[x] ปิดหน้าต่างนี้
 



 
                   
เมืองผู้นำยางพารา เทิดรัษฎานุประดิษฐ์ เมืองมิตรวัฒนธรรม หมูย่าง ติ่มซำรสเลิศ เปิดประตูสู่อันดามัน สวรรค์นักท่องเที่ยว
 

  

นักเขียนคนตรัง
นักเขียนคนตรัง

อาทิตย์ ที่ 8 เดือน มกราคม พ.ศ.2555




ประวัติส่วนตัว

            จิระนันท์  พิตรปรีชา  เกิดเมื่อวันที่  25  กุมภาพันธ์  2498  ที่ตำบลทับเที่ยง  อำเภอเมือง  จังหวัดตรัง  บิดาชื่อนายนิรันดร์  พิตรปรีชา  มารดาชื่อนางจิระ  พิตรปรีชา  มีพี่น้องรวม 3 คน   คือพี่ชาย นายจิรายุสถ์  พิตรปรีชาและน้องชายนายจิระพัฒน์  พิตรปรีชา   มารดาเคยเป็นครูโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดตรัง   สอนวิชาคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษแต่ลาออกมาทำธุรกิจร้านเครื่องเขียนและร้านขายหนังสือ      ซึ่งเป็นพื้นฐานให้จิระนันท์   พิตรปรีชามีนิสัยรักการอ่านและการเขียนมาตั้งแต่เด็ก   ด้านครอบครัวสมรสกับนายเสกสรรค์  ประเสริฐกุล    มีบุตรชาย  2  คนคือ นายแทนไท  ประเสริฐกุล  และนายวรรณสิงห์  ประเสริฐกุล  ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่  87/1  ซอยศุภราช 1  ถนนพหลโยธิน  กรุงเทพมหานคร

 

ประวัติการศึกษา

            1)  ระดับอนุบาลถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  จากโรงเรียนบูรณะรำลึก  จังหวัดตรัง

            2)  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - 7  จากโรงเรียนยุวราษฎร์วิทยา  จังหวัดตรัง

            3)  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 2  จากโรงเรียนสภาราชินีจังหวัดตรัง

            4)  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์

            5)  ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 5 จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา  เขตพญาไท

            6)  ระดับปริญญาตรี คณะเภสัชศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

            7)  ระดับปริญญาตรี  สาขารัฐศาสตร์  จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล  ประเทศสหรัฐอเมริกา

            8)  ระดับปริญญาโท  สาขาประวัติศาสตร์  จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล   ประเทศสหรัฐ

                  อเมริกา

 

เกร็ดชีวิตในขณะที่เป็นนักศึกษา

            ในขณะที่กำลังศึกษาอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น  จิระนันท์  พิตรปรีชาไม่ได้เรียนจบหลักสูตร  เนื่องจากเกิดสถานการณ์ทางการเมือง   ระหว่าง    .. 2515 - 2518       เป็นเหตุให้

จิระนันท์ต้องหนีเข้าป่า จนถึงปี พ.. 2523  และเมื่อออกจากป่า  ได้ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยคอร์แนล  ประเทศสหรัฐอเมริกาจนสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีรัฐศาสตร์เกียรตินิยม พ.. 2528 - 2531  ได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท   สาขาประวัติศาสตร์    ในมหาวิทยาลัยเดียวกันและใน

.. 2532   ในขณะที่กำลังทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอก     ก็ได้รับรางวัลวรรณกรรม

สร้างสรรค์แห่งอาเซียน   ภาระกิจหลังได้รับรางวัลทำให้การศึกษาในระดับปริญญาเอกต้องหยุดพักชั่วคราว

            ความสนใจเกี่ยวกับงานเขียนและงานหนังสือของจิระนันท์  พิตรปรีชา  เริ่มที่โรงเรียนสภาราชินี    จังหวัดตรัง     โดยขณะที่กำลังเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   ได้เริ่มออกหนังสือพิมพ์นักเรียนชื่อ ไก่แก้ว  โดยทำหน้าที่ทั้งคิด เขียน และรวบรวมต้นฉบับจากเพื่อนๆ มาพิมพ์ดีดแล้วนำไปติดไว้หน้าห้องสมุดให้เพื่อน ๆ  ร่วมโรงเรียนได้อ่าน  ส่วนผลงานการประพันธ์ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ต่อสาธารณะเป็นครั้งแรกเมื่ออายุ  12 ปี โดยตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นชื่อ เสียงราษฎร์ที่มีนายสุรินทร์  มาศดิตถ์  เป็นบรรณาธิการ   หลังจากนั้นจึงเริ่มส่งบทกวีไปลงพิมพ์ในนิตยสารต่าง ๆ  ที่ส่วนกลาง ได้แก่นิตยสารจักรวาล   ชัยพฤกษ์  และวิทยาสาร   ในช่วงเรียนระดับมัธยม  จิระนันท์ได้รับรางวัลหลายครั้งด้วยกัน   เช่น  ได้รับรางวัลร้อยกรองชนะเลิศระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  ในการประกวดกลอนระดับจังหวัดในวาระ วันปิยมหาราช

ประจำปี  2512  และรางวัลชนะเลิศอีก  3  ครั้ง จากการประกวดบทกลอนและแปลคำระพันธ์ภาษาอังกฤษเป็นบทกลอนในนิตยสารชัยพฤกษ์และวิทยาสาร

            ในปี พ.. 2515     จิระนันท์   พิตรปรีชา     สอบเข้าเรียนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น 

