[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 





 

 

  

บทความทั่วไป
โฮมสคูลทางเลือกใหม่ในสังคมไทย

พุธ ที่ 25 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2557

คะแนน vote : 124  

 

โฮมสคูลทางเลือกใหม่ในสังคมไทย

WRITTEN BY JIRAPORN ON . POSTED IN การเรียนการสอนครูอาจารย์คลิปทั่วไปนวัตกรรมการศึกษาเทคนิควิธีการสอน

533_3

       นับตั้งแต่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ   พ.ศ.   2542   ประกาศใช้   การจัดการศึกษาโดยครอบครัวเป็นสิทธิโดยถูกต้องตามมาตรา   12   ที่ให้ครอบครัวจัดการศึกษา   ขั้นพื้นฐานได้   เป็นทางเลือกของครอบครัว   ที่ประสงค์จะจัดการศึกษาให้กับบุตรเอง   หากไม่ประสงค์จะส่งลูกเข้าโรงเรียน   โดยสภาพความเป็นจริงการจัดการโดยครอบครัว   ได้มีการดำเนินงานมาบ้างแล้วก่อนประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฯ   

      หลังจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฯ   ประกาศใช้   การดำเนินงานในเรื่องนี้ได้มีการศึกษาองค์ความรู้จากต่างประเทศ   เพื่อนำไปสู่การดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมสอดคล้องกับประเทศไทย   พร้อมทั้งได้มีครอบครัวที่ตัดสินใจดำเนินการจัดการศึกษาให้ลูก   ตามสิทธิที่ครอบครัวได้รับโดยถูกต้องตามกฎหมาย   ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฯ   มาตรา   12   สิทธิการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวนี้   จะต้องเป็นไปตามกฎกระทรวง   กฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน   โดยครอบครัวอยู่ระหว่างดำเนินการ   โดยกระทรวงศึกษาธิการ
         Home School หรือ การศึกษาโดยครอบครัว คือ การจัดการศึกษาที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองได้จัดขึ้นเพื่อลูก ๆ ของเขาเอง โดยมีสิทธิคุ้มครองตามกฎหมาย ซึ่งมีรูปแบบการจัดการศึกษาแบบใดแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบ ของการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย อย่างมีการเทียบโอนผลการศึกษาได้ 
           โฮมสคูลการศึกษาระบบใหม่ เด็กเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง ไม่จำกัดวุฒิการศึกษาพ่อแม่เพียงแค่มีประสบการณ์ชีวิตเป็นพอ พ่อแม่วางใจได้ โฮมสคูลไม่ใช่สิ่งผิดกฎหมาย และมีเด็กที่เรียนในระบบนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก เพื่อให้รู้จักการจัดการศึกษาแบบ Home school และเข้าใจแนวการจัดการศึกษาแบบนี้


ตัวอย่าง เด็กที่ประสบความสำเร็จจากการจัดการศึกษาแบบ Homeschool

 

แนวการเรียนการสอนแบบโฮมสคูล (Homeschool)
แนวการเรียนการสอนแบบโฮมสคูล คือ การศึกษาทางเลือก มีการเรียนรู้จากที่บ้าน โดยเน้นที่วิถีชีวิต เรื่องราวและบรรยากาศที่เกิดขึ้นจริง และตามความสนใจของตัวเด็กเป็นสำคัญ โดยมีพ่อแม่ผู้ปกครองคอยช่วยเหลือ ชี้แนะ ซึ่งวิธีของโฮมสคูลจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้เอง รักการเรียนรู้ และรู้วิธีสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ


การจัดการเรียนการสอนแบบโฮมสคูล (Homeschool)
การจัดการศึกษาแบบโฮมสคูล (Home School) เป็นการศึกษาอีกทางเลือกหนึ่งที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้เปิดโอกาสให้ครอบครัวที่ต้องการจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลานตามแนวคิดของตนเอง และยังให้สิทธิ์ที่จะได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐ สำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอีกด้วย

            โฮมสคูลจะต้องเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่ได้ถูกวางแผนขึ้นอย่างตั้งใจสำหรับเด็กที่เป็นสมาชิกในครอบครัว โดยกิจกรรมส่วนใหญ่เกิดขึ้นในบ้าน และสภาพการณ์แบบครอบครัว แล้วทำให้บ้านกลายเป็นบ้านแห่งการเรียนรู้ มีพ่อแม่ ผู้ปกครองทำหน้าที่เสมือนครู หรือผู้กำกับดูแลกิจกรรมที่จัดขึ้นที่บ้าน และแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้มาสู่ลูกการจัดการศึกษาในลักษณะนี้ จะเอื้อเฟื้อต่อพ่อแม่ที่สนใจและต้องการจัดการศึกษาให้กับลูกด้วยตนเอง

