[x] ปิดหน้าต่างนี้
 



 
                   
เมืองผู้นำยางพารา เทิดรัษฎานุประดิษฐ์ เมืองมิตรวัฒนธรรม หมูย่าง ติ่มซำรสเลิศ เปิดประตูสู่อันดามัน สวรรค์นักท่องเที่ยว
 

  

ข่าวประชาสัมพันธ์
วันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 13 ตุลาคม 2562

อังคาร ที่ 8 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2562


 

  รำลึกภาพแห่งความทรงจำ ธ สถิตในดวงใจตราบนิรันดร์

 

 


           แม้เวลาจะผ่านมากี่ปี  แต่ภาพเหตุการณ์ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2560 ณ ช่วงเวลานั้นก็ยังคงอยู่ในความทรงจำของปวงชนชาวไทย

    ในการนี้กรมศิลปากรจัดเวทีเสวนา ภาพแห่งความทรงจำ พระสถิตในดวงใจตราบนิรันดร์ภายใต้กิจกรรมรำลึก พระสถิตในดวงใจตราบนิรันดร์ เพื่อบอกเล่าภาพแห่งความทรงจำของผู้ที่มีโอกาสปฏิบัติงานในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โดยมีอาจารย์อนุชิต สุนทรกิติ ช่างภาพอาสา, นายมณเฑียร ชูเสือหึง จิตรกรเชี่ยวชาญ, นายก่อเกียรติ ทองผุด นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน และนางสาวนวลพรรณ นาคปรีชา นักจดหมายเหตุ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

 

           ในวงเสวนา นายก่อเกียรติ ทองผุด นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน ผู้ออกแบบพระเมรุมาศ ได้นำภาพการออกแบบในช่วงเวลานั้น พร้อมกับถ่ายทอดความรู้สึกในฐานะผู้ออกแบบงานสถาปัตยกรรมชิ้นสำคัญว่า ได้คัดเลือกภาพจากกว่า 1,000 ภาพ ให้เหลือ 9 ภาพ เพื่อมาถ่ายทอดความรู้สึกกับการได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่อันยิ่งใหญ่นี้ ภาพแรกที่ได้ฉายให้เห็นนั้น เป็นความประทับใจอย่างที่สุดที่ได้มีโอกาสได้เป็นผู้นั่งบนโต๊ะ เพื่อส่งมอบภาพการออกแบบพระเมรุมาศให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นผู้ทรงคัดเลือก และพระองค์ได้ตรัสกับตนว่า ฉันจำคุณได้ ซึ่งเป็นประโยคที่ตนจะรู้สึกดีใจอย่างมากในวันนั้น และภาพที่แสดงให้เห็นถึงการทรงงานของพระองค์ที่โรงขยายแบบวิธานสถาปกศาลา ซึ่งเป็นชื่อที่พระองค์พระราชทานนามให้ แสดงให้เห็นถึงความใส่ใจและมีความละเอียดในการทรงงานในทุกๆ ครั้ง

 

 

 

 

และอีกภาพที่แสดงให้เห็นถึงผังการออกแบบพระเมรุมาศที่มีความงดงามและมีความหมายทั้งสิ้น แม้จะเป็นภาพที่เราภูมิใจที่ได้มีโอกาสทำหน้าที่นี้ แต่ในขณะเดียวกันก็รู้สึกเจ็บปวดไปด้วย แต่ในการสร้างครั้งนี้มี 2 แนวความคิดคือ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเป็นสมมติเทพ คือพระนารายณ์ และมีครุฑมาสร้างเป็นเสาเพื่อเป็นส่วนประกอบ และพระองค์ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ ทรงครองราชย์ด้วยทศพิธราชธรรม และการออกแบบที่ต้องชัดเจนเลยคือ พระเมรุมาศต้องเป็นทรงบุษบกเท่านั้น ซึ่งในการออกแบบก็มีหลายส่วนเข้ามาช่วย เพื่อให้สมพระเกียรติของพระองค์มากที่สุด อีกภาพที่มีความหมายที่ดูแล้วสะเทือนใจ คือภาพของการก่อสร้างพระเมรุมาศแล้วมีเด็กคนหนึ่งยืนมองอยู่นั้น ทำให้เราได้คิดว่า สิ่งหนึ่งกำลังจะจากไป แต่อีกสิ่งหนึ่งกำลังจะเติบโตขึ้น ส่วนภาพสุดท้ายคือภาพความอลังการและยิ่งใหญ่สมกับพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเสียสละตนเพื่อประชาชนไทยก่อเกียรติกล่าว

แหล่งค้นคว้า : https://www.thaipost.net/main/detail/20948



เข้าชม : 512


ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

      2 เมษายน 2567 เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2 / เม.ย. / 2567
      วันมาฆบูชา 2567 ตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 23 / ก.พ. / 2567
      วันตรุษจีน 2567 ตรงกับวันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567 8 / ก.พ. / 2567
      ขอเชิญร่วมลงนาม น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ เนื่องในวันชาติและวันพ่อแห่งชาติ 3 / ธ.ค. / 2566
      23 ตุลาคม 2566 วันปิยมหาราช 21 / ต.ค. / 2566


 
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดตรัง  
ถนนพระรามหก  ตำบลทับเที่ยง  อำเภอเมือง    จังหวัดตรัง  075213051
libtrang075@gmail.com

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05