จิระนันท์ได้รับคัดเลือกให้เป็น ดาวจุฬาฯซึ่งในปีนั้นการคัดเลือกเน้นการพิจารณาที่ความสามารถ  ความคิดความอ่าน  บุคลิกภาพและปฏิภาณไหวพริบแทนค่านิยมเก่าที่เน้นความสำคัญของรูปโฉมและพื้นเพฐานันดร  ในฐานะ ดาวจุฬา  จิระนันท์ได้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย เช่น ชมรมวรรณศิลป์และชมรมถ่ายภาพ  ในขณะเดียวกันก็สนใจอ่านหนังสือที่มุ่งเสนอความคิดเห็นทางสังคมใหม่ ๆ ในช่วงนั้นอย่างกว้างขวาง เช่น วารสารสังคมศาสตร์ปริทัศน์  ชัยพฤกษ์ฉบับนักศึกษาประชาชน  และนิตยสารวรรณกรรมเพื่อชีวิต  เป็นต้น  และจากการสนใจความคิดใหม่ ๆ เช่นนี้เอง  ส่งผลให้จิระนันท์กลายเป็นผู้นำของขบวนการนิสิตนักศึกษาในเวลาต่อมา  เมื่อศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย  ภายใต้การนำของเลขาธิการคือ นายธีรยุทธ  บุญมี  ทำการเคลื่อนไหวรณรงค์ต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น  ในช่วงเดือนพฤศจิกายน   .      . 2515       โดยจิระนันท์  ได้เข้าร่วมเดินขบวนและร่วมปราศรัยตามท้องถนนอย่างเข้มแข็ง  จนในที่สุดเมื่อขบวนการนักศึกษาในช่วงดังกล่าว      ได้เคลื่อนไหวเรียกร้องรัฐธรรมนูญอันเป็นชนวนให้เกิด

เหตุการณ์ วันมหาวิปโยค    วันที่  14   ตุลาคม  2516  จิระนันท์   ก็ได้เข้าร่วมในฐานะผู้นำนิสิต

นักศึกษาคนสำคัญคนหนึ่ง      หลังเหตุการณ์ดังกล่าวจบสิ้นลง    หนังสือพิมพ์  ประชาธิปไตย

รายวัน  ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในขณะนั้นได้เปิดการโหวตเสียงจากผู้อ่าน  จิระนันท์ ได้รับคะแนนสูงสุดในฐานะ “Woman Of Year”

            หลังเหตุการณ์  14  ตุลาคม  2516  ขบวนการนิสิตนักศึกษาได้ทำการเผยแพร่ประชาธิปไตยอย่างกว้างขวาง  ขณะเดียวกันความขัดแย้งทางการเมืองก็ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นในสังคมไทย  มีการลอบทำร้ายและข่มขู่ผู้นำนักศึกษา  กรรมกรและชาวไร่ชาวนา  เพิ่มขึ้น  จากการวิเคราะห์สถานการณ์ทางเมืองช่วงนั้น  ทำให้จิระนันท์และกลุ่มนักเคลื่อนไหวจำนวนหนึ่งหลบหนีออกนอกประเทศก่อนที่จะกลับมาร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย    ต่อสู้ในเขตป่าเขา  หลังเหตุการณ์นองเลือดในวันที่  6  ตุลาคม  2519

            จิระนันท์  พิตรปรีชา  ใช้ชีวิตคู่กับนายเสกสรรค์  ประเสริฐกุล  ผู้นำนักศึกษาคนสำคัญในเหตุการณ์วันที่  14  ตุลาคม  2516 ในขณะที่หลบอาศัยอยู่ในป่า  โดยพำนักอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งในประเทศลาวและภาคเหนือของประเทศไทย  ในช่วงดังกล่าวจิระนันท์ มีผลงานด้านการประพันธ์เป็นหนังสือชื่อ   เกิดในกองทัพ    โดยได้รับการสนับสนุนจากกวีนักปฏิวัติรุ่นเก่าผู้มี

ชื่อเสียงคือ  นายผีหรือ  อัศนี  พลจันทร์   และในช่วง   .. 2523    เมื่อความขัดแย้งระหว่างนักศึกษาปัญญาชนที่หลั่งไหลจากเมืองเข้าป่าหลังเหตุการณ์   วันที่  6  ตุลาคม   2516  กับแกนนำรุ่นเก่าของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยถึงจุดแตกหัก  จิระนันท์  พิตรปรีชากับนายเสกสรรค์  ประเสริฐกุล   จึงตัดสินใจเดินทางลงจากภูเขาในเขตอำเภออุ้งผาง   จังหวัดตาก   เข้ารายงานตัวกับทางราชการที่ศาลากลางจังหวัดอุทัยธานี  และในปีต่อมาก็เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา  7 ปี  และในปี พ.. 2531  นายเสกสรรค์  ประเสริฐกุล  สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก  เดินทางกลับประเทศไทยเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ในคณะรัฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ส่วนจิระนันท์  ได้รับทุนมาทำวิจัยเตรียมเขียนวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอกด้านประวัติศาสตร์   และเริ่มเขียนบทความ  กวีนิพนธ์  และสารคดีตามหน้านิตยสารอีกครั้งหลังจากที่ห่างหายไปนาน   จนกระทั่งได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่ง

อาเซียน  (The S.E.A.WRITE AWARD)  ในปี พ.. 2532  นอกจากงานเขียนทั่วไปแล้วจิระนันท์ยังรับแปลบทภาพยนตร์ สังกัด บริษัท UIP มีผลงานแปลบทภาพยนตร์มาแล้วร้อยกว่าเรื่องที่ผู้ชมชาวไทยรู้จักดีได้แก่  เรื่อง Forrest Gump , Schindler''s List, Jurassic Park, Twister และ The Kost World. เป็นต้น   นอกจากนี้ยังช่วยงานสังคม คือเป็นกรรมการมูลนิธิสืบ  นาคะเสถียร  ติดต่อกันสองสมัย

 

ผลงานด้านการประพันธ์

            1)  .. 2516  บทกวี   ดอกไม้จะบาน    มีผู้นำไปใส่ทำนองเป็นเพลงรับน้องใหม่ตาม

สถาบันการศึกษาต่าง ๆ  และบริษัทเพลงนำไปให้นักร้องบันทึกเสียงกลายเป็นเพลงที่ โด่งดังจนถึงปัจจุบัน

2)  .. 2517 บทกวี  อหังการของดอกไม้  กลายเป็นสื่อแทนสำนึกของสตรีไทย

รุ่นใหม่และถูกนำไปใช้ในวาระและโอกาสต่าง ๆ  ที่เกี่ยวกับบทบาทสตรีอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

