[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

  

ข่าวประชาสัมพันธ์
ผลการประกวดหนังสือดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2554

พฤหัสบดี ที่ 8 เดือน กันยายน พ.ศ.2554



ผลการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2554



 


หนังสือที่ส่งเข้าประกวดเป็นหนังสือที่ตีพิมพ์โฆษณาเป็นเล่มบริบูรณ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2553
รวมจำนวน 419 เรื่อง แบ่งตามประเภทหนังสือ ดังต่อไปนี้

หนังสือสารคดี 59 เรื่อง
หนังสือนวนิยาย 23 เรื่อง
หนังสือกวีนิพนธ์ 16 เรื่อง
หนังสือรวมเรื่องสั้น 13 เรื่อง
หนังสือสำหรับเด็กเล็ก อายุ 3-5 ปี 73 เรื่อง
หนังสือสำหรับเด็ก อายุ 6-11 (บันเทิงคดี) 42 เรื่อง
หนังสือสำหรับเด็ก อายุ 6-11 ปี (สารคดี) 13 เรื่อง
หนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 ปี (บันเทิงคดี) 25 เรื่อง
หนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 ปี (สารคดี) 21 เรื่อง
หนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 (บทร้อยกรอง) 6 เรื่อง
หนังสือการ์ตูน และหรือนิยายภาพทั่วไป 23 เรื่อง
หนังสือการ์ตูน และหรือนิยายภาพสำหรับเด็ก 34 เรื่อง
หนังสือสวยงามทั่วไป 24 เรื่อง
หนังสือสวยงามสำหรับเด็ก 47 เรื่อง

ผลการประกวด มีหนังสือได้รับรางวัล 44 เรื่อง
คือ รางวัลดีเด่น 7 เรื่อง และ รางวัลชมเชย 37 เรื่อง แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
 


ประเภทหนังสือสารคดี

รางวัลดีเด่น เรื่อง "ผ่ามิติจินตนาการ" ชัยวัฒน์ คุประตกุล ผู้ประพันธ์ จาก บริษัท พาบุญมา จำกัด

รางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้แก่ เรื่อง กำปั้นนอกสังเวียน เรื่อง อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู  ผู้ประพันธ์ ศรัณย์ ทองปานและวิชญดา ทองแดง สำนักพิมพ์เมืองโบราณ และ เรื่อง เอกกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ ผู้ประพันธ์ วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย

ประเภทหนังสือนวนิยาย

รางวัลดีเด่น เรื่อง "น้ำเล่นไฟ" กฤษณา อโศกสิน ผู้ประพันธ์ จาก สำนักพิมพ์เพื่อนดี

รางวัลชมเชย มี 3 รางวัล ได้แก่ เรื่อง ดั่งดาวระยิบฟ้า ผู้ประพันธ์ ชมัยภร แสงกระจ่าง สำนักพิมพ์ คมบาง เรื่อง นิยายในสายหมอก ผู้ประพันธ์ แขคำ ปัญณะศักดิ์ สำนักพิมพ์เพื่อนดี และ เรื่อง วาดวิมาน ผู้ประพันธ์ กนกวลี พจนปกรณ์ สำนักพิมพ์เพื่อนดี

ประเภทหนังสือกวีนิพนธ์

รางวัลดีเด่น เรื่อง "ฝากเธอช่วยซับน้ำตาโลก" สิทธิเดช กนกแก้ว ผู้ประพันธ์ จาก สำนักพิมพ์ร้อยแก้ว

รางวัลชมเชย มี 3 รางวัล ได้แก่ โคลงชีวประวัติพระครูวิสุทธิวงษาจาริย์ญาณมุนี (หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง) วัดไชยธาราราม จ.ภูเก็ต ผู้ประพันธ์ คณิต นิยะกิจ  เรื่อง ในความไหวนิ่งงัน ผู้ประพันธ์ นายทิวา บริษัท ออน อาร์ต ครีเอชั่น จำกัด และ เรื่อง มหาวิหารแห่งสุวรรณภูมิ ผู้ประพันธ์ บัญชา อ่อนดี พิมพ์ไพรสำนักพิมพ์

ประเภทหนังสือรวมเรื่องสั้น

รางวัลดีเด่น เรื่อง "วีรชน / คนบ้า / นักล่าเงา" เชตวัน เตือประโคน ผู้ประพันธ์ จากสำนักพิมพ์มติชน

