ข้อมูลพื้นฐาน กศน.ตำบลโคกสะบ้า
1. ชื่อสถานศึกษา กศน.ตำบลโคกสะบ้า
2. ที่ตั้ง/การติดต่อ
ตำบลโคกสะบ้า เป็นตำบล 1 ใน 6 ตำบลของอำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ห่างจากที่ว่าการอำเภอนาโยง ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 12 กิโลเมตร เนื้อที่ตำบลโคกสะบ้า มีเนื้อที่ประมาณ 17 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 10,625 ไร่
กศน.ตำบลโคกสะบ้า ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านนางประหลาด หมู่ที่ ๕ ตำบลโคกสะบ้า อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92170
3. สังกัด ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอนาโยง
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตรัง
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
4. ประวัติความเป็นมาของ กศน.ตำบลโคกสะบ้า
4.1 ประวัติ กศน.ตำบลโคกสะบ้า
กศน.ตำบลโคกสะบ้า เดิมชื่อ ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลโคกสะบ้า (ศรช.โคกสะบ้า) ประกาศจัดตั้ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ณ ที่ทำการธนาคารหมู่บ้าน บ้านเกาะหยี หมู่ที่ ๑ ตำบลโคกสะบ้า อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ด้วยความอนุเคราะห์สถานที่ตั้ง ศรช. จากกำนันตำบลโคกสะบ้า ย้ายที่ทำการมาให้บริการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ณ สหกรณ์หมู่บ้านนางประหลาด หมู่ที่ ๕ ตำบลโคกสะบ้า อำเภอนาโยง และได้รับการยกฐานะเป็น กศน.ตำบลโคกสะบ้า พุทธศักราช 2553 ซึ่งได้ดำเนินการเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 2๕ ธันวาคม 255๒ โดยนายวิเชียร คันฉ่อง สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดตรัง มาเป็นประธานในพิธีเปิด และมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประชาชนในตำบลโคกสะบ้า เข้าร่วมกิจกรรมและ เป็นเกียรติในพิธีเปิด กศน.ตำบลโคกสะบ้า เพื่อใช้เป็นสถานที่ในการจัดกิจกรรมให้ความรู้ พัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน ในพื้นที่จนถึงปัจจุบัน โดยมุ่งหวังให้ภารกิจของ กศน.ตำบล ซึ่งกำหนดบนพื้นฐานของกรอบแนวทางการศึกษาในทศวรรษที่สอง นำสู่การปฏิบัติในฐานะของหน่วยงานจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชน โดยได้ดำเนินการเพื่อสนองตอบนโยบายของสำนักงาน กศน. และได้ยึดแนวทางในการปฏิบัติงานตามนโยบายของ กศน.อำเภอนาโยง
4.2 สภาพทั่วไป
ลักษณะภูมิประเทศ
ภูมิประเทศโดยทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะบ้ามีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม
ส่วนใหญ่ใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ปลูกยางพารา ปลูกข้าว ผลไม้และพืชผัก
1.2 จำนวนหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร
หมู่ที่
|
ชื่อหมู่บ้าน
|
จำนวนครัวเรือน
|
จำนวนประชากร
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
1
|
บ้านเกาะหยี
|
300
|
512
|
515
|
1,027
|
2
|
บ้านห้วยบอน
|
89
|
185
|
159
|
344
|
3
|
บ้านไร่หลวง
|
208
|
404
|
432
|
836
|
4
|
บ้านหนองใหญ่
|
192
|
375
|
374
|
749
|
5
|
บ้านนางประหลาด
|
229
|
374
|
380
|
754
|
6
|
บ้านไสขัน
|
202
|
367
|
363
|
730
|
7
|
บ้านโคกสะบ้า
|
23
|
47
|
42
|
89
|
8
|
บ้านบนควน
