[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

                                
 
 

  

ข่าวประชาสัมพันธ์
12 สิงหาคม วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 และวันแม่แห่งชาติ

อาทิตย์ ที่ 5 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2561


 

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
 
 
ไบยังการนำทางไปยังการค้นหา
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ
Queen Sirikit In Russia 2007.jpg

พระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
ฐานันดรศักดิ์ พระอัครมเหสี
ราชวงศ์ จักรี
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475 (85 พรรษา)
อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนครประเทศสยาม
พระราชบิดา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ
พระราชมารดา หม่อมหลวงบัว กิติยากร
พระราชสวามี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (2493–2559)
พระราชบุตร
ลายพระอภิไธย

จอมพลหญิง จอมพลเรือหญิง จอมพลอากาศหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (พระนามเดิม: หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ; พระราชสมภพ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475) เป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และโดยพระชนมายุจึงนับเป็นพระกุลเชษฐ์พระองค์ปัจจุบันในพระบรมราชจักรีวงศ์

เนื่องจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขณะที่พระราชสวามีเสด็จออกผนวช ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2499 - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499[1] พระองค์จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2499 ปีเดียวกันนั้น[2] ถือเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถพระองค์ที่สองของกรุงรัตนโกสินทร์ต่อจากสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 5[3] (ภายหลังคือ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)

เนื้อหา

พระราชประวัติ

ขณะทรงพระเยาว์

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร (ภายหลังเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ) ประสูติแต่หม่อมหลวงบัว กิติยากร[4] (ราชสกุลเดิม: สนิทวงศ์)[5] เมื่อวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ณ บ้านของพลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) บ้านเลขที่ 1808 ถนนพระรามที่ 6 ตำบลวังใหม่ อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร อันเป็นบ้านของพระอัยกาฝ่ายพระมารดา[6] มีพระเชษฐาสองคนคือหม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์และหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ และมีพระกนิษฐาคนหนึ่งคือท่านผู้หญิงบุษบา สธนพงศ์[7]

สำหรับพระนาม "สิริกิติ์" ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีความหมายว่า "ผู้เป็นศรีแห่งกิติยากร"[8] เรียกโดยลำลองว่า "คุณหญิงสิริ"[9] ส่วนพระราชสวามีจะทรงเรียกว่า "แม่สิริ"[10]

เมื่อหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์มีอายุราว 2 ปี ขณะที่พี่เลี้ยงอุ้มอยู่นั้นก็มีแขกเลี้ยงวัวเข้ามาทำนายทายทัก ว่าเด็กผู้หญิงคนนี้จะมีบุญวาสนาได้เป็นราชินีในอนาคต ดังที่ท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ได้เล่าไว้ ความว่า[11]

 

...วันหนึ่งขณะที่พี่เลี้ยงอุ้ม ม.ร.ว.สิริกิติ์ เดินเล่น พอดีขณะนั้นมีแขกเลี้ยงวัว ซึ่งเป็นเพื่อนของแขกยามประจำบ้านมาหากัน พอแขกที่มาเหลือบเห็น ม.ร.ว.สิริกิติ์ ก็จ้องมองพร้อมทั้งกวักมือเรียกพี่เลี้ยงขอให้เห็นใกล้ ๆ หน่อย เมื่อเข้ามาใกล้มองดูสักครู่ก็พูดว่า "ต่อไปจะเป็นมหารานี" พี่เลี้ยงได้ฟังก็ชอบใจเที่ยวเล่าให้คุณยายและใครต่อใครฟัง ถึงไม่เชื่อแต่ก็ปลื้มใจ ต่อมาเมื่อ ม.ร.ว.สิริกิติ์ เจริญวัยขึ้น เลยเป็นเหตุให้คุณพี่ชายทั้งสองคนเอามาล้อเลียนเป็นที่ขบขันว่าเป็นราชินีแห่งอบิสซีเนีย [เอธิโอเปียในปัจจุบัน] บางครั้งถึงกับทำให้ผู้ถูกล้อต้องนั่งร้องไห้ด้วยความอายและเจ็บใจ แต่พี่ชายทั้งสองก็ยังไม่หยุดล้อ กลับเอาเศษผ้าขาด ๆ มาทำเป็นธงโบกอยู่ไปมา พร้อมทั้งบอกว่าเป็นธงประจำตัวของราชินี...

