[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 





 

 

  

บทความทั่วไป
สอนลูกให้รักการอ่าน

จันทร์ ที่ 25 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2554

คะแนน vote : 124  

 แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่จะคิดว่าการอ่านหนังสือต่างๆ ให้ลูกฟังนั้นเป็นกิจกรรมที่ สำคัญที่สุดในการสอนลูกให้รู้จักอ่านหนังสือ แต่ก็ยังมีกิจกรรมอื่นๆ อีกมากที่ สามารถช่วยให้ลูกของคุณ "เตรียมพร้อม" ที่จะอ่านหนังสือได้ และยิ่งถ้าคุณได้ปูพื้น ฐานในการอ่านให้ลูกเป็นอย่างดีแล้วล่ะก็ ลูกไม่เพียงแต่จะอ่านหนังสือได้เท่านั้น ลูกยังจะรักการอ่านและกระตือรือร้นที่จะอ่านหนังสืออีกด้วย 

การเรียนรู้ภาษา
การที่ลูกเรียนรู้การอ่านนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ภาษา เปรียบเหมือนกับ นักเทนนิสที่โยกตัวไปข้างหน้าเพื่อรับลูกเทนนิสจากฝ่ายตรงข้าม นักเทนนิสต้อง เรียนรู้ที่จะจับสายตาดูลูกบอลแล้วกะจังหวะให้พอดี จากนั้นจึงก้าวเท้าเงื้อไม้เทนนิส เพื่อตีลูกให้ถูกแล้วส่งกลับไปให้ฝ่ายตรงข้าม ทั้งหมดนี้เป็นเหตุการณ์เดียวแต่ใช้ การกระทำถึง 3 ขั้นตอนด้วยกัน เช่นเดียวกับการเรียนรู้ภาษานั่นเอง เมื่อเราจะ ใช้ภาษา เราจะพูดออกไปดังๆ เราอ่านคำๆ นั้นบนกระดาษ และเราก็เขียนตัวหนังสือ นั่นคือ พูด - อ่าน - เขียน นั่นเอง
ฉะนั้น กิจกรรมที่คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริม หรือกระตุ้นให้ลูกทำก็คือ: 

  •  
พูด
  •  
อ่าน
  •  
เขียน
  •  
และ ฟัง
กิจกรรมเหล่านี้ คุณแม่ควรเริ่มสอนลูกไปเรื่อยๆ ซึ่งอาจต้องใช้เวลานานกว่าที่ลูกจะ อ่านหนังสือได้เองจริงๆ และก็จะต้องทำติดต่อกันไปหลังจากนั้นด้วย จนกว่าลูกจะ สามารถอ่านหนังสือออกได้ด้วยตัวเองโดยไม่มีใครช่วย 

เมื่อเจ้าตัวเล็กเริ่มหัดพูด "พ่อจ๋า แม่จ๋า"
คุณพ่อคุณแม่ทราบมั้ยคะว่า อะไรที่น่าเบื่อสำหรับคุณอาจเป็นสิ่งแปลกใหม่ น่า ตื่นเต้นสำหรับลูกๆ วัย 2-3 ขวบก็ได้ เมื่อคุณแม่เล่าถึงกิจวัตรประจำวันของคุณให้ ลูกฟัง ว่า คุณไปไหน ทำอะไรมาบ้าง ง่ายๆ ก็ได้ เช่น วันนี้แม่ไปทำงานมา ขับรถขึ้น ทางด่วน ตอนเช้ารถติดมาก ตอนเที่ยงแม่ไปทานอาหารกับเพื่อนๆ ที่ทำงาน เป็น ร้านอาหารที่ไม่ติดแอร์ อากาศร้อนจัง ฯลฯ จะช่วยให้ลูกเชื่อมโยงโลกของลูก เข้า กับภาษา และยังช่วยให้ลูกรักได้รับรู้เพิ่มเติมอีกด้วยว่า มีอะไรอีกมากมายหลาย อย่างบนโลกใบนี้ นอกเหนือจากบ้านที่ลูกอยู่ในขณะนี้ 