|
121
|
245
|
237
|
482
|
9
|
บ้านหนองกินตา
|
55
|
99
|
110
|
209
|
10
|
บ้านหนองพาบน้ำ
|
211
|
450
|
461
|
911
|
11
|
บ้านหนองพล
|
243
|
397
|
443
|
840
|
รวม
|
1,873
|
3,455
|
3,516
|
6,971
|
ที่มา : ข้อมูลสำนักบริหารการทะเบียนอำเภอนาโยง กรมการปกครอง ณ เดือน เมษายน พ.ศ. 2554
2. สภาพทางเศรษฐกิจ
2.1 อาชีพ
การประกอบอาชีพของประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะบ้า ส่วนใหญ่
ประกอบอาชีพทางการเกษตร ได้แก่ ทำสวนยางพารา ทำนา ปลูกผลไม้ เลี้ยงสัตว์และปลูกผัก นอกจากนี้ยังประกอบอาชีพค้าขาย รับจ้าง และรับราชการ ในแต่ละครัวเรือนมักจะมีการประกอบอาชีพหลาย ๆ อาชีพรวมกัน
2.2 หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล (เฉพาะที่เก็บภาษี)
- ปั๊มน้ำมัน 1 แห่ง
- โรงงานอุตสาหกรรม 4 แห่ง
- โรงสี - แห่ง
- ร้านค้า 70 แห่ง
- อู่ซ่อมรถ 4 แห่ง
- ตลาดนัด 2 แห่ง
- ฟาร์มเพาะเลี้ยงลูกกุ้ง - แห่ง
- โรงผลิตน้ำดื่ม 2 แห่ง
- ร้านเสริมสวย, ตัดผม 3 แห่ง
2.3 สภาพทางสังคม
2.3.1 การศึกษา
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง
- โรงเรียนประถมศึกษา 3 แห่ง
- โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง
- กศน.ตำบล 1 แห่ง
- ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน 11 แห่ง
2.3.2 สถาบันและองค์กรศาสนา
- วัด 3 แห่ง
2.3.3 สาธารณสุข
-สถานีอนามัยประจำตำบล 1 แห่ง
2.3.4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ที่พักสายตรวจ 2 แห่ง
3. การบริการพื้นฐาน
3.1 การคมนาคม
องค์การบริหารส่วนตำบล มีถนนสายหลัก สายรอง และสายย่อย ดังนี้
(1) ถนนสายหลัก
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4124 (นาโยง - ย่านตาขาว) ผ่านหมู่ที่ 1 หมู่ที่ 6และหมู่ที่ 11
(2) ถนนสายรอง
- ถนน รพช. สายนางประหลาด - เกาะหยี ผ่านหมู่ที่ 11 หมู่ที่ 6, หมู่ที่ 4, หมู่ที่9, หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 5
- ถนน รพช. สายเกาะหยี - ห้วยลึก ผ่านหมู่ที่ 6, หมู่ที่ 1, หมู่ที่ 11, หมู่ที่ 10 และหมู่ที่ 3
- ถนน รพช. สายโคกมะม่วง - นาข้าวเสีย ผ่านหมู่ที่ 8, หมู่ที่ 2, หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 4
- ถนน รพช. สายบ้านควน - ห้วยลึก ผ่านหมู่ที่ 5
(3) ถนนสายย่อย
- ถนนคอนกรีต จำนวน 6 สาย
- ถนนลาดยาง จำนวน 10 สาย
- ถนนหินคลุก จำนวน 7 สาย
- ถนนดินลูกรัง จำนวน 19 สาย
3.2 การโทรคมนาคม
- ที่ทำการไปรษณีย์อนุญาตเอกชน 1 แห่ง
- โทรศัพท์สาธารณะ 23 แห่ง
- โทรศัพท์บ้าน 50 หมายเลข
3.3 การไฟฟ้า
- จำนวนหมู่บ้านที่มีไฟฟ้าใช้แล้ว 11 หมู่บ้าน
- จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้แล้ว 1,782 ครัวเรือน
- จำนวนไฟฟ้าสาธารณะ 50 จุด
3.4 แหล่งน้ำธรรมชาติ
- คลอง, ลำน้ำ, ลำห้วย 6 สาย
- บึง หนอง 10 แห่ง
3.5 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- ฝายน้ำล้น, ทำนบ ผนังกั้นน้ำ 13 แห่ง
- บ่อน้ำตื้น 1,225 แห่ง
- ประปาหมู่บ้าน 8 แห่ง
4. ข้อมูลอื่น ๆ
4.1 ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะบ้า มีทรัพยากรธรรมชาติ คือ แร่โดโลไมต์ ซึ่งมีอยู่บริเวณเขานางประหลาด หมู่ที่ 5 ปัจจุบัน นายประสิทธิ์ ทวนดำ เป็นผู้ได้รับประทานบัตรทำเหมืองแร่และบริษัท ตรัง.ยู.ซี จำกัด รับช่วงการทำเหมืองแร่
4.2 มวลชนจัดตั้ง
- อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) 103 คน
- แม่บ้านเกษตรกร 5 กลุ่ม 103 คน
- สตรีอาสาพัฒนา 200 คน
- อาสาพัฒนาปศุสัตว์ 11 คน
- สมาชิกอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) 57 คน - ศูนย์บริการผู้สูงอายุในวัดโดยชุมชนวัดไทรทอง 1 ศูนย์
ลักษณะภูมิอากาศ
ฤดูกาลของตำบลโคกสะบ้า แบ่งตามลักษณะอากาศของประเทศ ออกเป็น ๒ ฤดู คือ
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกลางเดือน ธันวาคม ถึงพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงว่างของฤดูมรสุมหลังจากสิ้นสุดฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว อากาศจะเริ่มร้อนและอากาศจะร้อนจัดในเดือนมีนาคมและเมษายน
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน เป็นช่วงที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นลมร้อนพัดจากมหาสมุทรอินเดียมาปกคลุมประเทศไทยทำให้มีฝนตกทั่วไปและในช่วงฤดูฝน ยังมีร่องความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคใต้เป็นระยะๆ อีกด้วย จึงทำให้มีฝนมาก โดยปกติฝนตกสูงสุดของจังหวัดตรังอยู่ในช่วงเดือนกันยายน
วัฒนธรรมชุมชน
วัฒนธรรมชุมชนและประเพณีที่สำคัญของท้องถิ่นในเขตตำบลโคกสะบ้าก็มีลักษณะคล้ายคลึงหรือเหมือนกับท้องถิ่นอื่น ๆ ที่ใกล้เคียง ซึ่งอาจเรียงลำดับตามความสำคัญมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ดังนี้
๑. ประเพณีทำบุญวันสาร์ท
ซึ่งมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นว่า ประเพณีงานบุญเดือนสิบ ประเพณีนี้จะมีกิจกรรมในช่วงแรม ๑๕ ค่ำเดือนสิบหรือประมาณเดือนกันยายนของทุกปี ซึ่งเป็นประเพณีที่สำคัญที่สุด กิจกรรมที่สำคัญตามประเพณีทำบุญวันสาร์ท โดยสังเขป ได้แก่ มีการจัดขนมต่างๆ ตกแต่งหรือใส่ภาชนะที่เรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า “หมรับ” นำไปถวายพระเพื่ออุทิศให้แก่ญาติพี่น้องหรือบุคคลที่เคารพนับถือซึ่งได้ล่วงลับไปแล้ว ขนมที่นำไปวัด ได้แก่ ขนมพอง ขนมลา ขนมบ้า ฯลฯ ตามความเชื่อความศรัทธามาตั้งแต่บรรพบุรุษ
๒. ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุหรือประเพณีวันสงกรานต์
ประเพณีชนิดนี้ แบ่งออกเป็น ๒ กิจกรรม คือ
ก.ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ซึ่งมักจะจัดประมาณวันที่ ๑๒ เมษายนของทุกปี แล้วแต่ความเหมาะสมของผู้จัด กิจกรรมที่จัด ได้แก่ เชิญผู้สูงอายุในชุมชนมาร่วมพิธีทางศาสนาจะทำการ รดน้ำขอพรจากผู้สูงอายุและเป็นการรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้สูงอายุ
ข. ประเพณีวันสงกรานต์ ประเพณีชนิดนี้ ในท้องถิ่นเขตตำบลโคกสะบ้า จะจัดเฉพาะ วันที่ ๑๓ เมษายนของทุกปีเท่านั้น โดยมีลักษณะของกิจกรรมมีการสรงน้ำพระ ส่วนใหญ่ประชาชนผู้สูงอายุหรือผู้ใหญ่อาจไปทำบุญนำปิ่นโตไปถวายพระ ส่วนเยาวชนและประชาชนโดยทั่วไปมักจะจับกลุ่มเล่น สาดน้ำกัน ซึ่งในวันนี้กิจกรรมในชีวิตประจำวันในด้านการทำงานหรือประกอบธุรกิจส่วนใหญ่จะหยุด ๑ วัน
๓. ประเพณีวันลอยกระทง
ประเพณีชนิดนี้จัดขึ้นในวันขึ้นสิบห้าค่ำเดือนแปดของทุกปี มีการจัดงานรื่นเริง ประกวดนางนพมาศ, ธิดานพมาศ ประกวดกระทง ตามแต่ความพร้อมของหน่วยงานที่จัดแต่ละปี โดยใช้คลองนางน้อยหรือแหล่งน้ำสาธารณะต่างๆ เป็นสถานที่ลอยกระทง ซึ่งลักษณะโดยทั่วไปก็ปฏิบัติเหมือนกันทั่วทุกท้องถิ่น
เข้าชม : 2660 |