 
— ท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

สอดคล้องกับหม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ปกมนตรี ที่กล่าวถึงเกี่ยวกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ได้เล่าเรื่องดังกล่าวให้เพื่อน ๆ จากโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ที่ย้ายมาเรียนต่อที่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยฟังว่ามีหมอดูมาที่ตำหนักของท่านพ่อ แล้วทายทักว่าจะได้เป็นราชินี โดยที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เองและเพื่อนฝูงก็มิได้ใส่ใจนัก แต่เพื่อน ๆ ก็ขนานนามว่า "ราชินีสิริกิติ์" มาแต่นั้น[12] แม้จะเป็นเรื่องขบขันของราชสกุลกิติยากร แต่ไม่มีใครคาดถึงว่าในอีก 15 ปีต่อมาคำทำนายของแขกเลี้ยงวัวผู้นั้นจะเป็นความจริง[13]

 
วังเทเวศร์ ที่ประทับของพระองค์ในวัยเยาว์

ในระหว่างยังทรงพระเยาว์ สถานการณ์บ้านเมืองไม่สู้สงบนัก เนื่องจากเพิ่งพ้นจากช่วงของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ไม่นาน หม่อมเจ้านักขัตรมงคลต้องทรงออกจากราชการทหาร โดยรัฐบาลแต่งตั้งให้ไปรับตำแหน่งเลขานุการเอกประจำสถานทูตสยาม ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐ ส่วนหม่อมหลวงบัวซึ่งมีครรภ์แก่ยังคงอยู่ในประเทศไทย แต่ได้เดินทางไปสมทบหลังจากให้กำเนิดหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ได้ 3 เดือน โดยมอบหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ให้อยู่ในความดูแลของเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ และท้าววนิดาพิจาริณี บิดาและมารดาของหม่อมหลวงบัว ดังนั้นจึงต้องอยู่ไกลจากบิดามารดาตั้งแต่อายุน้อย[14] บางคราวต้องเดินทางไปต่างจังหวัด เช่น พ.ศ. 2476 หม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร พระมารดาของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล ได้ทรงรับนัดดาตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปอยู่ที่จังหวัดสงขลา

ปลายปี พ.ศ. 2477 หม่อมเจ้านักขัตรมงคลทรงลาออกจากราชการแล้วกลับมาประเทศไทย จึงทำให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ซึ่งขณะนั้นอายุได้ 2 ชันษา 6 เดือน ได้กลับมาอยู่รวมพร้อมหน้ากันทั้งครอบครัว ณ ตำหนักในวังเทเวศร์ บริเวณถนนกรุงเกษม ปากคลองผดุงกรุงเกษม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา[14]

การศึกษา

 
(จากซ้าย) ท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา), สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และหม่อมหลวงบัว กิติยากร เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2493

พ.ศ. 2479 เมื่อหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ ทรงมีอายุได้ 4 ชันษา ก็ได้เข้ารับการศึกษาครั้งแรกในชั้นอนุบาลที่โรงเรียนราชินี ทว่าในขณะนั้น แม้เหตุการณ์ด้านการเมืองภายในประเทศไทยจะสงบลง แต่สถานการณ์ระหว่างประเทศก็ไม่สงบ กล่าวคือ สงครามมหาเอเชียบูรพาเริ่มแผ่ขยายมาถึงประเทศไทย กรุงเทพมหานครถูกโจมตีทางอากาศหลายครั้งจนการคมนาคมไม่สะดวก พระบิดาจึงให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ เพราะอยู่ใกล้วังพระบิดา ได้เรียนที่นั่นตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จนถึงชั้นมัธยมศึกษา หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้เริ่มเรียนเปียโน[15] ซึ่งเรียนได้ดีและเร็วเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสซึ่งทรงสันทัดเช่นกัน[16]

พ.ศ. 2489 ครั้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง หม่อมเจ้านักขัตรมงคลต้องเสด็จไปดำรงตำแหน่งอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำสำนักเซนต์เจมส์ ประเทศอังกฤษ ทั้งนี้โดยได้ทรงพาครอบครัวทั้งหมดไปอยู่ด้วย ในเวลานั้นหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ มีอายุได้ 13 ปีเศษ และเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้ว [15]