รางวัลชมเชย มี 3 รางวัล ได้แก่ เรื่อง คนในคลื่น ผู้ประพันธ์ ไพชัฎ ภูวเชษฐ์ สำนักพิมพ์มติชน เรื่อง พ่อผู้ไม่อยากเดินทางไปรัสเซีย ผู้ประพันธ์ ภพ เบญญาภา สำนักพิมพ์ศิราภรณ์บุ๊คส์ และ เรื่อง เราล้อมไว้หมดแล้ว ผู้ประพันธ์ จรัญ ยั่งยืน สำนักพิมพ์มติชน

หนังสือสวยงามสำหรับเด็ก

รางวัลดีเด่น เรื่อง "หนูนิ่มผู้มีหัวใจเอื้อเฟื้อ" อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ผู้ประพันธ์ จาก บริษัท ฟรีมายด์ พับลิชชิ่ง จำกัด

รางวัลชมเชย มี 3 รางวัล ได้แก่ เรื่อง พลังงานน้ำ ผู้ประพันธ์ จิตติรัตน์ ทัดเทียมรมย์ สำนักพิมพ์เวิลด์คิดส์ เรื่อง สักวันหนูจะโต ผู้ประพันธ์ รัตนา คชนาท สำนักพิมพ์ห้องเรียน และ เรื่อง สิมม่วนซื่น ผู้ประพันธ์ อู่ทง ประศาสน์วินิจฉัย คณะบุคคลบ้านเรียนน้ำริน

ประเภทหนังสือบทร้อยกรอง

รางวัลดีเด่น เรื่อง "แสงเทียนส่องทางไทย" สิทธิเดช กนกแก้ว ผู้ประพันธ์ จาก สำนักพิมพ์ร้อยแก้ว

รางวัลชมเชย มี 3 รางวัล ได้แก่ เรื่อง กาพย์ช่วยจำ คำที่มักใช้ผิด ผู้ประพันธ์ จงจิต (กล้วยไม้) นมิมานนรเทพ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ด้วยรักและผูกพัน ผู้ประพันธ์ สุวัฒน์ ไวจรรยา และ เรื่อง ลมหายใจของแผ่นดิน ผู้ประพันธ์ สิทธิเดช กนกแก้ว สำนักพิมพ์ร้อยแก้ว

ประเภทหนังสือสวยงาม (ทั่วไป)

รางวัลดีเด่น เรื่อง "สมุดภาพความทรงจำ เมื่อครั้งแผ่นดินสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง"  อรรถดา คอมันตร์ ผู้ประพันธ์ จาก สำนักพิมพ์สยามเรเนซองส์

รางวัลชมเชย มี 3 รางวัล ได้แก่ เรื่อง ทรงสื่อสาร วัฒนาประชาไทย ผู้ประพันธ์ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง ลมหายใจใต้พระบารมี ผู้ประพันธ์ วรรณชนก สุวรรณกร และณรงค์ สุวรรณรงค์ มูลนิธิอนุรักษ์ป่าเขียวและ เรื่อง วัตถุชิ้นเยี่ยม พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ประพันธ์ สุมัยวดี เมฆสุต และคณะ ธนาคารแห่งประเทศไทย

ประเภทหนังสือสำหรับเด็กเล็ก อายุ 3-5 ปี

ไม่มีหนังสือเรื่องใดได้รับรางวัลดีเด่น

รางวัลชมเชย มี 3 รางวัล ด้แก่ เรื่อง ดูซิ ดูซิ ฉันสีอะไร ผู้ประพันธ์ ตุลย์ สุวรรณกิจ สำนักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก เรื่อง แม่ไก่แม่เป็ด ผู้ประพันธ์ ส.พุ่มสุวรรณ นานมีบุ๊คส์คิดดี้ และ เรื่อง หนูรอกับหนูรี ผู้ประพันธ์ คมกฤช มานนท์ สำนักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก

ประเภทหนังสือสำหรับเด็ก อายุ 6-11 ปี (บันเทิงคดี)

ไม่มีหนังสือเรื่องใดได้รับรางวัลดีเด่น

รางวัลชมเชย มี 2 รางวัล ได้แก่ เรื่อง ดาวดวงนั้นของฉันคนเดียว ผู้ประพันธ์ เพนกวินตัวแรก สำนักพิมพ์พาส แอท คิดส์ และ เรื่อง ตาลเดี่ยวยอดกตัญญู ผู้ประพันธ์ นวรัตน์ สีหอุไร บริษัท บิ๊กบุ๊ค เซนเตอร์ จำกัด

ประเภทหนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 ปี (บันเทิงคดี)

