[x] ปิดหน้าต่างนี้
 



 
                   
เมืองผู้นำยางพารา เทิดรัษฎานุประดิษฐ์ เมืองมิตรวัฒนธรรม หมูย่าง ติ่มซำรสเลิศ เปิดประตูสู่อันดามัน สวรรค์นักท่องเที่ยว
 

  

บทความทั่วไป
หนังสือ VS โทรศัพท์มือถึอ

พฤหัสบดี ที่ 10 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2555

คะแนน vote : 118  

  
หนังสือ VSโทรศัพท์มือถือ
ผศ. สุทิพันธุ์ บงสุนันท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
               6 ปีที่แล้ว มีการเผยแพร่สถิติที่สร้างความหวั่นวิตกให้กับ แวดวงการเรียนรู้ผ่านการอ่านหนังสือ เมื่อพบว่า คนไทยอ่านหนังสือน้อยมากเฉลี่ยคนละ 3 นาที ต่อวัน อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้น สถานการณ์กลับดีขึ้นมาก ซึ่งจากผลการสำรวจครั้งล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบคนไทยใช้เวลาอ่านหนังสือนานขึ้นเฉลี่ยเกือบ 2 ชั่วโมงต่อคนต่อวัน
               โดย ส่วนตัวผมเชื่อว่า สาเหตุสำคัญเป็นเพราะความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและเอกชน รวมทั้งองค์กรอื่นๆ ที่ได้เร่งประสานประชาสัมพันธ์รณรงค์ส่งเสริมจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆอย่าง เข็มข้นและต่อเนื่องเพื่อให้คนไทยมีนิสัยรักการอ่าน กอปรกับการเอาใจของครอบครัวในการดูแลให้บุตรหลานได้ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ผ่าน กิจกรรมการอ่านหนังสือ

               ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ( 30 มี.ค. – 10 เม.ย. ) มีการจัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ มีหนังสือดีๆ ตีพิมพ์เผยแพร่จำนวนมากและหลากหลาย เข้าถึงผู้อ่านทุกๆ กลุ่มในราคาพิเศษ บรรยากาศที่เต็มไปด้วยพ่อแม่พาลูกจูงหลานไปเดินชมเดินซื้อหนังสือ มีการจัดประกวดและจัดกิจกรรมรักการอ่าน ตลอดจนมีคนต้นแบบเป็นนักคิดนักเขียนมากมายมาร่วมในงานอีกด้วย สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นแรงจูงใจสำคัญให้คนไทยมีนิสัยรักการอ่านมากยิ่งขึ้น

            
   ซึ่ง ถือได้ว่า การจัดงานสัปดาห์หนังสือไม่ว่า การจัดงานสัปดาห์หนังสือไม่ว่าที่กรุงเทพฯหรือแม้กระทั่งจะสัญจรไปยังต่าง จังหวัดก็ตามเป็นหนึ่งในกิจกรรมพลังสูงที่ช่วยกระตุ้นและสร้างสภาพแวดล้อม ให้คนไทยรักการอ่านที่ได้ผลมากทีเดียว และยังช่วยให้ภาพใหญ่ประชากรของประเทศมีแนวโน้มการใช้เวลาอ่านหนังสือเพิ่ม มากขึ้นอีกด้วย

               แต่อย่าง ไรก็ตาม ในภาพเล็กกลับปรากฏความจริงบางอย่างที่ขัดแย้งกับภาพใหญ่ที่พบเห็น เมื่อพบว่าโดยเฉพาะในกลุ่มนักศึกษาเริ่มใฝ่เรียนรู้ลดลง อ่านหนังสือน้อยมาก ไม่ค่อยจะซื้อหนังสือ แต่ซื้อโทรศัพท์มือถือ เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน ( ที่ขาดไม่ได้ ) ในการนำมาเรียนในแต่ละวัน ที่สังเกตเห็นแม้เหตุการณ์ดังกล่าว จะเป็นเพียงคนกลุ่มเล็ก แต่แนวโน้มนับวันยิ่งขยายใหญ่ออกไปมากยิ่งขึ้น

               วันนี้นัก ศึกษากำลังมีสรณะแห่งชีวิตในวัยเรียนที่เปลี่ยนไป กล่าวคือ รักความสะดวกสบาย ยึดวัตถุสิ่งของโดยมีโทรศัพท์มือถือเป็นสรณะแห่งชีวิต ขอเพียงให้ก้าวทัน โลกาภิวัตน์ แต่กลับไม่รู้เท่าทันส่วนหนังสือซึ่งเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ และสร้างอนาคตได้มากและยั่งยืนกว่า กลับให้ความสำคัญเป็นประเด็นรอง เป็นเพียงปัจจัยแวดล้อม จะมีก็ได้ ไม่มีก็ได้ หากสภาพการณ์ยังเป็นเช่นนี้เพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆย่อมส่งผลเสียต่อการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์อย่างน่าเสียดาย

