[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 





 

 

  

บทความสุขภาพ
โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

อังคาร ที่ 15 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2554

คะแนน vote : 132  

โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน เป็นโรคร้ายแรงที่คนทั่วไป มักไม่ให้ความสำคัญและป้องกันควบคุมอย่างจริงจัง เพราะอาจไม่ ทราบว่า ทั้งโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานต่างนำพาโรค แทรกซ้อนที่ส่งผลอันตรายถึงชีวิต เช่น

เส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบตัน
สาเหตุเบื้องต้นมาจากแรงดันในหลอดเลือดสูงขึ้น หรือผนังภาย ในหลอดเลือดที่เลี้ยงสมองหนาตัวขึ้น จนทำให้หลอดเลือดแข็ง โป่งพอง ตีบตัน และแตกออก เนื้อสมองบางส่วนหรือทั้งหมดขาด เลือดไปหล่อเลี้ยง จากนั้นจะเกิดเลือดคั่งในสมองกลายเป็น อัมพาตโดยทันที หรือค่อยเป็นค่อยไปทีละน้อย และอาจเสียชีวิต ในที่สุด อาการที่นำมาอาจพบได้หลายรูปแบบตั้งแต่ สับสน ชัก แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก เป็นต้น

โรคหัวใจขาดเลือด
เป็นภาวะของกล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดออกซิเจนไปเลี้ยง อาจเกิดขึ้น ได้หลายสาเหตุ เช่น หลอดเลือดแดงอุด หรือ ตีบตัน หลอดเลือด แดงหดเกร็ง เป็นต้น ทำให้หัวใจขาดออกซิเจน ขาดความสมดุล ในการทำหน้าที่ ซึ่งในบางครั้งอาจไม่มีอาการเด่นชัด ภาวะที่ทำ ให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดที่พบบ่อย คือ ภาวะหลอดเลือดแดงเสื่อม หรือแข็งจากแผลเป็นที่ผนังหลอดเลือดหนาตัวขึ้นมากกว่าร้อยละ 70 อาการที่พบบ่อยและสังเกตได้ เช่น เจ็บแน่น หรือจุกที่หน้าอก บางครั้ง อาจเป็นลมหมดสติเนื่องจากหัวใจวาย หรือหัวใจล้มเหลว และอาจตายได้ในทันที

ไตวาย
ส่วนสำคัญส่วนหนึ่งเกิดจากการที่หลอดเลือดแดงเล็กๆ ที่ไปเลี้ยง เนื้อไตถูกทำลาย เพราะแรงดันเลือดสูงเกินไป และผนังหลอด เลือดแดงหนาตัวขึ้นจนเลือดไปเลี้ยงไตไม่สะดวก อาการทั่วไป สามารถพบได้ตั้งแต่ บวมตามร่างกายโดยเฉพาะที่เท้า ปัสสาวะ น้อยลง คลื่นไส้ อาเจียน และเสียชีวิตจากการมีของเสียคั่งใน ร่างกาย

จะสังเกตได้ว่าทุกโรคที่กล่าวมาล้วนมีสาเหตุสำคัญร่วมกัน นั่นคือ ความดันโลหิตสูง และการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลา นานๆ ซึ่งเป็นตัวทำลายผนังหลอดเลือดนำพาไขมันผิดปกติ และทำให้หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น

โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ป้องกันได้ง่ายกว่ารักษา
การเจ็บป่วยจากโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ไม่เพียงส่งผล โดยตรงกับร่างกายผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังสิ้นเปลืองค่ารักษาพยาบาล อย่างต่อเนื่อง สร้างภาวะให้คนในครอบครัว ดังนั้น การดูแล ป้องกันมิให้เกิดขึ้นกับตนเอง หรือคนหนึ่งคนใดในครอบครัว ย่อมเป็นหนทางที่ดีกว่าการรักษา ซึ่งทั้งโรคความดันโลหิตสูงและ เบาหวาน เป็นโรคที่สามารถป้องกันและควบคุมได้ไม่ยาก หาก ดูแลตนเองและครอบครัวให้มีการใช้ชีวิตอย่างถูกต้องเหมาะสม ดังนี้


มีเป้าหมายที่จะมีน้ำหนักเหมาะสมกับการมีสุขภาพดี และลด น้ำหนักถ้าน้ำหนักเกิน


ให้มีความกระฉับกระเฉงทุกวัน และเพิ่มการเคลื่อนไหวแบบ แอโรบิค เช่น เดินเร็ว ว่ายน้ำ วิ่ง ฯลฯ อย่างน้อยวันละ 30 - 45 นาที / วัน โดยปฏิบัติให้มากที่สุดในแต่ละสัปดาห์


