[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 





 

 

  

บทความทั่วไป
บารมี 10 ในชีวิตประจำวัน

อาทิตย์ ที่ 23 เดือน กันยายน พ.ศ.2555

คะแนน vote : 119  

บารมี 10 ในชีวิตประจำวัน
โดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์



บารมี 10 เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการที่จะดับกิเลส เป็นสมุจเฉท เพราะการเจริญกุศลนั้นต้องเจริญทุกประการ เพื่อที่จะเป็นปัจจัยให้ปัญญาเกิดขึ้น ดับกิเลสได้หมดสิ้น เป็นสมุจเฉทเป็นลำดับขั้น จึงต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า กุศลใดเป็นบารมี และกุศลใดไม่ใช่บารมี บารมีเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการดับกิเลสเป็นสมุจเฉท จึงควรได้ศึกษาและเห็นความสำคัญของบารมีทั้ง 10 เพื่อที่จะได้อบรมได้ยิ่งขึ้น

บารมี 10 คือ ทานบารมี 1 ศีลบารมี 1 เนกขัมมบารมี 1 ปัญญาบารมี 1 วิริยบารมี 1 ขันติบารมี 1 สัจจบารมี 1 อธิษฐานบารมี 1 เมตตาบารมี 1 อุเบกขาบารมี 1

การกล่าวถึงบารมีทั้ง 10 ก็เพื่อให้พิจารณาสำรวจตัวเองว่า ยังยิ่งหย่อนบารมีใด จะได้อบรมบารมีนั้นให้ยิ่งขึ้น จนสามารถเป็นปัจจัยให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ เพราะเหตุว่า ถ้ามุ่งจะให้สติเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏตามปกติ ตามความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน โดยที่ไม่คำนึงถึงการอบรมเจริญบารมี ก็จะเห็นได้ว่า วันหนึ่งๆนั้นพ่ายแพ้ต่ออกุศลกรรม เพราะอกุศลกรรมมีปัจจัยเกิดขึ้นมากกว่ากุศลกรรม

บารมีทั้ง 10 นั้น ไม่ทราบว่าแต่ละท่านจะอบรมสะสมไปอีกนานเท่าไหร่ แต่ในชาติที่สามารถจะสะสมอบรมได้ ก็ควรจะสะสมอบรมแต่ละบารมีไปตามกำลังความสามารถ บารมีทั้ง 10 มีโลภะเป็นปฏิปักษ์ เพราะฉะนั้นต้องไม่ลืมเลยว่า การอบรมเจริญบารมีนั้น ไม่ใช่ด้วยความต้องการผลของกุศล แต่ต้องเป็นเพราะเห็นโทษของอกุศลแต่ละประเภท

ไม่ใช่ต้องการเจริญบารมีเพื่อผลคือ สังสารวัฏฏ์ แต่บำเพ็ญบารมีเพื่อขัดเกลากิเลสจนกว่าจะดับกิเลส จึงจะดับสังสารวัฏฏ์ได้ เพราะการดับสังสารวัฏฏ์จะเป็นไปด้วยการดับกิเลสทั้งหมด ตราบใดยังมีกิเลสอยู่ ก็ไม่สิ้นสังสารวัฏฏ์ ฉะนั้น การอบรมเจริญบารมีจึงไม่ใช่ด้วยความหวังผลของกุศลในสังสารวัฏฏ์

ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่เห็นโทษของความตระหนี่จึงให้ทาน ผู้ที่เห็นโทษของความเป็นผู้ทุศีลจึงรักษาศีล เห็นว่าการไม่สำรวมกายวาจาและการประพฤติทุจริตทางกายวาจา ย่อมนำโทษมาให้ แม้แต่เพียงคำพูดซึ่งไม่สำรวมระวัง ก็อาจจะไม่รู้เลยว่า นำโทษมาให้แล้วกับผู้พูดและกับบุคคลอื่นด้วย เพราะฉะนั้น ผู้ที่เห็นโทษของความเป็นผู้ทุศีลจึงรักษาศีล และสำรวมกายวาจายิ่งขึ้น

ผู้ที่เห็นโทษในกามและการครองเรือน ก็มีอัธยาศัยในเนกขัมมะ ผู้ที่เห็นโทษในความไม่รู้และความสงสัย จึงมีอัธยาศัยในการศึกษาให้รู้ให้เข้าใจธรรมตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นการอบรมเจริญปัญญา ผู้ที่เห็นโทษในความเกียจคร้านจึงมีความเพียร ผู้เห็นโทษในความไม่อดทนจึงมีความอดทน ผู้ที่เห็นโทษในการพูดและการกระทำที่ไม่จริงจึงมีอัธยาศัยในสัจจะ ผู้ที่เห็นโทษในการไม่ตั้งใจมั่นจึงมีอัธยาศัยในการตั้งใจมั่น ผู้ที่เห็นโทษในพยาบาทจึงมีอัธยาศัยในเมตตา ผู้ที่เห็นโทษในโลกธรรมจึงมีอัธยาศัยในการวางเฉย ทั้งหมดนี้เป็นบารมี 10 ซึ่งจะต้องค่อยๆ สะสมอบรมไป


ขอธรรมะคุ้มครองคุรุผู้ประเสริฐ คุรุผู้เมตตาธรรมทุกท่าน
ขอธรรมะคุ้มครองสรรพสัตว์ทุกชีวิตในโลกมายามนุษย์นี้ด้วยเถิดหนา สวัสดี


เข้าชม : 828


บทความทั่วไป 5 อันดับล่าสุด

      บทความการอ่าน 4 / พ.ค. / 2559
      บทความดีๆมีมาฝากค่ะ 29 / ก.พ. / 2559
      ความสำคัญของการอ่าน 15 / ธ.ค. / 2558
      การอ่าน…กับวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน 20 / พ.ค. / 2558
      บทความน่าอ่าน 12 / พ.ค. / 2558




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้ [กด F5 ถ้ารหัสไม่ชัดเจน]
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ mocyc@hotmail.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอห้วยยอด
ที่ตั้ง 2 ถนนมหามิตร ตำบลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92130
โทรศัพท์ 0-7527-1498 แฟกซ์ 0-7527-1718 ปรับปรุงเว็บไซต์โดย น.ส.จันทร์เลขา  ทองสิงห์

Janlaekha6436@gmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05