- อ่านไม่ได้ 27,000 คน คิดเป็น 6.27%
- อ่านได้แต่อยู่ในระดับควรปรับปรุง 23,700 คน คิดเป็น 5.32%
- อ่านได้แต่ไม่เข้าใจ 14,600 คน คิดเป็น 3.2%
- อ่านได้ เข้าใจบ้าง (ควรปรับปรุง) 62,000 คน คิดเป็น 14%
2. นักเรียนชั้น ป.6 ทั่วไป จำนวน 444,000 คน พบว่า
- อ่านไม่ได้ 7,880 คน คิดเป็น 1.77%
- อ่านได้แต่อยู่ในระดับควรปรับปรุง 6,750 คน คิดเป็น 1.52%
- อ่านได้แต่ไม่เข้าใจ 7,080 คน คิดเป็น 1.59%
- อ่านได้ เข้าใจบ้าง (ควรปรับปรุง) 51,580 คน คิดเป็น 11.6%
ตัวเลขที่เปิดเผยเป็นตัวเลขที่สูง แต่เป็นเรื่องที่ดีที่ผู้บริหาร โรงเรียน และครู กล้าที่จะเผชิญกับความจริง ต่อจากนี้ไปจึงจะต้องมาช่วยกันคิดหาวิธีแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นการจัดสอนเสริมวิชาภาษาไทยอย่างเข้มข้น โดยดึงเด็กออกมาเรียนรวมกัน ความเป็นไปได้ที่จะขอให้ครูทุกวิชาช่วยสอนภาษาไทย หรือแม้แต่การให้เด็กเรียนเฉพาะวิชาภาษาไทย เพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านภาษาอย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องกังวลว่าเด็กจะอ่อนวิชาอื่น เพราะวิชาภาษาไทยเป็นพื้นฐานของการเรียนทุกวิชา เมื่อเรียนภาษาไทยอย่างเข้มข้นแล้ว จึงสามารถเรียนวิชาอื่นๆ ได้อย่างรู้เรื่อง
ทั้งนี้ โรงเรียนจะต้องทำความเข้าใจกับผู้ปกครองว่า ศธ.ไม่ได้โทษเด็ก และมองเป็นผู้มีปัญหาหรือมีความบกพร่อง ทั้งยังขอให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียนด้วย ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ตำหนิครูที่เปิดเผยข้อมูล เพราะเชื่อว่าเป็นความผิดพลาดของระบบ ซึ่งอยู่ระหว่างการหาแนวทางแก้ไขของ ศธ. นั่นก็คือ การปฏิรูปหลักสูตรการเรียนการสอน ทั้งนี้ การพบข้อมูลนักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้เป็นเรื่องที่ดี และยังสามารถหาทางแก้ไขได้ โดยหากดำเนินการอย่างจริงจัง ก็เป็นเรื่องที่ไม่ยากนักที่จะแก้ไขปัญหานี้ร่วมกัน ซึ่งผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง ต้องร่วมกันพัฒนาปรับปรุงให้เด็กมีทักษะด้านการอ่านรู้เรื่อง อ่านเข้าใจได้อย่างทันท่วงที และหากโรงเรียนอื่นต้องการสแกนเพื่อตรวจหาเด็กระดับชั้นอื่นๆ ก็สามารถดำเนินการได้ เพื่อจะได้ร่วมกันเข้าไปแก้ไขปัญหา โดยไม่จำเป็นต้องรอคำสั่งจาก ศธ.
นวรัตน์ รามสูต
บัลลังก์ โรหิตเสถียร
สรุป/รายงาน
24/9/2556
ขอบคุณข่าวจาก เว็บไซต์ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
http://www.moe.go.th/websm/2013/sep/316.html
ที่มา : http://www.happyreading.in.th/news/detail.php?id=383