3)  .. 2518  เสียงร้องของประชาชน  รวมงานแปลจากบทกวีภาษาอังกฤษของ คิม ซี

ฮาร์  นักสู้เพื่อประชาธิปไตยในเกาหลี

4)  .. 2518  โลกที่สี่ : ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของหญิงไทย   หนังสือรวมบทความ ข้อเขียนทั้งเก่าและใหม่ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสตรีโดยจิระนันท์  รับหน้าที่เป็นทั้ง  นักเขียนและบรรณาธิการ

5)  .. 2524  เศษธุลี  บทกวีสะท้อนบาดแผลของคนหนุ่มสาวในยุคสมัยที่พ่ายแพ้

ชะตากรรมตัวเองต้อง ออกป่าคืนเมือง  ลงพิมพ์ในนิตยสารการะเกด  และได้รับรางวัลบทกวีดีเด่นประจำปี 2524   ของสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย

6)  .. 2532  ห้องสีเหลืองกับผู้หญิงคนนั้น  งานแปลจากนิยายขนาดสั้น  “ The   

Yellow  Wallpaper”   ของ Charlotte Perkins Gillman

7)  .. 2532  ใบไม้ที่หายไป : กวีนิพนธ์แห่งชีวิต  รวมเล่มบทกวีคัดสรรจากบันทึก  ชีวิตที่กระจัดกระจายในช่วงปี พ.. 2515 - 2529  ได้รับรางวัลซีไรท์   ประจำปี พ.. ได้จัดพิมพ์จำหน่ายหลายครั้ง  มียอดขายสูงสุดต่อเนื่องเกือบสองแสนเล่ม  และ บางส่วนถูกนำไปแปลเป็นภาษาต่าง ๆ

            8)  .. 2533  บทกวีไม่มีชื่อ  เขียนไว้อาลัยในงานพระราชทานเพลิงศพ  สืบ นาคะ

เสถียร หัวหน้าเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและนักอนุรักษ์ธรรมชาติคนสำคัญ   ถูกนำไป

เผยแพร่ในบทความและสารคดีโทรทัศน์อย่างแพร่หลาย  จนเกิดกระแส  สำนึกอนุรักษ์ธรรมชาติขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน

9) .. 2534 “สมุดบันทึกธรรมชาติ  ผลงานคำประพันธ์บรรยายภาพถ่ายธรรมชาติฝีมือดวงดาว  สุวรรณรังษี  ในสมุดบันทึกที่จัดพิมพ์จำหน่ายเพื่อมอบรายได้ให้มูลนิธิสืบ  นาคะเสถียร  ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น  กลายเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในวงการหนังสือหายาก   เพราะเมื่อวางจำหน่ายแล้วหมดภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน

            10)  .. 2534  ลูกผู้ชายชื่อนายหลุยส์  ตำนานชีวิตของลูกชายแหม่มแอนนา ลีโอโน 

เวนส์  เรียบเรียงจาก  Louis And The King of Siam  ของ  W.S Bristowe และก่อน  รวมเล่มลงพิมพ์ในต่อเนื่องในนิตยสารแพรว

            11)  .. 2535 บทกวี  ฝนแรก  ซึ่งเขียนขึ้นระหว่างเกิดเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ  และ

ถูกนำไปเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์  ไทยรัฐ  เป็นแห่งแรก  ได้รับรางวัลบทกวีดีเด่น   ประ จำปี 2535    จากสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย  และถูกนำไปใส่ เป็นทำนองเพลง  ซึ่งขับร้องในรูปแบบของเพลงเพื่อชีวิต

12)       .. 2536 ได้รับเชิญจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยให้เดินทางไปบันทึกภาพ

และข้อมูลที่เมืองหลวงพระบาง  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเพื่อเขียนบทความเรื่อง ล้านช้างร่มขาวศรีสัตนาคนหุ  หลวงพระบาง    ลงพิมพ์ในนิตยสาร   ...  ฉบับเดือนสิงหาคม    นับเป็นจุดเริ่มต้นของสารคดีท่องเที่ยวที่จิระนันท์เขียน    ออกมาอีกหลายเรื่องในเวลาต่อมา

13)       .. 2539  ส่งเสด็จ  ในวาระที่ชาติไทยต้องสูญเสียสมเด็จพระศรีนครินทราบรม

ราชชนนี  ตีพิมพ์บนปกหนังสือพิมพ์  สยามโพสต์   และถูกนำไปใช้ต่ออย่างแพร่      หลายทางสื่อวิทยุโทรทัศน์และสิ่งพิมพ์  โดยได้รับการยกย่องว่า  สามารถใช้ถ้อยคำ   เรียบง่ายมาแทนความรู้สึกในใจของพสกนิกรทั่วไปอย่างลึกซึ้งที่สุด

14)       .. 2540  อีกหนึ่งฟากฝัน : บันทึกแรมทางของชีวิต  ผลงานบันทึกอัตชีวประวัติ  

32 ตอนจบลงพิมพ์ต่อเนื่องในนิตยสารแพรว (สถาพร  ศรีสัจจัง, 2542 :1677-1679)

15)       .. 2550  เดอะซีเคร็ต” ( The Secret) เป็นงานแปลเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องการดำเนิน

ชีวิต ทั้งในด้านความรัก การงาน ความมั่งคั่งและสุขภาพเป็นหนังสือที่ขายดีอันดับ 1 ในนิวยอร์ก

 

นามปากกา

            1)  จิระนันท์  พิตรปรีชา

2)  บินหลา  นาตรัง

 

รางวัลเชิดชูเกียรติ

            1)  เศษธุลี ได้รับรางวัลบทกวีดีเด่นประจำปี  2524   จากสมาคมภาษาและหนังสือแห่ง

                   ประเทศไทย

2)  ใบไม้ที่หายไป  ได้รับรางวัลซีไรท์ประเภทกวีนิพนธ์  เมื่อ  .. 2532

3)  ฝนแรก ได้รับรางวัลบทกวีดีเด่นประจำปี  2535   จากสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย  (http://www.amarinpockbook.com/)

 








ประวัติส่วนตัว

            ขจรฤทธิ์   รักษา   เกิดเมื่อวันที่   11   ตุลาคม   2506    ที่จังหวัดตรัง

 

ประวัติการศึกษา

            1)  เรียนจบระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวิเชียรมาตุ

            2)  เรียนจบระดับปวช.จากโรงเรียนกนกเทคโนโลยี

 