               จริงอยู่ โทรศัพท์มือถือ มีประโยชน์ในโลกทุนนิยมใช้ติดต่อสื่อสารเพื่อความสะดวกสบาย เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และเพื่อการศึกษาหาข้อมูลความรู้บันเทิงต่างๆ

               แต่หนังสือ ซึ่งมีประโยชน์มากต่อการเรียนรู้และการสร้างงานสร้างอาชีพ ที่จริงก็มีราคาที่ไม่สูงเกินไป แต่ละเล่มโดยทั่วไปก็ตามประมาณหลักร้อยบาท เมื่อเทียบกับโทรศัพท์มือถือแต่ละเครื่องแล้วราคาก็ตกหลายพันหลายหมื่นบาท แต่นักศึกษาไม่ค่อยจะใส่ใจกับการลงทุนทางการศึกษาเพื่ออนาคตที่ดีกว่า

               หากจะเปรียบราคาหนังสือแต่ละเล่มกับราคาของบัตรเติมเงินโทรศัพท์มือถือแล้ว อาทิเช่น หนังสือมูลค่า 100 –200 บาท แต่นักศึกษาไม่ซื้อหนังสือ ซึ่งหนังสือสามารถนำมาใช้เรียนได้นานถึง 4 เดือน / ภาคการศึกษา ส่วนบัตรเติมเงินไม่ซื้อไม่ได้ ต้องซื้อต้องเติมกันทุก 10 –20 วัน หรือทุกเดือน แต่ไม่ยอมเสียสละเงินไปซื้อหนังสือ

            
   ก็เกิดข้อสงสัยหรือคำถามขึ้นมาว่า นักศึกษาเหล่านี้เขาคิดอย่างไรกับชีวิตการศึกษาในวัยเรียน? หรือขอเพียงแค่ก้าวให้ทันกับกระแสโลกาภิวัตน์ก็เป็นพอ?

               เราเคยได้ ยินและประสบปัญหาฟองสบู่ในภาคเศรษฐกิจมาแล้ว ส่วนด้านการศึกษานั้น ปัจจุบันก็เป็นที่ทราบกันดีว่า คุณภาพการศึกษาตกต่ำลง เป็นธุรกิจการศึกษาเพิ่มมากขึ้น กอปรกับเยาวชนไม่ค่อยใส่ใจกับการเรียนมากขึ้น อ่านหนังสือน้อยลง นั่นคือ ฟองสบู่กำลังก่อตัวขึ้นและจะเป็นปัญหาใหญ่ในวงการศึกษา

               หมายความว่า ภาพรวมภายนอกดูดี เยาวชนไทยมีการศึกษาในระดับปริญญาตรีเพิ่มมากขึ้น ภาครัฐมีนโยบายการศึกษาใครอยากเรียนต้องได้เรียน มองในด้านหนึ่งเป็นการให้โอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม แต่ในอีกมุมหนึ่งเยาวชนกลับไม่ได้ใช้โอกาสของความเท่าเทียมนั้น มาสร้างและพัฒนาศักยภาพให้เพิ่มขึ้นอย่างที่ควรจะเป็น แต่กลับไปลดทอนศักยภาพของตัวผู้เรียนเองและลดศักยภาพการพัฒนาของประเทศลงไป ด้วย

               ขออัญเชิญ พระบรมราโชวาทที่ในหลวงทรงพระราชทานแก่คณะสมาชิกห้องสมุด ทั่วประเทศ ในโอกาสที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ. ศ. 2514 ความตอนหนึ่งว่า

               “…หนังสือ เป็นการสะสมความรู้ และทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ได้สร้างมาทำมา คิดมาแต่โบราณกาลจนทุกวันนี้ หนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญเป็นคล้ายๆ ธนาคารความรู้และเป็นออมสิน เป็นสิ่งที่จะทำให้มนุษย์ก้าวหน้าได้โดยแท้ ...”