ลดการบริโภคอาหารที่มีพลังงาน (แคลลอรี่) ไขมัน และคอเลส เตอรอลสูง ไม่ควรบริโภคเกินกว่า 3 มื้อ / สัปดาห์ และบริโภคผัก ผลไม้ ให้เพียงพอทุกมื้อ


ลดการบริโภคเกลือโซเดียมลง อย่าให้เกิน 6 กรัม / วัน หรือ 1 ช้อนชา รวมทั้งลดการบริโภคน้ำตาล อย่าให้เกิน 40 - 55 กรัม / วัน หรือ 4 ช้อนโต๊ะ


จำกัดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์และหยุดบริโภคยาสูบหรือบุหรี่ ทุกชนิด


รับการตรวจวัดความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด โดย เฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี และอยู่ในกลุ่มเสี่ยง


เรียนรู้ว่าตัวเลขใดที่แสดงถึงความผิดปกติของระดับความดัน โลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด (มากกว่า 110 มิลลิกรัม%)


ติดตามระมัดระวังความดันโลหิต หรือระดับน้ำตาลในเลือดให้ บ่อยครั้งขึ้น เมื่อพบว่ามีความดันโลหิตสูง หรือเบาหวาน


ถ้าเป็นโรคควรเสริมทักษะในการจัดการตนเอง เพื่อการควบคุม ระดับความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติ และติดตามการรักษาและ เฝ้าระวังโรคแทรกซ้อนอย่างสม่ำเสมอ

9 ประการ เพื่อชีวิตเป็นสุข ปลอดจากโรคความดันโลหิตสูง เบา หวาน และโรคแทรกซ้อน


ข้อมูล: เอกสารเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพ เรื่อง "โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน" โดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข



โรคความดันโลหิตสูง
รองศาสตราจารย์นายแพทย์พีระ บูรณะกิจเจริญ
ภาควิชาอายุรศาสตร์

ในอดีตอาชีพของคนไทยส่วนใหญ่ คือ เกษตรกร ซึ่งมีการดำรงชีวิตแบบเรียบง่ายกินอยู่อย่างไทย ทำให้สถิติการเกิดโรคความดันโลหิตสูงต่ำ แต่ในสภาวะปัจจุบันความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้คนไทยเกิดความเครียดส่งผลให้สถิติการเกิดโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น
โดยปกติ ค่าของความดันโลหิตมี 2 ตัว คือ ตัวบนและตัวล่าง กล่าวคือ ค่าความดันปกติตัวบนประมาณ 120-130 ความดันตัวล่างประมาณ 70-80 บางคนไปตรวจหมอบอกว่าความดันต่ำ จริง ๆ แล้วความดันต่ำไม่ถือว่าเป็นโรค ความดันยิ่งต่ำยิ่งดี ซึ่งมักพบในนักกีฬาหรือคนตัวเล็ก แต่ในกรณีผู้ป่วยนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลแล้วช็อก ความดันต่ำลงจะถือว่าเป็นอันตราย ค่าของความดันตัวบนหากสูงเกิน 140 ถือว่าความดันสูงกว่าปกติ หากสูงเกิน 160 จะเป็นอันตรายอาจทำให้เส้นเลือดในสมองแตกได้ ความดันตัวล่างจะเป็นตัวชี้ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่ ปกติจะมีค่าเกิน 90
คนเป็นโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่จะมาด้วยอาการปวดศีรษะ เลือดกำเดาออกโดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น ไม่เป็นหวัด ไม่เป็นไข้ หรือบางคนอาจมีความดันโลหิตสูงโดยไม่มีอาการ ซึ่งอาจเกิดจากกรรมพันธุ์และความเครียด เมื่อเป็นแล้วจำเป็นต้องรักษาถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการ การรักษาโดยการกินยา ซึ่งยารักษามีหลายชนิด แพทย์จะพิจารณาให้เหมาะสมกับอาการของคนไข้แต่ละราย การรักษาความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน หากไม่ได้รับการรักษาอาจจะส่งผลแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่าง ๆ ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ คือ
สมอง อาจทำให้เส้นโลหิตในสมองตีบหรือแตกได้ ทำให้เป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
หัวใจ อาจทำให้เกิดหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดอาการเจ็บหน้าอกและกล้ามเนื้อหัวใจตาย
หรือหากหลอดเลือดที่หัวใจอุดตัน เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอทำให้หัวใจวายได้
ไต ไตมีหน้าที่สร้างฮอร์โมนตัวหนึ่งที่กระตุ้นไขกระดูกในการสร้างเม็ดเลือดแดง หากไตเสื่อมก็ทำให้การสร้างฮอร์โมนลดลง ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูงมานาน ก็จะทำให้หลอดเลือดเสื่อมทั่วร่างกาย ทำให้คนไข้ซีด ขาบวม เหนื่อยง่าย และอาจเกิดภาวะไตวายได้
ตา ตาจะมัว สำหรับความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์จะมีอันตรายทั้งเด็กและแม่ อาจทำให้คลอดก่อนกำหนดหรือชักได้ เพราะฉะนั้นหญิงมีครรภ์ควรมีการฝากท้อง ซึ่งจะต้องได้รับการวัดความดันโลหิตทุกครั้งที่มาตรวจ