ประวัติการทำงาน

            เป็นบรรณาธิการสำนักพิมพ์บ้านหนังสือ  ขจรฤทธิ์  รักษา   ได้จัดหาเรื่องราวต้นฉบับดีๆ มาพิมพ์เผยแพร่ให้นักอ่านได้อ่านหนังสือดี ๆ กันอยู่เป็นประจำ  นอกจากเป็นบรรณาธิการสำนักพิมพ์บ้านหนังสือแล้ว  ขจรฤทธิ์  รักษา  ยังเป็นนักเขียนที่มีผลงานออกมามากมาย  ทั้งเรื่องสั้นและนวนิยาย  โดยบางเรื่องก็เขียนขึ้นมาจากประสบการณ์จริงที่ได้พบเห็นมา  เช่น เรื่องเมียของคนอังกฤษ  เขามีลีลาในการถ่ายทอดเรื่องราวได้น่าสนใจ  มีภาษาที่ตรงไปตรงมา  ในแต่ละเนื้อหาของเรื่องมีแง่มุมให้คิดและสะท้อนสภาพของสังคมรวมถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในด้านลึกลับได้เป็นอย่างดี

            สำนักพิมพ์บ้านหนังสือ ถือกำเนิดมาด้วยความตั้งใจของขจรฤทธิ์  ที่จะผลิตหนังสือที่มีเนื้อหาตามที่เขาต้องการและปรารถนาให้คนได้อ่านหนังสือดี ๆ  โดยไม่ตามกระแสความนิยมของตลาดหนังสือ  เขามีความคิดว่าจะต้องมีจุดยืนในการเขียนหรือสร้างงานเขียนให้มีคุณค่าของเนื้อหาสาระ  ไม่ใช้ความรู้ที่มีมาเขียนในลักษณะยั่วยุ หรือมอมเมาในด้านความคิด  ความเชื่อ  แต่ต้องสร้างศรัทธาให้ผู้อ่านเชื่อถือในคุณค่าของงานเขียน

ถึงจะได้ชื่อว่าเป็นคนวรรณกรรมที่แท้จริง 

ขจรฤทธิ์  รักษา  เป็นคนวรรณกรรมคนหนึ่งที่สร้างสรรค์อักษรด้วยความรัก  ความจริงใจ  และค่อย ๆ  ก้าวเดินจนสามารถยืนอยู่ได้ด้วยความสุข  ไม่โลภมาก  แต่ค่อย ๆ ทำให้สำนักพิมพ์บ้านหนังสือเติบโตตามลำดับไม่เกินกำลังจนเกินไป  โดยยึดถือหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเคร่งครัด  ทำให้เขาอยู่ได้อย่างมีความสุขและสำนักพิมพ์บ้านหนังสือสามารถอยู่ได้มาจนถึงทุกวันนี้และผลิตหนังสือดี ๆ  มีคุณค่าต่อผู้อ่าน

 

ผลงานด้านการประพันธ์

            เรื่องสั้น  ได้แก่

            1)  นักตกปลา

            2)  นักมวยดัง

            3)  วัยวิกฤต

            4)  คนรักเก่า

            5)  รักในรอยร้าว

            นวนิยาย  ได้แก่

            1)  วัยกลางคน

            2)  นางสำลี

            3)  ยาย

            4)  เมียคนอังกฤษ        
            5)  รักนอกสังเวียน

            6)  หญิงข้างถนน

            สารคดีท่องเที่ยว  ได้แก่

                 หลวงพระบาง

            ขจรฤทธิ์  รักษา  มีเอกลักษณ์ในการเขียนหนังสืออยู่ประการหนึ่งคือ  เขาสามารถเขียนถึงบุคลิกของคนได้ชัดเจน  เห็นภาพ  และทำให้รู้ถึงอุปนิสัยใจคอของบุคคลได้อย่างดี  เขียนได้อารมณ์และให้ความรู้สึกที่ดีกับตัวละคร  โดยพยายามทำให้ผู้อ่านได้สังเกตความเป็นไปของตัวละครที่เป็นจริง  ซึ่งถือเป็นเสน่ห์อย่างยิ่งของนักเขียน



ประวัติส่วนตัว

            อาจารย์เปลื้อง   คงแก้ว เกิดเมื่อวันที่ 26  สิงหาคม 2492 

ที่บ้านหนองยวน     ตำบลละมอ    อำเภอนาโยง       จังหวัดตรัง

เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง  8  คน บิดาชื่อนายกลับ  คงแก้ว

มารดาชื่อนางดำ  คงแก้ว  ทางด้านครอบครัวอาจารย์เปลื้อง  คงแก้ว

สมรสกับอาจารย์สุมลรัตน์    คงแก้ว(อภิรักษ์ศรานนท์) 

ซึ่งเป็นชาวจังหวัดชลบุรี  มีบุตรธิดา  2  คน  คือ

            1) นางสาวณมน  คงแก้ว  เรียนจบคณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

            2) นายณพล  คงแก้ว  เรียนจบคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาจารย์เปลื้อง  คงแก้ว  เป็นครู - กวี - นักต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม อุทิศตัวเพื่อคนอื่น เนื่องด้วยมีวิถีชีวิตอยู่ในหมู่บ้านชนบท  เมื่อได้เห็นบุคคลที่มีอำนาจเอารัดเอาเปรียบผู้ที่ด้อยกว่าจึงเกิดความรู้สึกว่าสังคมไม่เป็นธรรมจึงแสดงออกมาด้วยความคิดที่เป็นอักษร  ทำให้คนหลาย ๆ ฝ่ายมองว่าอาจารย์เปลื้อง  คงแก้ว เป็นผู้ปลุกระดมทางความคิดให้ประชาชนต่อต้านอำนาจของรัฐ

 

ประวัติการศึกษา

            1) ระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนเพาะปัญญา  จังหวัดตรัง   จบปี พ.. 2506

            2) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนวัดควนวิเศษ  จังหวัดตรัง  จบปี พ.. 2509

            3) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนสภาราชินี  จังหวัดตรัง  จบปี พ.. 2512

            4) ระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน  จังหวัดชลบุรี  จบปี พ.. 