ขณะที่อยู่ในประเทศอังกฤษ หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้ศึกษาต่อทั้งวิชาภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส และวิชาเปียโนกับครูพิเศษ[17] หลังจากนั้นไม่นาน พระบิดาย้ายไปประเทศเดนมาร์กและฝรั่งเศสตามลำดับ ขณะที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ก็ยังคงเรียนเปียโนและตั้งใจจะศึกษาต่อในวิทยาลัยการดนตรีที่มีชื่อเสียงของกรุงปารีสจนจบ[17]

ระหว่างที่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้มีโอกาสรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (ขณะนั้นทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์) ซึ่งพระองค์เสด็จประพาสกรุงปารีสเพื่อทอดพระเนตรโรงงานทำรถยนต์[18] ทั้งนี้เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โปรดการดนตรีเป็นพิเศษ ขณะที่หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ก็สนใจศิลปะเช่นกัน ทำให้เกิดความสัมพันธ์ขึ้น

อภิเษกสมรส

สมเด็จพระบรมราชินีแห่ง
ราชวงศ์จักรี
Emblem of the House of Chakri.svg สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
Emblem of the House of Chakri.svg สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
Queen Debsirindra.jpg สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
Queen Saovabha Phongsri.jpg สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
Prabai Sucharitakul.jpg สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี 
พ้นจากตำแหน่ง
Queen Rambhai Barni2.jpg สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
Aankomst Koning Bhumibol en Koningin Sirikit te Den Haag, koningin Sirikit, Bestanddeelnr 911-6994.jpg สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส

วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2491 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งโดยมีหม่อมหลวงบัวและหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ เข้าเฝ้าฯ เยี่ยมพระอาการเป็นประจำ และในช่วงระยะเวลาที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์อยู่เฝ้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่สวิตเซอร์แลนด์นั้น สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (พระนามในเวลานั้น) ได้ทรงรับเป็นธุระจัดการให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เข้าศึกษาในโรงเรียน Pensionnat Riante Rive ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำแห่งหนึ่งของโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์[19] ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงหายจากอาการประชวรแล้ว ก็ได้ทรงหมั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เป็นการภายในเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492[20]

หลังจากทรงหมั้นแล้ว หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ยังคงศึกษาต่อ กระทั่ง พ.ศ. 2493 เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนครเพื่อร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระองค์ท่านโปรดฯ ให้หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ตามเสด็จพระราชดำเนินกลับด้วย[20]

เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 พระราชพิธีราชาภิเษกสมรสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์จึงจัดขึ้น ณ วังสระปทุม โดยมีสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จฯ เป็นองค์ประธาน ในการนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยในทะเบียนสมรสและโปรดให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากรพร้อมทั้งสักขีพยานลงนามในทะเบียนนั้น หลังจากนั้น สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าเสด็จออกในพระราชพิธีถวายน้ำพระพุทธมนต์เทพมนต์แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและทรงรดน้ำพระพุทธมนต์เทพมนต์แด่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากรในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสตามโบราณราชประเพณี ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชโปรดเกล้าฯ ให้อาลักษณ์อ่านประกาศสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากรขึ้นเป็น "สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์" พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ในการนี้ด้วย[21][22]

ต่อมา ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชดำริว่า ตามโบราณราชประเพณีเมื่อสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกแล้ว ย่อมโปรดให้สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระอัครมเหสีขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินี ดังนั้น พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี[23] หลังจากนั้นทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ กลับไปยังสวิตเซอร์แลนด์เพื่อทรงรักษาพระองค์และทรงศึกษาต่อ จนกระทั่ง พระองค์มีพระประสูติกาลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีและเมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอมีพระชันษาได้ 3 เดือน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระบรมราชินีจึงเสด็จนิวัติประเทศไทย[24]

สมเด็จพระบรมราชินีนาถ

 
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงให้สัตย์ปฏิญาณในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อรัฐสภา ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2499

เมื่อ พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชประสงค์จะเสด็จฯ ออกผนวชเป็นพระภิกษุระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม ถึง 5 พฤศจิกายน เป็นระยะเวลา 15 วัน จึงต้องมีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ดังนั้นพระองค์ทรงพระราชดำริว่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีเป็นผู้ทรงพระปรีชาสามารถในอันที่จะรับพระราชภารกิจในคราวนี้ได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระหว่างที่ผนวช[1]