ถ้างั้น…ทำกิจกรรมอะไรดีล่ะ 

1 . เมื่อคุณแม่ทำกับข้าวเสร็จ ก็เล่าให้ลูกฟังว่า กับข้าววันนี้มีอะไรบ้าง คุณทำอาหาร อย่างไร (คร่าวๆ ง่ายๆ) ปรุงอะไร ใส่อะไรบ้าง คุยไปเรื่อย ถ้าลูกโตพอที่จะช่วยคุณ แม่หยิบจับภาชนะในครัวได้ คุณก็ให้ลูกยกหม้อใบเล็กๆ ออกมาจากตู้เก็บ (ถ้าหยิบ ได้ และไม่หนักเกินไป) หรือช่วยหยิบตะกร้าล้างผักให้คุณ คุณก็ลองถามลูกว่า "ใบ ไหนใหญ่กว่ากัน, ตะกร้าล้างผักสีอะไร, ลูกหาฝาเจอมั้ย?" ถ้าคุณไม่ได้ทำกับข้าว เอง คุณแม่ก็สามารถบอกรายการอาหารให้ลูกทราบได้ว่า "วันนี้เราจะทานอะไรกัน บ้าง" 

2. เมื่อพาลูกไปเดินเล่นที่สนามหญ้าหน้าบ้าน (หรือหลังบ้าน) ถ้าลูกก้มลงเก็บใบ มะม่วงที่หล่นตามพื้นมาเล่น คุณก็ให้ความสนใจใบไม้กับลูก แล้วถามลูกเล่นๆ ที่ ต้องการคำตอบมากกว่า คำว่า "ใช่" หรือ "ไม่ใช่" เช่น "ใบไม้นี้เหมือนกับใบ ไม้อีกชนิดมั้ย, ใบไหนใหญ่กว่าใบไหน, ใบไหนเล็กกว่ากัน ลูกว่าสีเขียวของ ใบไม้เหมือนกันมั้ย สีอ่อน สีแก่ บางใบแห้งแล้วก็เป็นสีน้ำตาล ลูกเห็นมั้ย บนต้นไม้นอกจากมีใบไม้แล้ว ลูกเห็นอะไรอีกจ๊ะ?…." 

3. ตั้งคำถามที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "ถ้า…" ชี้ให้ลูกดูนกที่เกาะตามสายไฟฟ้า แล้วถามว่า "ถ้าลูกจับนกได้ลูกจะทำอย่างไร กับนก?, ถ้าฝนตกลงมา เราจะทำยังไงกันดี?, ถ้ายุงบินมาเกาะหน้าผาก ลูกจะ ทำยังไงกับมัน? ฯลฯ…" 

4 .อดทนตอบคำถามของลูกโดยไม่เบื่อหน่าย หรือรำคาญ โดยเฉพาะถ้าลูกถาม ว่า "ทำไม?" ถ้าหากว่าคุณไม่ทราบคำตอบ ก็บอกลูกไปว่า "แม่ไม่ทราบจ้ะ แม่ว่าเราไปหาคำตอบกันในหนังสือเล่มนี้ดีมั้ย" เป็นการแสดงให้ลูกเห็นถึง ความสำคัญของหนังสือว่า สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาคำตอบที่ต้องการได้ 

5 .เมื่อลูกเล่านิทาน หรือเรื่องต่างๆ ให้คุณฟัง (ถ้าลูกโตพอที่จะเล่าได้) เมื่อลูก เล่าจบ คุณควรจะตั้งคำถาม ถามลูกบ้างเกี่ยวกับเรื่องที่ลูกเพิ่งเล่าจบ เพื่อคุณ จะได้เข้าใจเรื่องเล่านั้นได้ชัดเจนขึ้น วิธีนี้ก็จะช่วยให้ลูกของคุณเรียนรู้ที่จะ เล่าเรื่องต่างๆ ให้ครบถ้วน หากเล่าขาดตกหล่นไปตอนไหนบ้าง และลูกเองก็ จะทราบว่าคุณพ่อคุณแม่สนใจฟังในเรื่องที่ลูกเล่ามา 

6 . พาลูกออกไปดูโน่น ดูนี่นอกบ้าน หาประสบการณ์แปลกใหม่ในชีวิตให้ลูก เช่น พาลูกไปเที่ยวสวนสัตว์ ดูสิงสาราสัตว์ชนิดต่างๆ เช่นสวนสัตว์เขาดินวนา, สวนสัตว์เปิดเขาเขียว หรือซาฟารีเวิร์ลด ฯ, บอกให้ลูกเข้าห้องสมุดที่โรงเรียน, พาลูกไปชมพิพิธภัณฑ์ต่างๆ เช่น พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์, พิพิธภัณฑ์ศิริราช ฯ ชวนลูกไปเดินเล่นในสวนสาธารณะใกล้บ้าน เช่นสวนรมณียนาถ ที่ถนนพระ อาทิตย์, สวนหลวงร. 9 พาลูกไปวิ่งเล่นที่สวนลุม, ให้อาหารปลาที่สระน้ำในวัด ใกล้บ้าน, เดินเล่นหน้าบ้าน ชมนกชมไม้ หรือพาไปเยี่ยมเพื่อนฝูงของคุณ หรือตามบ้านญาติๆ แล้วคุณพ่อคุณแม่ก็ชวนลูกพูดคุยถึงสิ่งที่ลูกไปพบเห็น มา ลูกจะได้รู้จักวิจารณ์, ออกความเห็น, ตั้งคำถาม และตอบคำถาม 