กิจกรรมแบบโฮมสคูล (Homeschool)
เพราะการเรียนแบบโฮมสคูลเริ่มจากความสนใจของเด็ก ถ้าเด็กสนใจเลี้ยงสัตว์ ก็อาจเริ่มจากหาสัตว์เลี้ยง เช่น ไก่แจ้ นก ปลา สัตว์น้ำต่างๆมาเลี้ยง ให้เขาเป็นคนให้อาหาร ได้รับผิดชอบ และขยายความรู้เพิ่มเติมด้วยการพาไปดูการซื้อขายปลา พาไปลงบ่อจับปลา ได้พูดคุยกับชาวบ้านผู้มีประสบการณ์ หรือถ้าเด็กเริ่มมีความสนใจอะไร พ่อแม่ต้องเป็นผู้กระตุ้นให้ทดลองทำ ทดลองศึกษาด้วยตนเอง หรือคอยหาข้อมูลให้ เพื่อให้เกิดการต่อยอดไปสู่ความรู้เรื่องใหม่ๆ ต่อไปอยู่เรื่อยๆ


พ่อแม่แบบโฮมสคูล (Homeschool)
ในการริเริ่มที่จะจัดการศึกษาแบบโฮมสคูลสำหรับลูกนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเตรียมตัวและมีความพร้อมดังต่อไปนี้
1.พ่อแม่ต้องมีความตั้งใจ ชัดเจนหนักแน่นและเห็นพ้องต้องกันอย่างแท้จริง จำเป็นต้องศึกษาทำความเข้าใจถึงการศึกษาทางเลือกนี้ให้ดีก่อน
2.ต้องสำรวจความพร้อมของตนเองด้วยว่ามีจิตใจมุ่งมั่นที่จะทำหน้าที่ครูของลูก ให้เวลากับการเรียนรู้ของลูกอย่างเต็มที่ มีความพร้อมที่จะเรียนรู้ร่วมไปกับลูก ใฝ่รู้และตั้งใจที่จะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับวิธีการสอนตลอดเวลา
3.ต้องเป็นนักจัดการที่ดี ทั้งการวางแผนการเรียนรู้ของลูก การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมของบ้านให้เอื้อต่อการเรียนรู้ การจัดโอกาสให้ลูกได้มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กด้วยกันเพื่อมีทักษะทางสังคม การค้นคว้าหาแหล่งเรียนรู้ทั้งสถานที่และตัวบุคคล การติดต่อประสานงานกับกลุ่มโฮมสคูล กลุ่มสนับสนุน โรงเรียนที่ลูกจะขึ้นทะเบียนเพื่อการเทียบโอนกับระบบโรงเรียน
4.ต้องรักษาวินัยทั้งกับตนเองและลูก จริงจังในการเรียน มิฉะนั้นการเรียนรู้ก็อาจจะล้มเหลวได้
5.เข้าใจพัฒนาการตามวัยของลูก เพื่อจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องตามช่วงวัย เช่น ในวัยแรกเกิดถึงวัยอนุบาลเป็น ช่วงเวลาของการสร้างเสริมพัฒนาการทุก ๆ ด้าน เพื่อเป็นรากฐานที่ถูกต้องมั่นคงของชีวิต ในระดับประถมศึกษาเป็นเวลาแห่งการเรียนรู้พื้นฐาน ทุกวิชาและพัฒนาจริยธรรม พอถึงช่วงมัธยมศึกษาก็เป็นช่วงเวลาแห่งการสำรวจ ค้นหาความสนใจ และความถนัด เป็นต้น
6.พร้อมจะให้เวลาคุณภาพกับลูก ในการอบรมบ่มนิสัยลูก สอดแทรกผ่านกิจกรรมการเรียนรู้หรือการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น งานบ้านอย่างการล้างจาน ก็ช่วยฝึกเด็กให้รู้จักหน้าที่ รู้รับผิดชอบต่อตัวเอง ต่อส่วนรวมคือคนในบ้านนั่นเอง เด็กจำเป็นต้องได้พัฒนาตัวเองในทุกแง่มุมไม่ใช่แค่เรื่องวิชาการ แต่รวมถึงเรื่องของทักษะชีวิต จริยธรรม ต้องฝึกลูกให้มีความมั่นคงทางความคิด ทางอารมณ์ และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า พร้อมปรับตัวเข้าสังคมได้ เป็นเรื่องใหญ่ที่จะต้องใช้ไปตลอดชีวิต

ขั้นตอนการเรียนการสอนแบบโฮมสคูล(Homeschool)
ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการในลงนามในกฏกระทรวง ว่าด้วยสิทธิการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว พ.ศ 2547 แล้ว โดยจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้