                 2516

 

ประวัติการทำงาน

            1)  .. 2517 เป็นครูอัตราจ้างที่โรงเรียนสภาราชินี  จังหวัดตรัง

            2)  .. 2518 รับราชการครูที่โรงเรียนสภาราชินี          จังหวัดตรัง

            3)  .. 2519 โรงเรียนทุ่งสุขศาลา  จังหวัดชลบุรี

            4)  .. 2520 โรงเรียนสภาราชินี  จังหวัดตรัง 

            5)  .. 2542  เข้าโครงการเกษียณราชการก่อนอายุ    ออกมาเป็นข้าราชการบำนาญ

 

ในขณะที่รับราชการครูที่โรงเรียนสภาราชินี  เกิดเหตุการณ์ที่นิสิต  นักศึกษา  ประชาชน

รวมตัวกันเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยจากรัฐบาล  โดยกล่าวหาว่ารัฐบาลเป็นเผด็จการ ไม่ความเป็นธรรมในสังคม ทำให้อาจารย์เปลื้อง  คงแก้วเห็นว่าการเป็นครูสอนหนังสืออย่างเดียวไม่เพียงพอ  จึงเข้าร่วมกับนักเคลื่อนไหวในจังหวัดตรังเรียกร้องประชาธิปไตย  สิทธิ  เสรีภาพ ในนาม กลุ่มครูเสรีชน  จนเกิดการปราบปรามผู้ชุมนุมเคลื่อนไหว ส่งผลให้ กลุ่มครูเสรีชนบางคนถูกจับกุมและบางคนต้องหนีเข้าป่า  ส่วนอาจารย์เปลื้อง  คงแก้วถูกข้อหา ฝักใฝ่ในลัทธิคอมมิวนิสต์   ทำให้อาจารย์เปลื้อง  คงแก้ว    ต้องย้ายไปเป็นครูที่โรงเรียนทุ่งสุขศาลา  อำเภอศรีราชา    จังหวัดชลบุรี  

            ในปี พ.. 2521 เมื่อสถานการณ์ปราบปราม  นิสิต  นักศึกษา  ประชาชน เริ่มคลี่คลาย   อาจารย์เปลื้อง  คงแก้วจึงย้ายครอบครัวกลับจังหวัดตรังอีกครั้ง โดยเข้ารับราชการที่โรงเรียนสภาราชินี  จากนั้นจึงใช้เวลานอกห้องเรียนเดินทางไปตามริมป่าเขาเขต 3  จังหวัด  คือ  จังหวัดตรัง พัทลุง  สตูล เพื่อหาแนวทางการต่อสู้เพื่อสังคมที่ดีงามตามที่มุ่งหวัง  และในที่สุดก็ได้เป็นผู้ปฏิบัติงานเมืองประสานป่า  ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ในนาม  สหายแจ้ง เทือกบรรทัดจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ป่าแตก  หลังจากเหตุการณ์ป่าแตกอาจารย์เปลื้อง  ได้ร่วมกับเพื่อนครูในโรงเรียนหันมาสร้างบรรยากาศแนวรบด้านวัฒนธรรมให้คึกคักยิ่งขึ้น  โดยการจัดอภิปรายวรรณกรรม  การจัดตั้งกลุ่มวรรณกรรม การทำหนังสือพิมพ์  เป็นต้น  จนในปี พ.. 2529 อาจารย์เปลื้อง   คงแก้ว  เริ่มรู้จักกับองค์กรพัฒนาเอกชนที่เข้ามาทำงานในจังหวัดตรัง    ตั้งแต่นั้น

บทบาทของอาจารย์เปลื้อง  คงแก้ว  ผู้ได้สมญา คนตรง  เมืองตรัง  ก็เริ่มโดดเด่นเป็นที่รู้จักในสังคมภาคใต้และในระดับประเทศอย่างกว้างขวาง   ในฐานะผู้อุทิศตัวเป็นที่ปรึกษา   กรรมการ  ผู้เคียงบ่าเคียงไหล่ร่วมทุกข์ร่วมสุขของประชาชนผู้ยากไร้ และยึดมั่นในแนวทางการเมืองภาคพลเมือง  โดยแยกบทบาทได้ดังนี้

 

บทบาทด้านการเมือง

            1) เป็นประธานองค์กรกลางจังหวัดตรัง  3  สมัย (..2535, 2538, 2539)

            2) เป็นกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย  จังหวัดตรัง

            3) เป็นกรรมการรณรงค์ประชาธิปไตย

            4) เป็นแกนนำคนสำคัญของจังหวัดตรัง  ในการต่อต้านเผด็จการช่วงเหตุการณ์

                 พฤษภาทมิฬ  .. 2535

            5) เป็นนักพูด  นักปราศรัย  ทางการเมืองภาคพลเมืองที่ได้รับการยอมรับนับถือถึงคารมที่แหลมคมที่สุดในจังหวัดตรัง

 

บทบาทด้านสังคม

            เป็นครูผู้ริเริ่มนำนักเรียนออกค่ายอนุรักษ์นอกประตูโรงเรียน  โดยการออกไปตาม

ท้องถิ่นชนบทต่าง ๆ จนสามารถสร้างนักกิจกรรมทางสังคม  และนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในจังหวัดตรังขึ้นมากมาย  ดังเช่น

            1) เป็นผู้ประสานและผลักดันให้เกิดศูนย์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมขึ้นในจังหวัดตรัง

            2)  เป็นผู้เข้าร่วมเรียกร้อง  ต่อสู้กับกลุ่มอำนาจที่มุ่งทำลายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ธรรมชาติเพื่อประโยชน์ส่วนตน  ทั้งในจังหวัดตรังและนอกจังหวัดอย่างสม่ำเสมอ   

3)  เป็นผู้เข้าร่วมเรียกร้องและต่อสู้ให้กำลังใจชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากอำนาจ นโยบายรัฐ     จนเป็นที่เคารพนับถือ   รักใคร่ของชาวบ้านและคนทำงานทางสังคมของภาคใต้ทั่วประเทศ

 

บทบาทด้านวรรณกรรม

            อาจารย์เปลื้อง  คงแก้ว  เริ่มฝึกเขียนกาพย์  กลอนตั้งแต่เรียนชั้นมัธยม  โดยได้รับอิทธิพลจากกลอนหนังตะลุง   มโนราห์ในเบื้องต้น   และได้รับอิทธิพลจากอาจารย์เจียมจิต  บุญญานุรักษ์

