[x] ปิดหน้าต่างนี้
 



 
                   
เมืองผู้นำยางพารา เทิดรัษฎานุประดิษฐ์ เมืองมิตรวัฒนธรรม หมูย่าง ติ่มซำรสเลิศ เปิดประตูสู่อันดามัน สวรรค์นักท่องเที่ยว
 

  

บทความทั่วไป
เทคนิคขับรถตอนน้ำท่วม

อาทิตย์ ที่ 30 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2554

คะแนน vote : 121  


ฝนฟ้าอากาศช่วงนี้แปรปรวนเหลือเกินนะครับ ฝากให้เพื่อนดูแลรักษาสุขภาพกันด้วย ถ้าหากวันไหนฝนตกจำเป็นต้องลุยน้ำเพื่อไปทำงานวันนี้ผมมีความรู้เรื่องการขับรถลุยน้ำมาฝากกันครับ

- ห้ามเปิดแอร์เด็ดขาด ในขณะขับรถลุยน้ำลึก หรือแม้จะน้ำตื้นก็ตาม
เพราะ สาเหตุที่รถดับ ส่วนใหญ่เกิดจากการเปิดแอร์แล้วขับลุยน้ำ ที่ผมบอกอย่างนี้ ก็เพราะว่า เมื่อเราเปิดแอร์ พัดลมจะทำงาน และอย่าลืมสิ ว่าเรากำลังลุยน้ำลึก อย่างที่ผมเจอวันนี้ ก็คิดว่าน่าจะเกินระดับพัดลม เพราะฉะนั้น ถ้าเราขืนเปิดพัดลมละก็ สิ่งที่จะตามมา ก็คือ ใบพัดจะพัดให้น้ำกระจายไปทั่วห้องเครื่อง แล้ว คุณลองคิดดูว่าอะไรจะเกิดขึ้น นั่นก็คือ เครื่องจะดับเอาง่าย ๆ หรือ ถ้าโชคดี หรือโชคร้าย ถ้าเครื่องไม่ดับ ใบพัดก็จะหมุน ๆ ซึ่งเราก็ไม่รู้หรอกว่า ขณะที่เราลุยน้ำ อะไรมันจะลอยมาบ้าง มันมีสารพัด ไม่ว่าจะเป็น ขยะ กิ่งไม้ ไม้หน้าสาม ถุงพลาสติก รองเท้า … สิ่งของพวกนี้ มันมีโอกาสที่จะเข้ามาในห้องเครื่อง แล้วโดนใบพัดตัดจนใบพัดหัก ซึ่งถ้าใบพัดหัก แน่นอนว่า เราขับรถต่อไปไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะระบบระบายความร้อนจะมีปัญหา

ข้อ 2 ควรใช้เกียร์ต่ำ สำหรับเกียร์ธรรมดา ก็ใช้ประมาณเกียร์ 2 หรือสำหรับออโต้ ก็ใช้เกียร์ L ก็ได้ครับ รวมถึงการขับขี่ที่มีความเร็วต่ำที่สุด
เท่าที่จะเป็นไปได้ และควรใช้ความเร็วสม่ำเสมอ อย่าหยุดอย่าเร่งความเร็วขึ้น

ข้อ 3 คือ ไม่ควรเร่งเครื่องให้รอบสูง ๆ เพราะเห็นผู้ขับขี่หลาย ๆ คนมักจะเร่งเครื่องแรง ๆ เพราะอะไรรู้ไหมครับ เพราะกลัวเครื่องดับ
เพราะกลัวน้ำเข้าท่อไอเสีย ซึ่งจริง ๆ แล้วมันเป็นความคิดที่ผิดมาก ๆ แท้ ที่จริงแล้ว การเร่งเครื่อง ยิ่งทำให้รถมีความร้อนสูงขึ้น เมื่อเครื่องมีความร้อนสูงขึ้น ใบพัดระบายความร้อนก็จะทำงาน และสิ่งที่จะตามมาก็เหมือนกับข้อ 1
ไม่ต้องกลัวว่าน้ำจะเข้าท่อไอเสียครับ เพราะต่อให้น้ำจะท่วมท่อไอเสีย แล้วคุณสตาร์ทรถอยู่ที่รอบเดินเบา แรงดันที่ออกมาเพียงพอที่จะดันน้ำออกมาอย่างสบาย ๆ ต่อให้คุณจอดรถทิ้งไว้จนน้ำท่วมท่อไอเสียก็ตาม เมื่อคุณเข้าไปในรถ แล้วสตาร์ทรถ ผมกล้าพูดได้เลยทีเดียวติดแน่นอน (กรณีนี้ ที่ผมกล้าพูดว่ารถสามารถสตาร์ทติด คือ น้ำท่วม แค่ท่วมท่อไอเสียนะ ไม่ใช่ท่วมฝากระโปรงนะครับ) แต่สำหรับรถคาบู ผมเองก็ไม่แน่ใจ ว่าถ้าถึงขั้นน้ำท่วมท่อไอเสีย แล้วมันจะสตาร์ทติดหรือไม่ แต่สำหรับเครื่องหัวฉีดสบายใจได้ครับ