การพูดคุยช่วยส่งเสริมให้เด็กๆ เรียนรู้คำศัพท์ได้มากขึ้น และช่วยให้ลูก เข้าใจความเป็นไปของโลกภายนอกได้ดีขึ้น การที่เด็กสามารถพูดจา สนทนาโต้ตอบกับคุณได้เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาให้ลูกอ่านหนังสือได้ พึงระลึกไว้เสมอว่า พูดคุยกับลูกมากๆ ดีกว่าพูดคุยน้อยๆ กับลูก โดย เฉพาะถ้าลูกยังอยู่ในวัยเด็กเล็กๆ 

สอนลูกให้รู้จักชื่อตัวเอง 

อุปกรณ์ที่ต้องการ
กระดาษ
ดินสอ, ดินสอสี, สีเทียน หรือปากกาเมจิค
สิ่งที่ควรทำ
1 .เขียนชื่อของลูกลงบนกระดาษตัวโตๆ
2 . สะกดตัวอักษรลูกทุกตัวที่กำลังเขียน, "พ….ล….อ…ย"
3 . เมื่อเขียนจบ พูดว่า "นี่คือชื่อของลูก! - พลอย"
4 . ให้ลูกวาดรูปอะไรก็ได้ที่ลูกอยากจะวาด 
5 . เมื่อวาดเสร็จ คุณแม่พูดว่า "นี่ แม่คิดได้แล้ว เราจะทำอะไรกันดี มาเขียนชื่อลูกลงบนรูปนี้ดีกว่า" แล้วคุณแม่ก็เขียนชื่อลูกตัวโตๆ อ่าน ง่าย แล้วเรียกชื่อลูกดังๆ ว่า "พลอย"
6 . หาสติกเกอร์ตัวอักษรเดี่ยวๆ ที่มีขายทั่วไปตามแผนกเครื่องเขียน แล้วนำมาติดที่ตู้เสื้อผ้าของลูก หรือกล่องเก็บของเล่นลูก หรืออตู้ พลาสติคที่เก็บของลูก เพื่อลูกจะได้เห็นบ่อยๆ และทราบว่าชื่อ ของลูกมีหน้าตาตัวสะกดแบบนี้
7 . หรือหาตัวแม่เหล็กที่ติดบนตู้เย็นได้เป็นตัวหนังสือสะกดเป็น ชื่อลูกมาติดไว้ที่ตู้เย็นก็ได้ 

สร้างสภาพแวดล้อมของลูกให้เห็นคำศัพท์มากๆ 

วิธีที่จะสร้างสภาพแวดล้อมให้ลูกได้พบปะเจอะเจอคำศัพท์ต่างๆ ให้มากๆ เพื่อที่ลูกจะได้เรียนรู้คำต่างๆ ไปโดยไม่รู้ตัว เช่น 

1 .ติดโปสเตอร์ที่รูปตัวอักษร ก ไก่ ข ไข่ ที่มีวางขายทั่วไปตามร้าน เครื่องเขียนไว้ในที่ลูกจะมองเห็นได้ง่าย เช่น ผนังห้องหรืออาจจะ เป็นตัวหนังสือภาษาอังกฤษ A B C และมีตัวเลขด้วยก็ได้ 

2 . ชวนลูกดูหนังสือแมกซีนต่างๆ ด้วยกัน เมื่อเห็นภาพโฆษณา รูปต่างๆ เช่น ภาพบ้าน คุณแม่ก็เอาปากกามาวงรูปบ้าน แล้ว เขียนทับไปว่า "บ้าน" หรือรูปสุนัข คุณแม่ก็วงรูปนั้น แล้ว เขียนใต้ภาพว่า "สุนัข" ฯลฯ อ่านคำๆ นั้นให้ลูกฟัง และให้ลูก อ่านตาม จากนั้น ตัดไปแปะติดไว้บนกระดาษโปสเตอร์แผ่นใหญ่ๆ เมื่อได้เต็มแผ่นก็นำมาติดที่ผนังให้ลูกได้เห็น และอ่านด้วยกันทุก เช้า หรือในเวลาที่ว่าง เมื่อลูกอ่านได้คล่องค่อยเปลี่ยนรูปใหม่และ คำศัพท์ใหม่ๆ 

