พระราชพิธีพืชมงคล
เป็นพิธีทางพุทธศาสนา มีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เป็นพิธีสงฆ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎทรงกำหนดให้มีขึ้นเป็นครั้งแรก เป็นพิธีทำขวัญเมล็ดพืชพันธุ์ต่าง ๆ เช่น ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่ว งา เผือก มัน เป็นต้น ฯลฯ มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เมล็ดพันธุ์เหล่านั้น ปราศจากโรคภัยและให้อุดมสมบูรณ์เจริญงอกงามดี
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
เป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์ เป็นพิธีพราหมณ์มีมาแต่โบราณ เป็นพิธีเริ่มต้นการไถนาเพื่อหว่านเมล็ดข้าว มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นอาณัติสัญญาณว่า บัดนี้ฤดูกาลแห่งการทำนาและเพาะปลูกได้เริ่มขึ้นแล้ว พระราชพิธีทั้งสองนี้ ได้กระทำเต็มรูปแบบมาเรื่อย ๆ จนถึงปี พ.ศ. 2479 ได้เว้นไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง ด้วยสถานการณ์โลกและบ้านเมืองอยู่ในภาวะที่ไม่สมควรจะจัดงานใด ๆ จึงว่างเว้นไป 10 ปี ต่อมาทางราชการพิจารณาเห็นว่าประเทศไทย เป็นประเทศกสิกรรม โดยเฉพาะทำนาควรจะได้ฟื้นฟู ประเพณีเก่าอันเป็นมงคลแก่การเพาะปลูก ดังนั้น ใน พ.ศ. 2490 จึงกำหนดให้มีพิธีพีชมงคลขึ้นอีก แต่มีแค่พระราชพิธีพืชมงคลเท่านั้น (พิธีเต็มรูปแบบว่างเว้นไปถึง 23 ปี) ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2503 จึงจัดให้มีราชพิธีจรดพระนาคัลแรกนาขวัญร่วมกับพิธีพืชมงคลนับแต่นั้นเป็น ต้นมาจนถึงปัจจุบันนี้จึงจัดให้เป็นวันสำคัญของชาติ
กำหนดวันพืชมงคล
ประชาชนต่างพากันเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวที่พระยาแรกนาได้หว่านในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญหลังสิ้นสุดพระราชพิธี
- พ.ศ. 2549 ตรงกับ พฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม
- พ.ศ. 2550 ตรงกับ พฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม
- พ.ศ. 2551 ตรงกับ ศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม
- พ.ศ. 2552 ตรงกับ จันทร์ที่ 11 พฤษภาคม
- พ.ศ. 2553 ตรงกับ พฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม
- พ.ศ. 2554 ตรงกับ ศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม
- พ.ศ. 2555 ตรงกับ พุธที่ 9 พฤษภาคม
- พ.ศ. 2556 ตรงกับ จันทร์ที่ 13 พฤษภาคม
- พ.ศ. 2557 ตรงกับ ศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม
เข้าชม : 647
|