ไม่มีหนังสือเรื่องใดได้รับรางวัลดีเด่น

รางวัลชมเชย มี 3 รางวัล ได้แก่ เรื่อง นักล่าผู้น่ารัก ผู้ประพันธ์ ชนประเสริฐ คินทรักษ์ สำนักพิมพ์พิมพ์บูรพา เรื่อง มองทุกอย่างจากทุกมุม ผู้ประพันธ์ ณัฐ ศักดาทร แพรวสำนักพิมพ์ และ เรื่อง อีเกิ้งดวงกลม (โสกไผ่ใบข้าว ภาค ๓) ผู้ประพันธ์ จตุพร แพงทองดี สำนักพิมพ์มติชน

หนังสือสารคดี

ไม่มีหนังสือเรื่องใดได้รับรางวัลดีเด่น

รางวัลชมเชย มี 3 รางวัล ได้แก่ เรื่อง บางสิ่งไม่เคยหวนกลับ ผู้ประพันธ์ เยาวชนโครงการค่ายนักเขียนสารคดี ครั้งที่ 5 สำนักพิมพ์สารคดี เรื่อง พวกเราแปลงร่างได้ ผู้ประพันธ์ ธิติมา ช้างพุ่ม นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ และ เรื่อง พืชพิษ-สัตว์พิษ ผู้ประพันธ์ สุดารัตน์ หอมหวล สำนักพิมพ์แม็ค

ประเภทหนังสือการ์ตูน และ หรือนิยายภาพ(ทั่วไป)

ไม่มีหนังสือเรื่องใดได้รับรางวัลดีเด่น

รางวัลชมเชย มี 3 รางวัล ได้แก่ เรื่อง แผ่นดินมหัศจรรย์ บ้านฉัน บ้านเธอ ตอน ชุลมุนบุญ สองบ้าน (นัดเหย้า) ผู้ประพันธ์ สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์ สำนักพิมพ์บูรพา เรื่อง สาว 22 กับโรคนางเอก (ลูคีเมีย) ผู้ประพันธ์ ปิยะนุช เศรษฐวงศ์ จ้ำอ้าวสำนักพิมพ์ และ เรื่อง หอมหัวใหญ่ เล่มที่ 4 ฉบับกุมหัวใจผู้พิการ ผู้ประพันธ์ รวมผลงานนักเขียนการ์ตูน สำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก โดยสถาบันการ์ตูนไทย มูลนิธิเด็ก

หนังสือการ์ตูนและนิยายภาพสำหรับเด็ก

ไม่มีหนังสือเรื่องใดได้รับรางวัลดีเด่น

รางวัลชมเชย มี 2 รางวัล ได้แก่ เรื่อง เณรแก้วกับน้อยไชยา 2 ตอนผจญภัยในภาคกลาง ผู้ประพันธ์ มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น และ เรื่อง อีสปในสวน ผู้ประพันธ์ สมบัติ คิ้วฮก และสุดใจ พรหมเกิด สำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก โดยสถาบันการ์ตูนไทย มูลนิธิเด็ก

ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับรางวัลดีเด่นจะได้เข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 25 มี.ค. สำหรับหนังสือเด็กที่ไม่มีผู้ใดได้รับรางวัล เนื่องจากคณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นตรงกันว่า หนังสือไม่มีมาตราฐานและมีข้อบกพร่อง เช่น ภาพไม่สอดคล้องกับเนื้อหา ภาษาที่ใช้ไม่ชัดเจนและไม่เหมาะสมกับวัยเด็ก อย่างไรก็ตาม จะมีการกำหนดวิธีการส่งเสริมการพัฒนาหนังสือเด็กให้กว้างขวางต่อไป.

ที่มา: www.dailynews.co.th     ผู้ลงข่าว: ศาลาไทย



เข้าชม : 1318


ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

      บรรณารักษ์ร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านด้วยรถห้องสมุดเคลื่อนที่ “รถอ่านดี” อ่านได้ทุกที่ เข้าถึงชุมชน และกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน อ่านแล้วประดิษฐ์ “พวงกุญแจลูกปัดหรรษา” 1 / มี.ค. / 2566
      ร่วมกิจกรรมแข่งขันกีฬาและกรีฑา 8 / ธ.ค. / 2565
      โครงการประกวดความสามารถพิเศษ นักศึกษา กศน. อำเภอย่านตาขาว กิจกรรม TO BE NUBER ONE 17 / ส.ค. / 2565
      โครงการ ๒ เมษา รักการอ่าน สืบสานคุณค่าสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน 11 / เม.ย. / 2565
      นิตยสารเทคโนโลยีชาววบ้าน 17 / ส.ค. / 2564