ต่อมา ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคมปีเดียวกันนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการประกาศว่า ตามราชประเพณี เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ได้ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เคยมีประกาศให้ออกพระนามว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีได้ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระหว่างที่ผนวช และได้ปฏิบัติพระราชภารกิจแทนพระองค์ด้วยพระปรีชาสามารถ สนองพระราชประสงค์เป็นที่เรียบร้อย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระอภิไธยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีว่า "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ"[2] นับว่าทรงเป็นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถพระองค์ที่ 2 ในประเทศไทย โดยพระองค์แรก คือสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ (ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)

 
พระองค์และพระราชสวามีขณะเสด็จเยือนประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2503

พระประชวร

เช้าตรู่วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเวียนพระเศียรและเซขณะทรงออกพระกำลัง ณ โรงพยาบาลศิริราชที่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชประทับอยู่ คณะแพทย์ตรวจพระองค์โดยวิธีสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็กแล้วแถลงว่า ทรงประสบภาวะพระสมองขาดเลือด (ischemic stroke)[25]

พระองค์จึงประทับรักษาพระวรกายอยู่ ณ โรงพยาบาลศิริราชและทรงงดเว้นพระราชกิจนับแต่นั้น รวมถึงการเสด็จออกมหาสมาคมในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 85 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่พระที่นั่งอนันตสมาคมเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555[26]

ต่อมาวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเผยถึงพระอาการว่า ทรงได้รับการรักษาและบำบัดจนทรงหายดีขึ้นเป็นที่น่าพอใจของแพทย์ ทรงพระดำเนินได้คล่องแคล่วและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่แพทย์ยังให้พระองค์เว้นพระราชกิจไปก่อน[27]

ครั้นวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ได้แปรพระราชฐานไปยังพระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล พร้อมพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556 สำนักพระราชวังแถลงว่า ทรงปวดพระอังสากับข้อพระกรซ้าย คณะแพทย์ตรวจแล้วพบว่าพระนหารูอักเสบ จึงถวายพระโอสถและกายภาพบำบัด[28]

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถปรากฏพระองค์ ขณะเสด็จฯ ตามพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชออกจากโรงพยาบาลศิริราช ณ วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 โดยทรงโบกพระหัตถ์ให้แก่ประชาชนที่มาเฝ้ารับเสด็จฯ[29][30] ก่อนเสด็จกลับพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน หม่อมหลวงปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี ผู้ถวายงาน กล่าวว่าพระองค์ทรงมีพลานามัยแข็งแรงดี[31]

พระราชกรณียกิจสังเขป

 
สมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งเสด็จไปเยี่ยมชมฐานทัพทหารราบที่ 27 ของสหรัฐ ใกล้นครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2505

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภารกิจในการส่งเสริมคุณภาพชีวิต อาชีพ และความเป็นอยู่ของบุคคลผู้ยากไร้ และประชาชนในชนบทห่างไกล ได้โดยเสด็จพระราชดำเนิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทั่วทุกหนแห่งในแผ่นดินไทยนี้

โครงการที่มีสาขาขยายกว้างขวางไปทั่วประเทศโครงการหนึ่งก็คือ โครงการส่งเสริมศิลปาชีพ ซึ่งในภายหลังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ก่อตั้ง เป็นรูปมูลนิธิ พระราชทานนามว่า "มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษในพระบรมราชินูปถัมภ์" เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 และเมื่อ พ.ศ. 2528 ได้เปลี่ยนชื่อ เป็น มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ อันเป็นการส่งเสริมอาชีพและขณะเดียวกันยังอนุรักษ์และส่งเสริมงานศิลปะพื้นบ้านที่มีความงดงามหลายสาขา เช่น การปั้น การทอ การจักสาน เป็นต้น

นอกจากนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ยังทรงเอาพระทัยใส่ในกิจการด้านสาธารณสุข โดยได้ทรงดำรงตำแหน่งสภานายิกาสภากาชาดไทย และหากเสด็จฯ เยือนต่างประเทศ ก็มักจะทรงถือโอกาสเสด็จฯทอดพระเนตรกิจการกาชาดของประเทศนั้น ๆ เพื่อทรงนำมาปรับปรุงกิจการสภากาชาดไทยอยู่เสมอ

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ยังทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนทั้งในและต่างประเทศ มีผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในการอนุรักษ์ คุ้มครอง และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ อันเป็นฐานการดำรงชีวิตของพสกนิกร คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ถวายพระราชสมัญญา "พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ" แด่พระนามสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เพื่อเป็นการแสดงกตเวทิคุณของรัฐบาล และปวงชนชาวไทย ในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ [32]