3 .ให้ลูกนั่งดูเวลาที่คุณแม่เขียนรายการของใช้ที่จะออกไปซื้อของข้างนอก อาจจะเป็นรายการกับข้าว, รายการซื้อของมาทำอาหาร หรือรายการของ ใช้ประจำบ้าน ฯลฯ อ่านออกเสียงรายการต่างๆ เหล่านี้ เวลาที่คุณแม่ เขียนรายการ เช่น กะหล่ำปลี, ผักกาดเขียว, เกลือ, ข้าวสาร, เนื้อไก่, เนื้อสันใน, ฝาชี ฯลฯ 

4 .ถ้าลูกโตพอที่จะเขียนหนังสือได้บ้างแล้ว ก็ให้ลูกช่วยสะกดคำต่างๆ ที่ง่ายๆ ของรายการของใช้ที่คุณแม่เขียน เช่น ซื้อน้ำตาล ถามลูกว่า น้ำตาลสะกดอย่างไร หรือลูกว่าคำว่า น้ำ ควรจะมีตัวอะไรบ้าง ถ้าลูก ตอบว่า น.หนู ก็จัดว่าใช้ได้แล้ว เพราะสระ อำ ลูกอาจยังไม่รู้จัก 

5 . ถ้าพบรูปภาพที่น่าสนใจในนิตยสารต่างๆ หรือเป็นเรื่องที่ลูกกำลังสนใจ อย่ารีรอที่จะชูรูปภาพให้ลูกดู แล้วอ่านออกเสียงให้ลูกฟังว่า "ลูก นี่นะจ๊ะ คือ ไดโนเสาร์, ไหนอ่านให้แม่ฟังสิว่า ไดโนเสาร์" ฯ 

6. หาสมุดวาดเขียนที่เป็นเล่มกระดาษเปล่าๆ มาหนึ่งเล่ม แล้ว ตัดรูปต่างๆ ที่เป็นบุคคล หรือ สัตว์ สิ่งของ เช่น รูปตำรวจ แล้วติดรูปในสมุดวาดเขียน แล้วเขียนคำว่า "ตำรวจ" ใต้รูปนั้น ติดรูปคุณตา แล้วเขียนใต้รูปว่า "คุณตา" ติดรูปคุณหมอ แล้วเขียนว่า "คุณหมอ" หรือแม้แต่สถานที่ต่างๆ ก็ได้ เช่น รูปทะเล ก็เขียนใต้รูปว่า "ทะเล" ฯลฯ 

ถ้าคุณพ่อคุณแม่พยายามให้ลูกได้มีโอกาสออกเสียงอ่านคำศัพท์ และเห็นคำ ศัพท์บ่อยๆ ลูกก็จะรู้สึกคุ้นเคย และหัดสังเกตว่า คำแต่ละคำนั้นมีรูปร่าง ลักษณะหน้าตาเป็นอย่างไร …ในไม่ช้า การอ่านหนังสือหรือเรียนรู้ภาษา ก็จะไม่ใช่สิ่งที่ยากลำบากสำหรับลูกอีกต่อไป 

ที่มา : www.google.co.th



เข้าชม : 857


บทความทั่วไป 5 อันดับล่าสุด

      บทความการอ่าน 4 / พ.ค. / 2559
      บทความดีๆมีมาฝากค่ะ 29 / ก.พ. / 2559
      ความสำคัญของการอ่าน 15 / ธ.ค. / 2558
      การอ่าน…กับวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน 20 / พ.ค. / 2558
      บทความน่าอ่าน 12 / พ.ค. / 2558




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้ [กด F5 ถ้ารหัสไม่ชัดเจน]
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ mocyc@hotmail.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอห้วยยอด
ที่ตั้ง 2 ถนนมหามิตร ตำบลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92130
โทรศัพท์ 0-7527-1498 แฟกซ์ 0-7527-1718 ปรับปรุงเว็บไซต์โดย น.ส.จันทร์เลขา  ทองสิงห์

Janlaekha6436@gmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05