[x] ปิดหน้าต่างนี้
 



 
                   
เมืองผู้นำยางพารา เทิดรัษฎานุประดิษฐ์ เมืองมิตรวัฒนธรรม หมูย่าง ติ่มซำรสเลิศ เปิดประตูสู่อันดามัน สวรรค์นักท่องเที่ยว
 

  

บทความทั่วไป
ห้องสมุดที่ไม่มี \"หนังสือ\" ของคนเท็กซัส

พุธ ที่ 18 เดือน กันยายน พ.ศ.2556

คะแนน vote : 124  

ห้องสมุดที่ไม่มี "หนังสือ" ของคนเท็กซัส


เมื่อวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา เป็นวันเปิดบริการ"ไบบลิโอเทค ไลบรารี" ห้องสมุดดิจิตอลชนิด 100 เปอร์เซ็นต์ สำหรับ เบ็กซาร์ เคาน์ตี้ รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา เป็นห้องสมุดแห่งเดียวในสหรัฐอเมริกาในเวลานี้ที่ไม่มี"หนังสือ" เป็นเล่มๆ แม้แต่เล่มเดียว แต่ตรงกันข้าม หนังสือทั้งหมดเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-บุ๊ก และหนังสือเสียง หรือ ออดิโอบุ๊ก จำนวน ราวๆ 10,000 หัวเรื่องในระยะแรก สำหรับไว้ให้บริการแก่ชาวบ้านในชุมชนราว 1.7 ล้านคนทั้งของเบ็กซาร์ เคาน์ตี้ และในตัวเมือง ซานอันโตนิโอ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเคาน์ตี้แห่งนี้ด้วย

"ห้องสมุดไบบลิโอเทค" ถือเป็นความพยายามในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการ เพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณที่จำกัดลง ในขณะที่ความต้องการ

"ห้องสมุดประชาชน" ของคนอเมริกันยังคงมีอยู่ในระดับสูง



ข้อมูลจาก "พิว รีเสิร์ช" เมื่อปี 2012 ระบุว่า ในขณะที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ว่าทางการของแต่ละรัฐและแต่ละชุมชนจะตัดงบประมาณสำหรับห้องสมุดประชาชนให้เหลือน้อยลงเรื่อยๆ นั้น 91 เปอร์เซ็นต์ของชาวอเมริกันยังยืนยันว่าห้องสมุดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชุมชน เพราะนอกจาก 82 เปอร์เซ็นต์ จะเห็นว่าห้องสมุด"เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อการอ่านออกเขียนได้" ของเด็กๆ แล้ว อีก 85 เปอร์เซ็นต์ชี้ว่าห้องสมุดสาธารณะประจำชุมชนทำหน้าที่เป็นเสมือนส่วนหนึ่งของ"โรงเรียน" ของชุมชนอีกด้วย

ที่น่าสนใจมากก็คือ ห้องสมุดสาธารณะประจำชุมชนดังกล่าวไม่ได้เป็นเพียงแหล่งในการ"อ่าน" และ"ศึกษาค้นคว้า" เพียงอย่างเดียวเท่านั้น สมาคมห้องสมุดอเมริกัน (เอแอลเอ) ยังระบุว่า 62 เปอร์เซ็นต์ ของห้องสมุดสาธารณะประจำชุมชนทั่วประเทศยังเป็นสถานที่เดียวที่ช่วยให้ สมาชิกของชุมชนสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตและใช้คอมพิวเตอร์ได้โดยไม่ต้อง เสียค่าใช้จ่ายในแต่ละชุมชนนั้นๆ

การเปลี่ยนหนังสือเล่มให้เป็น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เดิมทีอาจเป็นเรื่องยากแต่ตอนนี้กลับเป็นเรื่อง ง่ายกว่าปัญหาการคิดค้นหาแนวทางการให้บริการที่เหมาะสม และกระจายออกไปในวงกว้างของชุมชนให้มากที่สุด แต่จำกัดอยู่แต่ภายในชุมชนที่ต้องการให้บริการ รูปแบบที่"ไบบลิโอเทค" นำมาใช้น่าสนใจดีทีเดียว

เริ่มจากการลงทะเบียน ชำระเงิน 2 ดอลลาร์ (ราว 60 บาท) เป็นค่าธรรมเนียมต่อการเข้าใช้เป็นเวลา 2 ปี โดยมีข้อมูลสำคัญคือ "โพสต์โค้ด" เพื่อจำกัดวงผู้ใช้งานเฉพาะในพื้นที่เท่านั้น ผู้ลงทะเบียนเป็นสมาชิกจะได้รับสมาร์ทการ์ดประจำตัว เหมือนบัตรห้องสมุดที่เราคุ้นเคย สำหรับใช้เป็นเครื่องยืนยันตัวและเป็นพาสเวิร์ดสำหรับการใช้บริการ