            
   จาก พระบรมราโชวาท เราคนไทยได้เห็นคำสอนของพ่อที่ทรงให้ข้อคิดและให้ตระหนักถึงการเรียนรู้จาก หนังสือว่าเป็นแหล่งความรู้และสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ตนเองและสังคม ส่วนรวม

               จริงๆแล้ว โทรศัพท์มือถือ ใช่ว่าจะมีแต่ผลเสียกระทบต่อการเรียนไปเสียทั้งหมดแท้จริงก็มีข้อดี หลายอย่าง อาทิเช่น หากเรารู้จักหยิบเอาจุดแข็งที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในการผลิตโทรศัพท์ มือถือของบางประเทศ เช่น ฟินแลนด์ ที่เรารู้จักกันดีกับยี่ห้อสุดฮิตอย่างโนเกีย ( ซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายในประเทศไทยด้วย )

               จากการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขัน lMD ปี พบว่าฟินแลนด์ติดอันดับท็อปเทนของโลก ( ในขณะที่ไทยติดอันดับ ท็อปโฟร์ตี้ ) ทั้งนี้ฟินแลนด์มีจุดแข็งในการสนับสนุนงบประมาณทั้งภาครัฐและเอกชนในการลง ทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาเป็นจำนวนมาก และมีคุณภาพการศึกษาติดอันดับหนึ่งของโลก

            
   และจากการประเมินผลความสามารถในการอ่านของ PlSA พบ ว่า นักเรียนฟินแลนด์มีความสามารถในการอ่านสูงสุดในโลกซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ จำเป็นต้องอาศัยการปลูกฝังจากผู้ใหญ่ที่เป็นนักอ่านมาก่อน แม้เหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น จะไม่ใช่ปัจจัยทั้งหมดที่ไปขับเคลื่อนขีดความสามารถในการแข่งขันของฟินแลนด์ ก็ตาม แต่ต้องยอมรับว่าการอ่านหนังสือและทักษะการอ่านอย่างมีคุณภาพ เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญยิ่งที่อยู่เบื้องหลัง ( ซึ่งขาดไม่ได้ )

            
   ใน การสร้างความเก่งหรือขีดความสามารถในการแข่งขัน ตรงนี้น่าจะเป็นข้อคิดให้กับนักศึกษาได้ว่า หากมีความเชื่อบนพื้นฐานที่ว่า ดีสร้างเก่งได้ ในวัยเรียนต้องลงทุนซื้อหนังสือ ทุ่มเทกับการอ่านหนังสือ แม้วันนี้ยังไม่เก่ง แต่ถ้ามีทุนชีวิตที่ดีเป็นคนดีเป็นคนขยัน อดทนใส่ใจรับผิดชอบทำหน้าที่ในวัยเรียนให้ดีที่สุด ในที่สุดสักยภาพและความสามารถก็จะถูกพัฒนาให้สูงขึ้นอย่างแน่นอนและเมื่อจบ การศึกษามีงานทำมีรายได้ที่ดี จะซื้อโทรศัพท์มือถือราคากี่พันกี่หมื่นบาท ก็ย่อมทำได้

               ในที่นี้ไม่ ได้ปฏิเสธการมีโทรศัพท์มือถือ แต่ต้องการให้นักศึกษาตระหนักถึงสิ่งที่ควรจะลงทุนในวัยเรียน เพราะหากยึดโทรศัพท์มือถือเป็นสรณะแห่งชีวิต ก็คงหวังผลได้แค่ระยะสั้น ตอบสนองความพอใจไปวันๆ แต่ถ้ายึดหนังสือเป็นสรณะแห่งชีวิต ผลตอบแทนที่ได้จะคุ้มค่า สร้างความสำเร็จและความภาคภูมิใจในอนาคต

               การ ก้าวทันโลกาภิวัตน์มิใช่สิ่งสำคัญนัก แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ ต้องรู้ทันโลกาภิวัตน์ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ชีวิตในวัยเรียนเกิดสมดุลในเมื่อมือข้างหนึ่งถือ ( โทรศัพท์ ) มือถือ ต้องอย่าลืมว่ามืออีกข้างหนึ่งต้องถือหนังสือ

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2540
 
 


เข้าชม : 1175


บทความทั่วไป 5 อันดับล่าสุด

      ประเพณีลากพระ จ.ตรัง 13 / ต.ค. / 2557
      ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 วันอาสาฬหบูชา 6 / ก.ค. / 2557
      เกิดแผ่นดินไหว ข้อปฏิบัติก่อนและหลัง 11 / พ.ค. / 2557
      วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 28 / เม.ย. / 2557
      2 เมษายน วันรักการอ่าน 31 / มี.ค. / 2557


 
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดตรัง  
ถนนพระรามหก  ตำบลทับเที่ยง  อำเภอเมือง    จังหวัดตรัง  075213051
libtrang075@gmail.com

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05