และอาจารย์บุญครอง   ตาระวางกรู   จัดรายการลำนำเพลงในวิทยุซึ่งเป็นรายการที่อาจารย์เปลื้องชอบฟัง ทำให้ซึมซับความไพเราะของกาพย์ กลอน   และยังมีเพื่อนร่วมรุ่นที่สนใจในวรรณกรรมกาพย์กลอน  เช่น   สถาพร  ศรีสัจจัง     สุประวัติ  ใจสมุทร    โดยร่วมกันจัดทำวารสารฝาผนังชื่อ

หมากขาม    เกิดขึ้นในโรงเรียนอย่างคึกคัก      เมื่อไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยวิชาการศึกษา

บางแสน   อาจารย์เปลื้อง  คงแก้วก็ยังเป็นประธานชมรมวรรณศิลป์  ดำเนินกิจกรรมการเขียนการอ่านอย่างจริงจัง    เมื่อจบการศึกษามารับราชการครูก็ได้ร่วมกับเพื่อนครูในโรงเรียนจัด

กิจกรรมการเขียนการอ่านขึ้นในโรงเรียนอย่างคึกคัก        โดยการเชิญนักเขียนจากมาบรรยายให้

นักเรียนฟังทุกปีส่งผลให้ลูกศิษย์กลายเป็นนักเขียนในเวลาต่อมาหลายคน เช่น สุรวิชญ์  วีรวรรณ    ณัฐกานต์ ลิ่มสถาพร  และขจรฤทธิ์  รักษา  สุวิทย์  ขาวเนียม  ในด้านวรรณกรรมอาจารย์เปลื้องได้จัดตั้งกลุ่มวรรณกรรม บุดใหม่ขึ้นกับอาจารย์สมเจตนา  มุนีโมไนย โดยเขียนงานออกเผยแพร่ทั้งส่วนท้องถิ่นและส่วนกลางจนเป็นที่ยอมรับของคนในแวดวงวรรณกรรม

            ปี พ.. 2528   อาจารย์เปลื้อง   คงแก้ว   ได้ร่วมกับเพื่อน ๆ   ออกหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นชื่อ แนวทาง  ขึ้นในจังหวัดตรัง  โดยใช้พื้นที่คอลัมน์  ที่พักเดินทาง  โดยนาม    เทียน  ส่องไท   เขียนวิพากษ์วิจารณ์สังคมและการเมืองอย่างกล้าหาญเป็นเหตุให้ถูกนักการเมืองฟ้องร้อง  จากนั้นอาจารย์เปลื้อง    ได้หันไปสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อม      จนมีผลงานเขียนวรรณกรรมออกมาน้อย  จนกระทั่งกลับมาเขียนหนังสือเผยแพร่อย่างจริงจังใหม่อีกครั้ง  โดยใช้นามปากกาว่า 

เทือก บรรทัด  ในบทกวีเล่มแรกชื่อ กลางคลื่นกระแสกาลเข้ารอบการประกวดรางวัลซีไรต์  ห้าเล่มสุดท้าย  เมื่อปี  .. 2541

            ในปี พ.. 2542  อาจารย์เปลื้อง   คงแก้ว  ได้เข้าโครงเกษียณราชการก่อนอายุ  จึงทำให้มีเวลาในการเขียนหนังสือมากขึ้น      ซึ่งนอกจากนี้ยังรับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายด้านวรรณกรรม  ผู้คนในแวดวงวรรณกรรมและนักอ่านทั้งหลายที่ได้ติดตามผลงานของอาจารย์เปลื้อง        คงแก้วมักจะกล่าวกันว่า  นับวันยิ่งเขียนยิ่งนิ่ง ยิ่งคมและยิ่งลึก

 

ผลงานด้านการประพันธ์

            1)  กวีนิพนธ์  กลางคลื่นกระแสกาล  .. 2541 เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์

            2)  กวีนิพนธ์  เพราะน้ำรินไหลจึงใสเย็น  .. 2544

            3)  กวีนิพนธ์  บึงพระจันทร์  .. 2547

            4)  กวีนิพนธ์และความเรียง  ตัวตนกลางคลื่นกระแสกาล  .. 2547

                  เขียนร่วมกับญิบ พันจันทร์ (จรัล  พากเพียร)

 

นามปากกาที่ใช้

            1)  ช่อแก้วเป็นนามปากกาที่อาจารย์เปลื้อง  คงแก้วใช้เขียนบทกวีในสมัยเรียนหนังสือ 

            2) “เทือกบรรทัดเป็นนามปากกาที่คำว่า เทือกกับ บรรทัด  เขียนติดกันตั้งขึ้นตอน

เหตุการณ์ป่าแตกตามคำสร้อยของชื่อ สหายแจ้ง  เทือกบรรทัดโดยมีนัยเจตนายืนยันถึงสิ่งที่เชื่อมั่นตามนัยของประโยคที่อาจารย์เปลื้องมักจะบอกว่า  เดินออกนอกทาง  (พรรค) ก็พบทาง

            3) “เทือก  เขาบรรทัดเป็นนามปากกาที่ใช้เขียนร่วมอยู่ในหนังสือ ย่ำไปบนใบไม้ร่วง  ของจรัล  พากเพียร

            4) “เทียน  ส่องไท  เป็นนามปากกาที่ใช้เขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์สังคมและการเมืองในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น

            5) “ตรง  เมืองตรัง  เป็นนามปากกาที่ใช้เขียนวิพากษ์วิจารณ์สังคมและการเมืองในหนังสือ จุลสารสานสัมพันธ์

            6) “เปลื้อง  คงแก้ว  เป็นนามจริงที่ใช้เขียนบทความ วิจารณ์สังคมและการเมือง

            7) “เทือก  บรรทัด  เป็นนามปากกาที่เขียนคำว่า เทือกกับ บรรทัด  ห่างกัน  

อาจารย์เปลื้อง  คงแก้ว ให้เหตุผลว่า    ที่ดินตรงสวนติดเทือกเขาบรรทัด  ก็เลยเอามาเป็น

ความหมาย   ส่วนอีกความหมายหนึ่งคือตระกูลของพ่อเป็นคนตรงไปตรงมา  ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม  พ่อเป็นคนพูดตรง  มีความหมายว่า เป็นเทือกเถาเหล่ากอที่ตรง….”