ในกิจทางด้านการทหารนั้น ทรงดำรงตำแหน่งพันเอกผู้บังคับการพิเศษ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ทรงให้ความสนพระทัยต่อการดำเนินงานของกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ตลอดมา โดยผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 จะเข้ามาถวายรายงานถึงผลการปฏิบัติงานพร้อมกับรับพระราชเสาวนีย์ตลอดจนคำแนะนำไปดำเนินการปฏิบัติอยู่เป็นประจำ[33]

นอกจากปวงชนชาวไทยแล้ว บรรดาเพื่อนบ้านที่ต้องลี้ภัยอพยพมายังแผ่นดินไทย ก็ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระองค์ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สภากาชาดไทยไปให้ความร่วมมือกับกาชาดสากลในการช่วยเหลือผู้อพยพ และพระราชทานครูเข้าไปสอนวิชาชีพให้แก่ผู้อพยพ กิจการดังกล่าวได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานจนองค์กรระหว่างประเทศต่างพากันยกย่องและทูลเกล้าถวายรางวัลและปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์เป็นจำนวนมาก ดังเช่น

ด้านการเกษตรและชลประทาน

 
เขื่อนสิริกิติ์

ในด้านการเกษตร จะทรงเน้นในเรื่องของการค้นคว้า ทดลอง และวิจัยหาพันธุ์พืชใหม่ ๆ ทั้งพืชเศรษฐกิจ พืชสมุนไพร รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืช และพันธุ์สัตว์ต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งแต่ละโครงการจะเน้นให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง มีราคาถูก ใช้เทคโนโลยีง่าย ไม่สลับซับซ้อน เกษตรกรสามารถดำเนินการเองได้ นอกจากนี้ ยังทรงพยายามไม่ให้เกษตรกรยึดติดกับพืชผลทางการเกษตรเพียงอย่างเดียว เพราะอาจเกิดปัญหาอันเนื่องมาจากความแปรปรวนของสภาพดินฟ้าอากาศ หรือความแปรปรวนทางการตลาด แต่เกษตรกรควรจะมีรายได้จากด้านอื่นนอกเหนือไปจากการเกษตรเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อจะได้พึ่งตนเองได้ในระดับหนึ่ง

การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกหรือการชลประทาน นับว่าเป็นงานที่มีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เพราะเกษตรกรจะสามารถทำการเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์ตลอดปี เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นอกเขตชลประทาน ซึ่งต้องอาศัยเพียงน้ำฝนและน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้พืชได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอ และไม่เพียงพอ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำมากกว่าโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริประเภทอื่น

พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร

 
พระพุทธรูปประจำพระชนมวารสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สร้างเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 12 สิงหาคม พุทธศักราช 2535 องค์พระทำจากเงินแท้ 96% ที่ฐานมีข้อความ ว่า "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเททองหล่อ วันที่ 25 มิถุนายน พุทธศักราช 2535 ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ" ความสูงจากฐานแปดเหลี่ยม สูง 1 นิ้ว แล้วจากฐานบัวคว่ำ บัวหงาย อีก 1 นิ้ว และ จากพระบาท ถึง พระเกตุมาลาสูง 9 นิ้ว

พระเกียรติยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ
Queen''s Standard of Thailand.svg
ธงประจำพระอิสริยยศ
Royal Monogram of Queen Sirikit.svg
ตราประจำพระองค์
Royal Flag of Queen Sirikit.svg
ธงประจำพระองค์
การทูล ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
การแทนตน ข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับ พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ
ลำดับโปเจียม 2

พระอิสริยยศ

  • หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร (12 สิงหาคม พ.ศ. 2475 – 28 เมษายน พ.ศ. 2493)
  • สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ (28 เมษายน พ.ศ. 2493 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493)
  • สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 – 5 ธันวาคม พ.ศ. 2499)
  • สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (5 ธันวาคม พ.ศ. 2499 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
  • สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน)

เครื่องราชอิสริยยศราชูปโภค

ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พุทธศักราช 2493 นั้น พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยยศราชูปโภคสำหรับตำแหน่งสมเด็จพระอัครมเหสีให้แก่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี (พระราชอิสริยยศในขณะนั้น) โดยเครื่องราชอิสริยยศราชูปโภคเหล่านี้ประกอบด้วย

