 

บ้านเขาเพดาน

๒๕๔๒

๘๙

๔๙๐,๓๐๐

นายอัครเดช หอยสังข์ 

   รวม

๕๗๔

๕,๓๐๓,๑๐๐

 

 

 

 

 

 

 

 

การบริการพื้นฐาน
                 การคมนาคมในพื้นที่ตำบลนาเมืองเพชร และการคมนาคมติดต่อระหว่างตำบล อำเภอ ส่วนใหญ่เป็นถนนลาดยาง การสัญจรไปมามีความสะดวก ใช้ได้ตลอดทั้งปี โดยแยกเป็นถนน ดังนี้
. ถนนลูกรัง จำนวน ๒๗สาย
. ถนนลาดยาง จำนวน ๑๓สาย
. ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน    สาย  
     ถนนสายหลักที่เดินทางไปยังที่ว่าการอำเภอสิเกา คือ ถนนตรัง สิเกา (สาย ๔๐๖๔) ผ่านหมู่ที่๑,๒,๓,๔
ด้านแหล่งน้ำ

 

ที่

ประเภทแหล่งน้ำ

จำนวน

(แห่ง)

สภาพการใช้ประโยชน์

พื้นที่(ไร่)

ครัวเรือน

.

บ่อน้ำตื้น / สระน้ำ

๑๒

-

๒๔

.

บ่อบาดาล

-

.

ฝาย / ทำนบ / ผนังกั้นน้ำ

-

-

.

 ประปาหมู่บ้าน / ภูเขา / อื่นๆ

๓๙

๖๑๓

.

แหล่งน้ำธรรมชาติ ห้วย / หนอง / คลอง / บึง

๗๒

๔๑

รวม

๓๒

๑๑๑

๖๘๗


 

การปกครอง

          ๑. นายสมปอง พ่วงพูล              ตำแหน่ง          กำนันตำบลนาเมืองเพชร

          ๒. นายชอุ่ม  เครือเพ็ง              ตำแหน่ง          ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  ๑

          ๓.  นายกุศล  คีรีรัตน์               ตำแหน่ง          ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  ๒

          ๔. นายสุชาติ  ชัยชนะ              ตำแหน่ง          ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  ๓

          ๕.นายสุพัฒน์  ธีระกิจไพศาล       ตำแหน่ง          ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  ๕

          ๖. นายไชยา  กิตติเวชวรกุล        ตำแหน่ง          ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  ๖

          ๗ นายสมศักดิ์  จันทร์เศษ           ตำแหน่ง          ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  ๗

 

          การศึกษา

                มีสถานศึกษาตามสังกัด  ดังนี้  คือ

                   -  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน                จำนวน          แห่ง

                   -  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก                                            จำนวน          แห่ง

                   -  การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย             จำนวน๑         แห่ง

ศาสนา

          มีจำนวนทั้งสิ้น  ๒  แห่งคือ

                   . วัดเขาแก้ว                                                    หมู่ที่ ๒ตำบลนาเมืองเพชร

                   . วัดคูหาวิไล                                                    หมู่ที่ ๗ตำบลนาเมืองเพชร

                  

แหล่งท่องเที่ยว

                   . ถ้ำเขาเพดาน                                                  หมู่ที่ ๗ตำบลนาเมืองเพชร

                  

สถานที่พัก โรงแรม/รีสอร์ท

                   . ชมจันทร์ รีสอร์ท                                             หมู่ที่ ๔ตำบลนาเมืองเพชร

         


บริษัท/โรงงาน

                   . บริษัท ตรังน้ำมันปาล์ม จำกัด                                หมู่ที่ ๑ตำบลนาเมืองเพชร

                   . บริษัท ไทยเทครับเบอร์คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด                 หมู่ที่ ๔ตำบลนาเมืองเพชร

                   . บริษัท ศรีตรังแอร์โกลอินดัสทรี จำกัด                       หมู่ที่ ๒ตำบลนาเมืองเพชร

                   . บริษัท ตรังพาราวู้ด จำกัด                                    หมู่ที่ ๔ตำบลนาเมืองเพชร

                   . บริษัท แพรททินั่ม จำกัด                                     หมู่ที่ ๑ตำบลนาเมืองเพชร

                   . บริษัท กว๋างเขิ่นรับเบอร์ตรัง จำกัด                          หมู่ที่ ๑ตำบลนาเมืองเพชร

 

เทศกาลที่สำคัญ

                   . เทศกาลอนุรักษ์หอยตะเภา      เดือนพฤศจิกายนของทุกปี บริเวณหาดปากเมง

                   . เทศกาลเปิดฟ้าทะเลตรัง         เดือนพฤศจิกายนของทุกปี บริเวณหาดปากเมง

                   . เทศกาลวิวาห์ใต้สมุทร            ๑๔กุมภาพันธ์ ของทุกปี             บริเวณหาดปากเมง

                   . เทศกาลรำลึก สึนามิ”          ๒๖ธันวาคม ของทุกปี               บริเวณหาดปากเมง

 

          แหล่งน้ำธรรมชาติ

                   ๑.  ลำคลอง                         จำนวน           ๔                 สาย

                   ๒.  ลำห้วย                          จำนวน           ๒                 แห่ง

                   ๓.  สระ                             จำนวน           ๔                 แห่ง

          ประเพณี/วัฒนธรรม

                   ตำบลนาเมืองเพชร มีงานประเพณีที่สืบต่อกันมา คือ ประเพณีวันสารทเดือนสิบ  ประเพณีชักพระ  วันขึ้นปีใหม่  การรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ  งานวันลอยกระทง  และงานตามสำคัญทางศาสนาต่างๆ เช่นวันเข้าพรรษา  วันออกพรรษา



เข้าชม : 780
 
 
กศน.ตำบลนาเมืองเพชร
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ.สิเกา
ที่อยู่ ม.3 ต.นาเมืองเพชร อ.สิเกา จ.ตรังเบอร์โทร 081-0828151
e-mail  nika2519_@hotmail.com

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05