            อาจารย์เปลื้อง   คงแก้ว   หรือเทือก  บรรทัด   ถึงแก่กรรมเมื่อ   วันที่  29   สิงหาคม  2548 ที่โรงพยาบาลตรัง   ด้วยสาเหตุติดเชื้อในกระแสโลหิตทำให้หัวใจล้มเหลว   รวมอายุ   56 ปี  โดยก่อนเสียชีวิตได้รวบรวมกำลังครั้งสุดท้ายเขียนกวีแห่งชีวิตไว้อย่างงดงาม   ให้แก่ภรรยาไว้ว่า   เพราะฉันมีหัวใจ  ไว้หายใจ(http://www.thiango.org)



วิสุทธิ์ ขาวเนียม

 

 

เกิดในครอบครัวชาวสวนยางในจังหวัดตรัง เมื่อปี ๒๕๑๗ เรียนชั้นมัธยมที่โรงเรียนวิเชียรมาตุ เป็นศิษย์ของกวีเมืองตรัง เทือก บรรทัด และ พันดา ธรรมดา ขณะเรียนที่รามคำแหง ได้รวมตัวกับเพื่อนตั้งกลุ่มพูดคุยเรื่องวรรณกรรมขึ้น และเริ่มเขียนบทกวีอย่างจริงจัง ก่อนตัดสินใจเลือกวิถีชีวิตเรียบง่าย ประกอบอาชีพชาวสวนและเขียนบทกวีอยู่ที่บ้านเกิดจนถึงปัจจุบัน ครั้งหนึ่งกวีรัตนโกสินทร์ (เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์) เคยกล่าวถึงกวีหนุ่มผู้นี้ว่า เป็นกวีภาคใต้รุ่นใหม่ที่น่าจับตามองมากที่สุด
ปี ๒๕๓๙ บทกวีการมาเยือนของหายนะได้รับรางวัลชมเชยจากสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย ปี ๒๕๔๓ มีผลงานรวมเล่มบทกวีเล่มแรกในชื่อ เสียงผีเสื้อ ปี ๒๕๔๗ รวมเล่มบทกวีเล่มที่ ๒ คนโง่ปลูกดอกไม้ ในรูปแบบหนังสือทำมือ ปี ๒๕๔๘ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ (ไม่มีรางวัลชนะเลิศ) ประเภทบทกวีการเมือง รางวัลพานแว่นฟ้า จากบทกวี นาฬิกาสงคราม
วิสุทธิ์เป็นกวีรับเชิญกอง บ.ก. สารคดี มาเขียนคอลัมน์ ก ข ล้อสมัยพยัญชนะ ต ถ ท ธ

 

รับรางวัลชนะเลิศ เซเว่นบุ๊คอวอร์ดครั้งที่ 5 ประจำปี 2551

หนังสือประเภทกวีนิพนธ์ ลมมลายู’ 

            วันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 วิสุทธิ์ ขาวเนียม กวีหนุ่มชาวตรัง เดินทางไปรับรางวัลชนะเลิศ เซเว่นบุ๊ค อวอร์ด’ ประเภทกวีนิพนธ์ ลมมลายูณ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพมหานคร

            กวีนิพนธ์ ลมมลายู’ เป็น หนังสือรวมบทกวีชุดที่กำลังเผยแพร่อยู่ในหนังสือพิมพ์ฅนตรัง ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นรายปักษ์ของจังหวัดตรัง และส่งเข้าประกวดครั้งนี้ในนามของสำนักพิมพ์ฅนตรัง โดยจัดพิมพ์เพียงจำนวนน้อยเพื่อการส่งเข้าประกวดเท่านั้น

            ท่าน ผู้อ่านที่มีความสนใจหนังสือเล่มนี้ โปรดรอคอยการพิมพ์ครั้งต่อไป ที่กำลังดำเนินการอยู่ คาดว่าน่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม นี้

            อนึ่ง วิสุทธิ์ ขาวเนียม เคยเป็นนักเขียนเจ้าของผลงาน วิหารใบไม้ ซึ่งเข้ารอบ 16 คนสุดท้าย ในการประกวดชิงรางวัลซีไรต์ ประเภทบทกวี เมื่อปีที่แล้ว (2550)


ประวัติส่วนตัว

            นายจรัล  พากเพียร  เกิดเมื่อวันที่  8  เมษายน  2494  ที่บ้านนาตาล่วง  อำเภอเมือง  จังหวัดตรัง  บิดาชื่อนายเตริ้น  พากเพียร  มารดาชื่อนางกิ้มลี้  พากเพียร   ปัจจุบันนายจรัล  พากเพียร  อยู่บ้านเลขที่  422  เชิงสะพานหัวช้าง  ปทุมวัน  กรุงเทพฯ 10330

 

ประวัติการศึกษา

            1)  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3   จากโรงเรียนวัดราษฎร์รื่นรมย์   บ้านบ่อสีเสียด

อำเภอเมือง  จังหวัดตรัง

            2)  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4   จากโรงเรียนบ้านนาตาล่วง   อำเภอเมือง  จังหวัดตรัง

            3)  ระดับประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูง   จากวิทยาลัยครูสงขลา   จังหวัดสงขลา

            4)  ระดับปริญญาตรี  สาขาภาษาไทย   จากวิทยาลัยวิชาการศึกษาสงขลา    จังหวัดสงขลา

(มหาวิทยาลัยทักษิณ)

5)  ระดับปริญญาโท  การศึกษาบัณฑิต  จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

จังหวัดสงขลา

6)  ระดับประกาศนียบัตรกฏหมายมหาชน  รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต   มหาวิทยาลัยธรรม                ศาสตร์

 

ประวัติการทำงาน

1)  รับราชการครั้งแรกที่โรงเรียนวิเชียรมาตุ  จังหวัดตรัง  .. 2517

2)  โรงเรียนปากน้ำวิทยาคม   เขตตลิ่งชัน   กรุงเทพมหานคร   ..2524

3)  เลขานุการอนุกรรมการสิทธิในการสื่อสารและเสรีภาพสื่อมวลชน  คณะกรรมกาสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในปัจจุบัน

 

ผลงานการประพันธ์

            เริ่มงานเขียนครั้งแรกเมื่อ   .. 2522     สาเหตุเพราะมีพื้นฐานทางการอ่านมาก่อนและรับผิดชอบงานสอนวิชาการประพันธ์       จึงจำเป็นต้องริเริ่มงานเขียนด้วยตนเองเพื่อให้เกิดความเชื่อถือต่อผู้เรียน  เริ่มงานเขียนครั้งแรกด้วยการเขียนประเภทกวีนิพนธ์และเรื่องสั้นไปพร้อม ๆ  กันงานเขียนเรื่องแรกคือ

1) “ที่ ๆ ยังไม่มีใครไปถึง  เป็นการเขียนเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติ  โดยการเขียนถึง

ความสวยงามและความสำคัญของเกาะตรุเตา  จังหวัดสตูล  ได้รับการตีพิมพ์ใน หนังสือ ลลนารายปักษ์ ในปี พ.. 2522

2) “บทเพลงแห่งความยากจนเป็นเรื่องของความทุกข์ยากของชาวสวนยาง ได้รับการ

ตีพิมพ์ในหนังสือ ลลนารายปักษ์ในปี พ.. 2522

3) “ความตายของชายไร้ชื่อ  เป็นกวีนิพนธ์  เนื้อหาเกี่ยวกับชาวสวนยางในเขตป่าเขาที่

เป็นเขตปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ก่อการร้าย ได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือ สยามนิกร

รายสัปดาห์  ในปี พ.. 2522

            4) “วันที่ดอกไม้บานไม่พร้อมกัน  เป็นเรื่องสั้น 1 ใน 10 เรื่องสั้นดีเด่น ของกลุ่ม

ศิลปะวรรณลักษณ์ในปี พ.. 2522

5) “รอยด่างของแผ่นดิน เป็นนวนิยายลงพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสารครูไทรายปักษ์

ตั้งแต่ต้นปี พ.. 2526    นิยายเรื่องนี้กล่าวถึงความขัดแย้งต่างๆ   ทางการเมืองในตำบลเล็กๆ  ของจังหวัดตรัง  โดยเขียนให้เห็นถึงสภาพความยากลำบากของชาวสวนยาง    สภาพของครูชนบทในภาคใต้และอิทธิพลมืดต่างๆ   นอกจากสารนิยายแล้วยังแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตและปัญหาต่าง ๆ ของชาวสวนยางโดยเฉพาะในเขตจังหวัดตรัง

6) “บาดแผลของภูผาได้รับรางวัลเรื่องสั้นดีเด่นแห่งปี 2525  จากสมาคมภาษาและ                    หนังสือแห่งประเทศไทย

7) “ทับตะวันได้รับคัดเลือก 1 ใน 15 เรื่องสั้นดีเด่น      ของสมาคมภาษาและหนังสือ                    ปี 2525

8) “คู่มือเลี้ยงลูกให้เป็นนายกรัฐมนตรี   เป็นหนังสือได้รับรางวัลชมเชยเซเว่นบุ๊ค                    อวอร์ดสประเภทหนังสือดีในอดีต

9) “ผีเสื้อละสายรุ้ง  เป็นนิยายที่เรียกร้องศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ให้กับชนกลุ่มน้อย    ในเทือกเขาบรรทัด  ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวครั้งที่ 9 ประจำปี 2550  จากบริษัทการ ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย   ซึ่งเป็นรางวัลโครงการต่อเนื่องจากโครงการปลูกป่า    เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว    จากบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

 

นามปากกา

            ญิบ  พันจันทร์  โดยเริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.. 2522 ผลงานที่เขียนมีทั้งบทกวี   เรื่องสั้น 

สารคดี  นวนิยาย (สถาพร  ศรีสัจจัง,2542 :1460)

 

รางวัลเชิดชูเกียรติ

1) .. 2522    เรื่องสั้น   วันที่ดอกไม้บานไม่พร้อมกัน  ได้รับรางวัล1 ใน 10 เรื่อง

สั้นดีเด่น  ของกลุ่มศิลปะวรรณลักษณ์

2) .. 2524 เรื่องสั้น  บาดแผลของภูผา  ได้รับรางวัลเรื่องสั้นดีเด่น   จากสมาคม

ภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย

            3)  .. 2525 เรื่องสั้น ทับตะวัน  ได้รับรางวัล1 ใน 10 เรื่องสั้นดีเด่น   จากสมาคม

ภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย

            4)  .. 2546 หนังสือ คู่มือเลี้ยงลูกให้เป็นนายกรัฐมนตรี  ได้รับรางวัลชมเชยประเภท

หนังสือดีในอดีต  รางวัลเซเว่นบ๊คส์  อวอร์ดส

            5)  .. 2550 นวนิยาย  ผีเสื้อและสายรุ้ง  ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวจากบริษัทการ

ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

            จากผลงานที่คุณภาพดังกล่าวจึงได้รับเชิญให้เป็นตัวแทนจากประเทศไทยไปร่วมประชุมนักเขียนแห่งเอเชีย  ที่เมืองบาเกียว  ประเทศฟิลิปปินส์  เมื่อเดือนพฤศจิกายน  ..2526  ปัจจุบันยังคงรับราชการอยู่ที่โรงเรียนปากน้ำวิทยาคม และยังคงเขียนหนังสือเป็นงานอดิเรกอย่างสม่ำเสมอ  นับว่า นายจรัล  พากเพียร  หรือ ญิบ  พันจันทร์  เป็นนักเขียนชาวตรังที่ประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่งผู้หนึ่ง (http://www.oknation.nel/blog/yipphancha)







เข้าชม : 9002


นักเขียนคนตรัง 5 อันดับล่าสุด

      นักเขียนคนตรัง 8 / ม.ค. / 2555


 
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดตรัง  
ถนนพระรามหก  ตำบลทับเที่ยง  อำเภอเมือง    จังหวัดตรัง  075213051
libtrang075@gmail.com

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05