  • พานพระศรี (พานใส่หมากพลู) ทองคำลงยา
  • กาน้ำทองคำลงยา
  • ขันน้ำพระสุธารสเย็น พร้อมจอกลอยทองคำลงยา
  • หีบพระศรีทองคำลงยา พร้อมพานรอง
  • พระสุพรรณศรี (กระโถนเล็ก)ทองคำลงยา
  • ขันสรงพระพักตร์ทองคำลงยา พร้อมคลุมปัก
  • พระฉาย (กระจกส่องหน้า) ทองคำลงยา
  • พานเครื่องพระสำอาง พร้อมพระสางวงเดือน พระสางเสนียด และพระกรัณฑ์ทองคำลงยา สำหรับบรรจุเครื่องพระสำอาง
  • ราวพระภูษาซับพระพักตร์ทองคำลงยารูปพญานาค พร้อมผ้าซับพระพักตร์จีบริ้วพาดที่ราว 2 ผืน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

พ.ศ. 2493 เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ฝ่ายใน (ม.จ.ก., ดาราประดับเพชร)[34] Order of the Royal House of Chakri (Thailand) ribbon.JPG
พ.ศ. 2493 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.)[35] Order of the Nine Gems.JPG
พ.ศ. 2493 เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าฝ่ายใน (ป.จ.)[36] Order of Chula Chom Klao - 1st Class (Thailand) ribbon.png
พ.ศ. 2507 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[37] Order of the White Elephant - Special Class (Thailand) ribbon.png
พ.ศ. 2507 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[37] Order of the Crown of Thailand - Special Class (Thailand) ribbon.png
พ.ศ. 2538 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[38] Order of the Direkgunabhorn 1st class (Thailand) ribbon.png
พ.ศ. 2532 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ [39] Order of Ramkeerati (Thailand) ribbon.png
พ.ศ. 2513 เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.1) Freeman Safeguarding Medal - Class 1 (Thailand).png
พ.ศ. 2535 เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา [40] Dushdi Mala - Civilian (Thailand).png
  เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.) Border Service Medal (Thailand) ribbon.png
พ.ศ. 2495 เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร. 1) [41] King Rama IX Royal Cypher Medal (Thailand) ribbon.png
พ.ศ. 2503 เหรียญราชรุจิ ทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท. 9)[42] King Rama IX Rajaruchi Medal (Thailand) ribbon.png
  เหรียญกาชาดสดุดี Red Cross Medal of Merit (Thailand) ribbon.png