4. ควรลดความเร็วลง เมื่อ กำลังจะขับรถสวนกับอีกคันที่กำลังขับมา
เพราะ ไม่งั้นจะกลายเป็นคลื่นชนคลื่น อย่างที่ผมบอก ซึ่งน้ำที่ปะทะระหว่างรถของเราและรถที่วิ่งสวนมา มันก็อาจทำให้น้ำกระเด็นไปทำอันตรายต่ออุปกรณ์ภายในได้ หลังจากเราลุยน้ำลึกมา สิ่งที่ควรทำต่อ ก็คือ ข้อแรก พยายามย้ำเบรกเพื่อไล่น้ำ เพราะในช่วงแรก ๆ หลังจากการลุยน้ำลึกมา มันจะเบรกไม่อยู่ และเป็นอันตรายมาก ถ้าเราไม่ทำการย้ำเบรกเพื่อไล่น้ำออกจากระบบเบรก สำหรับเกียร์ธรรมดา ต้องมีการย้ำคลัชเช่นเดียวกับการย้ำเบรก เพราะหลังการลุยน้ำมา อาจมีปัญหาคลัชลื่น จึงต้องทำทั้งย้ำคลัชและย้ำเบรก

อีกข้อนึงคือ ไม่ควรดับเครื่องทันที ถึงแม้ถึงจุดหมายก็ตาม เพราะ อาจมีน้ำค้างอยู่ในหม้อพักของท่อไอเสีย ซึ่งควรสตาร์ทรถทิ้งไว้สักพัก ซึ่งจะสังเกตได้ว่า มีไอออกจากท่อไอเสีย ก็ไม่ต้องตกใจ ก็ให้สตาร์ทรถทิ้งไว้สักพัก เพื่อให้น้ำในหม้อพักมันระเหยออกไป เพราะถ้าไม่ทำอย่างนี้ จะทำให้เกิดน้ำค้างอยู่ในหม้อพัก สิ่งที่จะตามมาคือ มันจะผุ

และหลังจากวันที่เราลุยน้ำมาแล้ว เราควรจะทำอย่างไร ไปดูกันต่อค่ะ !!!
1. ล้างรถ รวมถึง การฉีดน้ำเข้าไปในบริเวณใต้ท้องรถด้วย รวมทั้งบริเวณซุ้มล้อ เพื่อล้างพวกเศษทรายต่าง ๆ ที่มันเกาะติดอยู่ หรือบริเวณใต้ท้องรถ ซึ่งอาจมีพวกเศษขยะ เศษหญ้า ติดอยู่ ต้องเอาออกให้หมด เพราะถ้าเศษหญ้าแห้งมันติดอยู่ใต้รถ อันตรายที่จะเกิดขึ้น มันใหญ่หลวงนัก หนัก ๆ หน่อย ไฟอาจไหม้ได้ ในคู่มือยังบอกเลยครับว่า รถที่ติดตั้งตัวกรองไอเสีย หรือ (CAT) ไม่ควรจอดรถไว้บริเวณที่มีต้นหญ้าขึ้นสูง เพราะอุณหภูมิของเจ้า Catalytic Converter นั้น มันค่อนข้างสูงมาก ๆ
2. สำรวจน้ำมันเกียร์ ว่า มันมีสีผิดปกติหรือไม่ คือ ถ้ามีลักษณะคล้ายสี ชาเย็น นั่นแสดงว่า ต้องมีน้ำเข้าไปอยู่ในระบบเกียร์อย่างแน่นอน หรือถ้าเป็นไปได้ ก็เปลี่ยนน้ำมันเกียร์มันซะเลย เพื่อความสบายใจ เพราะก้านวัดน้ำมันเกียร์นั้นอยู่ค่อนข้างต่ำ และยิ่งรถผ่านการลุยน้ำลึก ๆ มา มันก็จะท่วมตัวเจ้าก้านวัด ซึ่งเป็นไปได้ที่น้ำจะซึมเข้าไปในระบบเกียร์ และมันก็จะทำให้ระบบเกียร์พัง