1. เตรียมความพร้อมโดยศึกษาข้อมูลความรู้ในระดับพัฒนาการของลูก และค้นหาความสนใจพิเศษ
2. ยื่นขอข้อมูลและระเบียบการได้จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามที่คุณอาศัยอยู่ เพื่อทำหลักสูตรหรือแผนการสอนของลูก
3.หลักฐานวุฒิการศึกษาของผู้ปกครองต้องไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
4. หากเด็กมีความบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น อ่อนคณิตศาสตร์ ทางเขตจะให้ระยะเวลาซ่อมเสริม เพื่อประเมินใหม่อีกครั้ง
5. ให้ครอบครัวประเมินความรู้ของเด็กตามหลักเกณฑ์ในหลักสูตรขั้นพื้นฐาน โดยทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจะตรวจสอบปีละ 1 ครั้ง ว่ามีพัฒนาการตรงตามที่ครอบครัวประเมินไว้หรือไม่ และกำหนดความสามารถของเด็กว่าเทียบได้ในระดับชั้นใด
6. หากครอบครัวใดมีความพร้อมลดลง ไม่สามารถทำโฮมสคูลให้ลูกได้ เด็กสามารถเข้าเรียนในโรงเรียนได้ตามปกติ ตามระดับชั้นที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้เทียบไว้

ขั้นตอนการทำ home school ในประเทศไทย 
ครอบครัวมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญ พรบ.การศึกษา และกฎกระทรวงฯ ให้สามารถจัดการศึกษาได้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ อนุบาล ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 เท่านั้น! (*ระดับอุดมศึกษา/มหาวิทยาลัย ยังไม่อนุญาตินะคะ)

รายละเอียด มีดังนี้

ระดับปฐมวัย (อนุบาล) ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเขตพื้นที่การศึกษาว่าจะอนุญาตให้ครอบครัวจดทะเบียนเพื่อจัดการศึกษาบ้านเรียนหรือไม่ (ข้อมูล ณ ขณะนี้ 20 ต.ค. 55 บางเขตพื้นที่การศึกษาก็ไม่อนุญาตโดยอ้างว่าไม่จำเป็นต้องจด ให้พ่อแม่สอนลูกไปเองก่อน ค่อยมายื่นขอจดทะเบียนตอนระดับประถมศึกษา)
ระดับประถมศึกษา ครอบครัวสามารถยื่นขออนุญาตจดทะเบียน และจัดการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาตามภูมิลำเนา
ระดับมัธยมศึกษา **ไม่ได้ขึ้นกับเขตพื้นที่การประถมศึกษานะคะ** ซึ่งครอบครัวจะต้องยื่นขออนุญาตจดทะเบียนจัดการศึกษากับหน่วยงาน ดังนี้…
- สำนักงานเขตพื้นที่การมัธยมศึกษา
- ลงทะเบียนเป็นนักเรียนกับ กศน. (การศึกษานอกระบบ)
- ลงทะเบียนเป็นนักเรียนกับ การจัดการศึกษาทางไกล
*ซึ่งครอบครัวจะได้รับสิทธิในการลดหย่อนภาษี/เงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา เหมือนโรงเรียนในระบบเช่นกัน

     ปัจจุบันได้มีการตั้งศูนย์ประสานงานครอบครัวบ้านเรียนขึ้น ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ เพื่อสร้างมาตรฐานการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในสังคมไทยไห้มีความชัดเจนมากขึ้น   ซึ่งโฮมสคูลถือเป็นทางเลือกหนึ่ง และมันไม่ใช่สิ่งที่ผิดแตกต่างอะไรกับการเรียนในโรงเรียน เราเคยมีแล้วแต่ถูกลืมไป เพราะใช้ระบบโรงเรียนมากว่าหนึ่งร้อยปี หลังจากนั้นพอเห็นความล้มเหลว หรือความยุ่งยาก จากปัญหาบางอย่างที่มันก่อตัวจากระบบโรงเรียน ทำให้ระบบนี้ฟื้นคืนขึ้นมาอีก

ที่มา: http://homeschool2u.wordpress.com



เข้าชม : 3163


บทความทั่วไป 5 อันดับล่าสุด

      บทความการอ่าน 4 / พ.ค. / 2559
      บทความดีๆมีมาฝากค่ะ 29 / ก.พ. / 2559
      ความสำคัญของการอ่าน 15 / ธ.ค. / 2558
      การอ่าน…กับวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน 20 / พ.ค. / 2558
      บทความน่าอ่าน 12 / พ.ค. / 2558




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้ [กด F5 ถ้ารหัสไม่ชัดเจน]
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ mocyc@hotmail.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอห้วยยอด
ที่ตั้ง 2 ถนนมหามิตร ตำบลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92130
โทรศัพท์ 0-7527-1498 แฟกซ์ 0-7527-1718 ปรับปรุงเว็บไซต์โดย น.ส.จันทร์เลขา  ทองสิงห์

Janlaekha6436@gmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05