โรคความดันโลหิตสูงมี 2 ประเภท คือ
ประเภทที่ทราบสาเหตุ และที่ไม่ทราบสาเหตุ ผู้มีความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่จะเริ่มในอายุประมาณ 35 ปี ถ้าเกิดในอายุน้อยมักจะทราบสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ทราบสาเหตุ อาการที่พบมีดังนี้ ได้ยินเสียงดังในหู ปวดศีรษะบริเวณท้ายทอย มีอาการเวียนศีรษะ มีเลือดกำเดาออก การเต้นของชีพจรจะผิดปกติ หงุดหงิดง่าย ขาบวม เหนื่อยง่ายผิดปกติ เป็นต้น
โรคความดันโลหิตสูงมากกว่าร้อยละ 95 ไม่ทราบสาเหตุ จึงโทษว่าเป็นเรื่องของพันธุกรรม ถ้าพ่อหรือแม่เป็นความดันโลหิตสูง ลูกก็มีโอกาสเป็นมากกว่าคนที่พ่อแม่ไม่เป็นความดันโลหิตสูง และสิ่งแวดล้อม เช่น ความเครียด การรับประทานอาหารเค็ม สูบบุหรี่ ไม่ได้ออกกำลังกาย การรักษาจึงต้องควบคุมโดยการใช้ยาและต้องรับประทานยาไปตลอดชีวิต
ส่วนโรคความดนโลหิตสูงที่ทราบสาเหตุ แพทย์จะรักษาไปตามอาการ เช่น ความดันในกะโหลกศีรษะสูง เนื่องมาจากมีเนื้องอกในสมอง ทำให้ปวดศีรษะตามัวได้ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนจะทำให้ความดันสูงได้ ถ้าได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเอาเนื้องอกออก ความดันในกะโหลกศีรษะไม่สูงแล้ว ความดันก็จะลงสู่ปกติ โรคไต ไตวายเรื้อรัง เราไม่สามารถรักษาได้ นอกจากผ่าตัดเปลี่ยนไต ความดันโลหิตสูงก็ลดลงได้ จากการรับประทานยาที่ทำให้เกิดความดันเลือดสูงได้เช่นกัน เช่น รับประทานยาแก้ปวดไขข้อ ยาคุมกำเนิดที่รับประทานมานานกว่า 2 ปี ยาลดน้ำมูกที่แรง ๆ ฯลฯ เป็นต้น

ข้อควรปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงความดันโลหิตสูง
เมื่ออายุ 35 ปี ควรจะตรวจความดันโลหิตทุกปี ควรระวังสาเหตุที่เสริมให้เป็นความดันได้ คือ ความเครียด คนที่โมโหง่าย คนอ้วน คนที่ชอบรับประทานเค็ม ไม่ควรดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงสาเหตุเสริมไม่ให้อ้วน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานยาเป็นประจำ ทั้งนี้อย่าซื้อยามารับประทานเอง เพราะอาจเป็นอันตรายอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ และควรมาตรวจตามแพทย์นัดทุกครั้ง
ที่มา:www.google.co.th



เข้าชม : 1011


บทความสุขภาพ 5 อันดับล่าสุด

      บรรเทาความหิวยามดึกแบบไม่รู้สึกผิด 12 / พ.ค. / 2557
      แครอตกินพร้อมกับน้ำมันงา มีประสิทธิภาพมากขึ้น 5 / ม.ค. / 2557
      30 ยังแจ๋ว? อาจไม่ใช่อย่างที่คิด เหตุร่างกายแก่ลงปีละ 1% 24 / ธ.ค. / 2556
      วิธีฟื้นฟูจิตใจ แบบง่ายๆ 15 / ธ.ค. / 2556
      10 วิธีป้องกันโรคร้ายจากเทคโนโลยี 18 / พ.ย. / 2556




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้ [กด F5 ถ้ารหัสไม่ชัดเจน]
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ mocyc@hotmail.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอห้วยยอด
ที่ตั้ง 2 ถนนมหามิตร ตำบลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92130
โทรศัพท์ 0-7527-1498 แฟกซ์ 0-7527-1718 ปรับปรุงเว็บไซต์โดย น.ส.จันทร์เลขา  ทองสิงห์

Janlaekha6436@gmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05