3. เช็คลูกปืนล้อ ซึ่ง พูดง่าย ๆ ว่า เจอน้ำทีไร ลูกปืนล้อมันก็จะดัง เวลาวิ่งความเร็วสูง ๆ อันนี้ทำใจไว้ได้เลย ว่าอาจต้องเปลี่ยน แต่ โดยปกติแล้ว เจ้าลูกปืนล้อมันจะพังเร็ว ก็เพราะสาเหตุที่ว่า จอดแช่น้ำมากกว่า แต่ถ้าวิ่งผ่านน้ำ โดยปกติ จะไม่ค่อยมีปัญหาอะไร แต่ถ้าแช่น้ำเมื่อไหร่ละก็ เตรียมตัวเสียเงินได้เลย

4. ตรวจสอบ พื้นพรมในรถ ว่า เปียกชื้นหรือไม่ เพราะ หลังการลุยน้ำลึกมา มีโอกาสมากที่น้ำจะซึมเข้ามาภายในห้องโดยสาร เพราะฉะนั้น ต้องเปิดผ้ายาง เปิดพรม เอามือ กดแรง ๆ ดู หรือลองเอากระดาษซับดูว่ามีน้ำอยู่หรือปล่าว ถ้ามีน้ำขังอยู่ภายในห้องโดยสาร ผมคิดว่า น่าจะถึงเวลารื้อพรมกันเลยละครับ เพื่อป้องกันปัญหาตามมา เพราะถ้าคุณไม่รื้อพรม แต่คุณอาจแค่เพียง เอาผ้าซับ ๆ ให้พื้นแห้ง แล้วจอดตากแดด จริง ๆแล้ว มันก็แห้งเหมือนกัน แต่สิ่งที่คุณไม่เห็นก็คือ สิ่งสกปรกที่มันยังค้างอยู่ในรถของคุณ ซึ่งคุณก็น่าจะรู้ว่า น้ำมันมีเชื้อโรคสารพัด แล้วเมื่อมันแห้ง มันก็จะแพร่เชื้อและเป็นเชื้อราอยู่ในพรม สิ่งที่อยากบอกต่อคือ นอกจากนี้ในรถยังมีระบบปรับอากาศที่มันจะเป็นตัวช่วยพัฒนาการเจริญเติบโตของ เชื้อโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี แล้วมันก็จะหมุนเวียน กลับไปกลับมา อยู่ในรถของคุณ นั่นก็เป็นสาเหตุของการเกิดภูมิแพ้ เพราะคุณก็สูดเอาเชื้อโรคต่าง ๆ เข้าไปตลอดเวลา จะว่าไปแล้ว รถสมัยนี้ค่อนข้างออกแบบมาดี ลุยน้ำไม่ค่อยดับกันหรอก ถ้าทำอย่างที่ผมบอกนะครับ ผมว่า จากสายตา วันนี้ผมลุยน้ำลึกไม่น่าต่ำกว่า 50 ซม เพราะรถรุ่นใหม่ ๆ จะย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ โดยเฉพาะเจ้า ECU ไว้ในตำแหน่งที่สูง พูดง่าย ๆ ว่า อยู่ในรถกันเลยหละ รวมถึงกล่องฟิวส์ต่าง ๆ ติดตั้งไว้ในตำแหน่งที่ค่อนข้างสูง เพื่อป้องกันน้ำท่วมนี่เหละ


http://www.สาระน่ารู้.com/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1/
ที่มา



เข้าชม : 1037


บทความทั่วไป 5 อันดับล่าสุด

      ประเพณีลากพระ จ.ตรัง 13 / ต.ค. / 2557
      ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 วันอาสาฬหบูชา 6 / ก.ค. / 2557
      เกิดแผ่นดินไหว ข้อปฏิบัติก่อนและหลัง 11 / พ.ค. / 2557
      วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 28 / เม.ย. / 2557
      2 เมษายน วันรักการอ่าน 31 / มี.ค. / 2557


 
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดตรัง  
ถนนพระรามหก  ตำบลทับเที่ยง  อำเภอเมือง    จังหวัดตรัง  075213051
libtrang075@gmail.com

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05