[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 





 

 

  

ความรู้เกี่ยวกับ IT
คุณของความเครียด

พุธ ที่ 3 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2555

คะแนน vote : 118  

คุณของความเครียด
โดย พระไพศาล วิสาโล



ทมยันตีเคยเล่าว่า นวนิยายเบาสมองของเธอที่ใช้นามปากกาว่า “โรสลาเรน” นั้น ล้วนเขียนในยามที่กำลังเครียดทั้งนั้น มุขตลกของชาร์ลี แชปลิน ซึ่งนำความครื้นเครงมาสู่ชาวโลกนั้น ส่วนใหญ่ก็ขุดมาจากเบื้องหลังชีวิตอันทุกข์ระทม ดาวตลกเป็นจำนวนไม่น้อยก็มีชีวิตไม่ต่างจากเขา เพราะฉะนั้นความเครียดจึงมิใช่สิ่งกดดันบั่นทอนชีวิตแต่ถ่ายเดียว หากยังเป็นปัจจัยแห่งการสร้างสรรค์ด้วย

จริงอยู่ความเครียดทำให้ชีวิตเป็นทุกข์ แต่ขณะเดียวกันมันก็เป็นแรงผลักดัน ให้ชีวิตจิตใจดิ้นรนขวนขวายหาสิ่งอื่นที่ดีกว่า อันได้แก่ความโปร่งเบา สบาย ราบรื่นและสมดุล ในยามเครียด จิตจะว่องไวเป็นพิเศษ ในการฉกฉวยอะไรก็ได้เพื่อมาบรรเทาความเครียด หรือบางทีก็ “หลุด” ออกไปจากเรื่องจำเจได้ง่าย

ของบางอย่างในยามที่เราปกติ ก็เห็นเป็นเรื่องธรรมดา แต่เวลาเครียดแล้วจะเห็นเป็นเรื่องตลกหรือไร้สาระไปเลย (ภาษาสมัยใหม่เรียกว่า “เซอร์”) ถ้าเราไม่หมกมุ่นหรือวิตกกังวลกับความเครียดมากเกินไปนัก ลองมองออกไปนอกตัว เพียงแต่เปลี่ยนมุมมองนิดเดียวก็มีเรื่องให้หัวเราะได้มากมาย บางทีก็คิดเรื่องตลกออกมาได้อย่างน่าแปลกใจ


แต่ถ้าท่านเป็นคนชอบเรื่องจริงจัง ไม่นิยมมุขตลก ก็ลองมองประโยชน์ของความเครียดในอีกแง่หนึ่งก็ได้ นั่นคือการเป็นสัญญาณเตือนตน ว่ากำลังมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับเรา เวลาเจริญสติทำสมาธิภาวนาหากมีความเครียดเกิดขึ้น นั่นแสดงว่าเรากำลังทำผิดวิธี อาจจะเพ่งมากไปหรือกดห้ามความคิดเอาไว้ก็ได้ เมื่อรู้เช่นนี้เราก็ควรหย่อนลงมาอีกนิด ทำใจให้เป็นกลาง ๆ มากขึ้น ต่อเมื่อความเครียดหายไปนั่นก็หมายความว่าจิตของเราได้สมดุลแล้ว สามารถ “เดินหน้า” ต่อไปได้

มิใช่จำเพาะแต่การภาวนาเท่านั้น แม้ในชีวิตประจำวัน ความเครียดก็เป็นสัญญาณเตือนภัยที่ดีสำหรับเราทุกคน มันอาจกำลังบอกเราว่าเรานอนน้อยเกินไป เราทำงานมากเกินไป หรือไม่ก็เตือนว่าเรากำลังคิดมากเกินไปแล้ว ถ้าเราหัดฟังสัญญาณจากความเครียดบ้าง เราจะรู้ทันทีว่า ถึงเวลาแล้วที่เราต้องพักผ่อน หรือปล่อยวางความคิดลงเสียบ้าง

ความเครียดเตือนเราให้คืนสู่ดุลยภาพ ถ้าเรากินมากไป ความอึดอัดจะเตือนให้เราหยุด ถ้าไม่หยุด ผลร้ายจะเกิดขึ้นตามมา ในทำนองเดียวกัน ถ้าเราหาเรื่องมาใส่สมองจนแน่นไปหมด มิตรที่จะเตือนเราให้รู้จักเพลาเสียบ้างก็คือความเครียดนี้เอง

ความเครียดเป็นเสมือนเสียงตะโกนโหวกเหวก แม้จะรบกวนโสตประสาทไปบ้าง แต่ก็จำเป็นสำหรับคนขับรถที่กำลังหลับใน หรือเพลิดเพลินกับการพูดคุย จนไม่รู้ว่ากำลังวิ่งออกนอกเลน ถ้าเราสดับตรับฟัง “เสียง” ของความเครียดเสียบ้าง ชีวิตจิตใจก็จะน้อมสู่ทางสายกลางได้มากขึ้น

เป็นเพราะเราเห็นความเครียดเป็นศัตรู จึงมัวแต่วิตกกังวลกับมันเลยไม่ได้ทำสิ่งที่ควรทำ มิหนำซ้ำบางทีก็หาทางสยบมันด้วยยาสารพัดชนิด โดยยังใช้ชีวิตและปล่อยจิตใจให้เสียศูนย์ไปตามเดิม ผลก็คือโรคภัยไข้เจ็บต่างถามหา โดยเฉพาะโรคหัวใจ โรคกระเพาะ หรืออาจรวมถึงโรคมะเร็ง ไม่ต้องพูดถึงโรคประสาทซึ่งกลายเป็นปัญหาใหญ่ของคนสมัยนี้ไปแล้ว



......................................................

บทความธรรมะจาก
สมาคมคนน่ารัก
http://www.khonnaruk.com/


เข้าชม : 839


ความรู้เกี่ยวกับ IT 5 อันดับล่าสุด

      การอ่าน : การพัฒนาศักยภาพมนุษย์ 5 / ต.ค. / 2557
      office 365 คืออะไร 8 / เม.ย. / 2557
      ทานอะไรดีไม่แก่แนะอาหารชะลอความแก่!! 4 / มิ.ย. / 2556
      10 มารยาทบนสังคมออนไลน์ที่ควรทราบ 11 / ก.พ. / 2556
      บทความดีๆน่ารู้ 7 / ม.ค. / 2556




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้ [กด F5 ถ้ารหัสไม่ชัดเจน]
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ mocyc@hotmail.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอห้วยยอด
ที่ตั้ง 2 ถนนมหามิตร ตำบลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92130
โทรศัพท์ 0-7527-1498 แฟกซ์ 0-7527-1718 ปรับปรุงเว็บไซต์โดย น.ส.จันทร์เลขา  ทองสิงห์

Janlaekha6436@gmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05