หลังจากนั้นก็สามารถเลือกใช้บริการได้ตามสะดวกจะเลือกการดาวน์โหลดจากเว็บไซต์www.bexarbibliotech.orgสำหรับพีซี หรือจะดาวน์โหลดผ่านแอพพลิเคชั่น 3เอ็มคลาวด์ ไลบรารี สำหรับแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟน แอพพลิเคชั่นจะนับถอยหลังวันที่ผู้ยืมต้องอ่านโดยเริ่มต้นจาก 14 วันไปจนถึงวันสุดท้ายที่ไม่สามารถอ่านได้อีกต่อไป

ผู้ใช้บริการจะ เลือกเข้าไปใช้บริการถึงที่ห้องสมุดเลยก็ได้ที่ห้องสมุดชั้นหนังสือแบบที่ คุ้นเคยกันถูกโละออกไปเปลี่ยนงบประมาณส่วนหนึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์48 ตัวและ อี-รีดเดอร์กับแท็บเล็ต อีก 600 ตัว กับโน้ตบุ๊กอีกจำนวนหนึ่งไว้ให้ใช้ พร้อมทั้งบริการอินเตอร์เน็ต ไวไฟ ให้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับสมาชิก ด้วยเหตุนี้ ใครที่มีอุปกรณ์ประจำตัวอยู่แล้ว อย่าง โน้ตบุ๊ก หรือ แท็บเล็ต ก็สามารถเข้าไปใช้บริการได้ทันที

โรงเรียนในชุมชนสามารถจองช่วงเวลาสำหรับการมาใช้ห้องสมุดเพื่อใช้เป็นชั่วโมงเรียน"คอมพิวเตอร์" หรือ "วรรณกรรมสำหรับเด็ก" ก็ได้ นอกเหนือจากนั้น เด็กๆ ยังมีสิทธิพิเศษในการ"ยืม" อุปกรณ์จากห้องสมุด (โดยผู้ปกครอง) อาทิ แท็บเล็ต พร้อมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับเด็ก กลับไปอ่านที่บ้านได้อีกต่างหาก ครั้งละ 7 วัน (เพราะอุปกรณ์มีจำกัดเทียบกับจำนวนเด็กๆ) โดยมีค่าปรับในการคืนล่าช้าและค่าเสียหายของอุปกรณ์ตามความเหมาะสม แต่ไม่คิดค่ายืมแต่อย่างใด

"ไบบลิโอเทค ไลบรารี"
ไม่ได้เป็นห้องสมุดแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่ให้บริการอีบุ๊กอย่างเดียว จริงๆ แล้วแนวความคิดนี้เคยนำมาประยุกต์ใช้มาก่อนหน้านี้แล้ว คือห้องสมุดประชาชนแห่งซานตาโรซา ในรัฐอริโซนา เมื่อปี 2002 แต่ไปๆ มาๆ คนที่ใช้บริการนั่นแหละขอร้องให้ห้องสมุดเอาหนังสือเป็นเล่มๆ กลับมาให้ยืมใหม่

ตอนนี้ 76 เปอร์เซ็นต์ของห้องสมุดในสหรัฐอเมริกาให้บริการอีบุ๊ก เพื่อลดงบประมาณในการจัดซื้อและบำรุงรักษา

แต่ที่เป็นห้องสมุดแบบ"บุ๊คเลส" อย่าง"ไบบลิโอเทค ไลบรารี" เพิ่งกลับมามีอีกแห่งนี่แหละ!


ที่มา :
ที่มา : นสพ.มติชน  /http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1379475114


เข้าชม : 1020


บทความทั่วไป 5 อันดับล่าสุด

      ประเพณีลากพระ จ.ตรัง 13 / ต.ค. / 2557
      ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 วันอาสาฬหบูชา 6 / ก.ค. / 2557
      เกิดแผ่นดินไหว ข้อปฏิบัติก่อนและหลัง 11 / พ.ค. / 2557
      วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 28 / เม.ย. / 2557
      2 เมษายน วันรักการอ่าน 31 / มี.ค. / 2557


 
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดตรัง  
ถนนพระรามหก  ตำบลทับเที่ยง  อำเภอเมือง    จังหวัดตรัง  075213051
libtrang075@gmail.com

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05