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

Flag of Germany.svg สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี พ.ศ. 2503 เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี GER Bundesverdienstkreuz 9 Sond des Grosskreuzes.svg
Flag of Portugal.svg สาธารณรัฐโปรตุเกส พ.ศ. 2503 เครื่องอิสริยาภรณ์เซนต์เจมส์แห่งพระขรรค์ ชั้น ประถมาภรณ์ PRT Order of Saint James of the Sword - Grand Cross BAR.png
Flag of Denmark.svg ราชอาณาจักรเดนมาร์ก พ.ศ. 2503 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้าง ชั้น อัศวิน Orderelefant ribbon.png
Flag of Norway.svg ราชอาณาจักรนอร์เวย์ พ.ศ. 2503 เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซนต์โอลาฟ ชั้น ประถมาภรณ์ Order Sint Olaf 1 kl.png
Flag of Sweden.svg ราชอาณาจักรสวีเดน พ.ศ. 2503 เครื่องราชอิสริยาภรณ์เสราฟิม ชั้น อัศวิน Order of the Seraphim - Ribbon bar.svg
Flag of Italy.svg สาธารณรัฐอิตาลี พ.ศ. 2503 เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ชั้น อัศวินชั้นประถมาภรณ์พร้อมสายสะพาย ITA OMRI 2001 GC-GCord BAR.svg
Flag of Belgium.svg ราชอาณาจักรเบลเยียม พ.ศ. 2503 เครื่องราชอิสริยาภรณ์เลโอโปลด์ ชั้น ''มหาสายสะพาย Grand Crest Ordre de Leopold.png
Flag of Luxembourg.svg ราชรัฐลักเซมเบิร์ก พ.ศ. 2506 เครื่องราชอิสริยาภรณ์สิงโตทองคำแห่งราชวงศ์นัสเซา ชั้น อัศวิน Ord.Lion.Nassau.jpg
Flag of the Netherlands.svg ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ พ.ศ. 2506 เครื่องราชอิสริยาภรณ์สิงโตแห่งเนเธอร์แลนด์ ชั้น อัศวิน NLD Order of the Dutch Lion - Grand Cross BAR.png
Flag of Spain.svg ราชอาณาจักรสเปน พ.ศ. 2503 เครื่องราชอิสริยาภรณ์พระราชินีนาถอีซาเบล ชั้น อัศวินมหากางเขน ESP Isabella Catholic Order GC.svg
Flag of Indonesia.svg สาธารณรัฐอินโดนีเซีย พ.ศ. 2504 เครื่องอิสริยาภรณ์ดารามหาปุตรา ชั้น ดารา Bintang Mahaputera Adipradana Ribbon.png
Flag of Malaysia.svg ประเทศมาเลเซีย พ.ศ. 2506 เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎแห่งราชอาณาจักร MY Darjah Utama Seri Mahkota Negara (Crown of the Realm) - DMN.svg
Flag of Japan.svg ประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2506 เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนมงกุฎ ชั้น มหาสายสะพาย JPN Hokan-sho 1Class BAR.svg
Flag of the Republic of China.svg สาธารณรัฐจีน พ.ศ. 2506 เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งดาราอันสุกสกาว ชั้นสูงสุด TWN Order of Brilliant Star 1Class BAR.svg
Flag of the Philippines.svg สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ พ.ศ. 2506 เครื่องรัฐอิสริยาภรณ์ซิกาตูนา ชั้น มหาแพร PHL Order of Sikatuna - Grand Cross BAR.png
State Flag of Greece (1863-1924 and 1935-1973).svg อาณาจักรเฮลเลนิก พ.ศ. 2506 เครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งความกรุณา ชั้น เดม มหากางเขน GRE Order of Beneficence - Grand Cross BAR.png
Flag of Laos (1952-1975).svg ราชอาณาจักรลาว พ.ศ. 2506 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ล้านช้างร่มขาว ชั้น ประถมาภรณ์ LAO Order of the a Million Elephants and the White Parasol - Grand Cross BAR.png
Flag of Austria.svg สาธารณรัฐออสเตรีย พ.ศ. 2507 เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ชั้น มหาดารา AUT Honour for Services to the Republic of Austria - 1st Class BAR.png
State Flag of Iran (1964-1980).svg จักรวรรดิอิหร่าน พ.ศ. 2508 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวลูกไก่ ชั้นสูงสุด Order of the Pleiades (Iran).gif
Flag of Ethiopia (1897-1936; 1941-1974).svg จักรวรรดิเอธิโอเปีย พ.ศ. 2508 เครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งพระราชินีแห่งชีบา ชั้น แพร Order of The Queen of Sheba (Ethiopia) ribbon.gif
Flag of Nepal.svg ราชอาณาจักรเนปาล พ.ศ. 2529 en: Nepal Pratap Bhaskara Nepal Pratap Bhaskara.svg
Flag of Spain.svg ราชอาณาจักรสเปน พ.ศ. 2530 Royal and Distinguished Spanish Order of Charles III ชั้น Grand Cross ESP Charles III Order GC.svg
Flag of Brunei.svg เนการาบรูไนดารุสซาลาม พ.ศ. 2531 Family Order of Brunei BRU Family Order of Brunei 1st Class.svg
Flag of Laos.svg สปป.ลาว พ.ศ. 2535 อิสริยาภรณ์โพธิ์ชัยล้านช้าง ชั้นสูงสุด Order of Phoxay Lane Xang.png
Flag of Romania.svg ประเทศโรมาเนีย พ.ศ. 2542 Order of the Star of Romania ชั้น Grand Cross Star of Romania Ribbon.PNG
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ของรัฐสุลต่านแห่งมาเลเซีย
Flag of Selangor.svg รัฐเซอลาโงร์ พ.ศ. 2542 The Most Most Esteemed Royal Family Order of Selangor ชั้น First Class MY-SEL Royal Family Order of Selangor - DK I.svg
 รัฐตรังกานู พ.ศ. 2552 The Most Distinguished Family Order of Terengganu ชั้นสูงสุด MY-TER Family Order of Terengganu 1st class - DK I.svg

พระยศทหาร

จอมพลหญิง จอมพลเรือหญิง จอมพลอากาศหญิง 
นายกองใหญ่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
รับใช้ กองทัพบกไทยกองทัพเรือไทยกองทัพอากาศไทย และกองอาสารักษาดินแดน
ปีปฏิบัติหน้าที่
ชั้นยศ
  • RTA OF-10 (Field Marshal).svg จอมพลหญิง
  • RTN OF-10 (Admiral of the Fleet).svg จอมพลเรือหญิง
  • RTAF OF-10 (Marshal of the Royal Thai Air Force).svg จอมพลอากาศหญิง
  • นายกองใหญ่.jpg นายกองใหญ่[43]

พระราชสมัญญานาม

  • พ.ศ. 2553 : พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ[46]
  • พ.ศ. 2555 : พระมารดาแห่งไหมไทย และ อัคราภิรักษศิลปิน[47][48]

พระราชนิพนธ์

  • พ.ศ. 2505: ความทรงจำในการตามเสด็จต่างประเทศทางราชการ

เพลงพระราชนิพนธ์

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลงไว้ เพื่อบรรเลงกับ วงดนตรีเดอะแฮนด์ซั่ม และวงดนตรีในพระองค์ ดังนี้[49]

สถานที่ พรรณพืช และพันธุ์สัตว์ อันเนื่องด้วยพระนามาภิไธย

สถานที่หลายแห่ง พรรณพืช และพันธุ์สัตว์หลายชนิดได้ตั้งชื่อตามพระนาม หรือสื่อถึงพระนามสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ

สถานที่

ศาสนสถาน
การแพทย์ และการสาธารณสุข
สถาบันการศึกษา
สวนสาธารณะ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติ
อื่น ๆ

พรรณพืช

พันธุ์สัตว์

พระทายาท

พระนาม ประสูติ เสกสมรส
ช่วงปี | คู่สมรส
พระบุตร พระนัดดา
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี 5 เมษายน พ.ศ. 2494 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2515
หย่า พ.ศ. 2541
ปีเตอร์ แลดด์ เจนเซน คุณพลอยไพลิน เจนเซน แม็กซิมัส วีลเลอร์
ลีโอนาร์โด วีลเลอร์
คุณพุ่ม เจนเซน  
คุณสิริกิติยา เจนเซน  
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 3 มกราคม พ.ศ. 2520
หย่า 12 สิงหาคม พ.ศ. 2534
หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา  
พ.ศ. 2537
หย่า พ.ศ. 2539
ยุวธิดา ผลประเสริฐ หม่อมเจ้าจุฑาวัชร มหิดล  
หม่อมเจ้าวัชรเรศร มหิดล  
หม่อมเจ้าจักรีวัชร มหิดล  
หม่อมเจ้าวัชรวีร์ มหิดล  
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์  
10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
หย่า 11 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ศรีรัศมิ์ สุวะดี พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ  
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2 เมษายน พ.ศ. 2498 มิได้เสกสมรส
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 พ.ศ. 2525
หย่า พ.ศ. 2539
นาวาอากาศเอกวีระยุทธ ดิษยะศริน พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์  
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ  

รถยนต์พระที่นั่ง

  1. โรลส์-รอยซ์ แฟนทอม VI เลขทะเบียน ร.ย.ล.901
  2. โรลส์-รอยซ์ แฟนทอม VI เลขทะเบียน ร.ย.ล.902
  3. เมอร์ซิเดส-เบนซ์ 1000SEL V12 W140 เลขทะเบียน 1ด-0543
  4. คาดิลแลค ดีทีเอส ลิมูซีน นั่งสามตอน เลขทะเบียน ร.ย.ล.942 โดยรถยนต์พระที่นั่งคันนี้เป็นรถยนต์พระที่นั่งที่อัญเชิญพระสรีรางคารสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพ
  5. คาดิลแลค ดีทีเอส ลิมูซีน นั่งสามตอน เลขทะเบียน 1ด-9902
  6. คาดิลแลค ดีทีเอส LWB เลขทะเบียน 1ด-9942

พงศาวลี

 

  •  


เข้าชม : 711


ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

      วันจักรี 4 / เม.ย. / 2567
      วันมาฆบูชา 5 / ก.พ. / 2567
      วันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2567 9 / ม.ค. / 2567
      วันรัฐธรรมนูญ 6 / ธ.ค. / 2566
      วันลอยกระทง 2566 2 / พ.ย. / 2566