มาตรฐาน กศน.ตำบล มาตรฐาน กศน.ตำบล ประกอบด้วย ๔ ด้าน คือ ๑. ด้านการบริหารจัดการ มี ๔ ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ๑.๑ อาคาร สภาพเหมาะสม มั่นคง แข็งแรง ปลอดภัย และมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ การจัดการเรียนรู้ ๑.๒ สื่อ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ ๑.๓ การบริหารงบประมาณ ๑.๔ บุคลากร ปฏิบัติงานครอบคลุมตามภารกิจที่กำหนด ๒. ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มี ๔ ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ๒.๑ เป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารของชุมชน (InformationCenter) ๒.๒ เป็นศูนย์สร้างโอกาสการเรียนรู้ (OpportunityCenter) ๒.๓ เป็นศูนย์การเรียนชุมชน (LearningCenter) ๒.๔ เป็นศูนย์ชุมชน (Community Center) ๓. ด้านการมีส่วนร่วม มี ๓ ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ๓.๑ ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม กศน. ตำบล ๓.๒ มีการเชื่อมโยงเครือข่ายการเรียนรู้ในตำบล และต่างตำบล ๓.๓ ชุมชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการดำเนินงาน กศน.ตำบล ๔. ด้านการติดตาม ประเมินผลและรายงานผล มี ๒ ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ๔.๑ การติดตามและประเมินผล ๔.๒ การสรุปผลและการรายงานผล บทบาทภารกิจ กศน.ตำบล กศน.ตำบลมีบทบาทสำคัญในการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชน โดยมีหัวหน้า กศน.ตำบล เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานกศน.ตำบล ดังนี้
บทบาทหน้าที่ของ ครู กศน.ตำบล
๑. การวางแผน
๑.๑จัดทำฐานข้อมูลชุมชน
๑.๒ จัดทำแผนพัฒนา กศน.ตำบล
๑.๓จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี
๒.การจัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๒.๑ จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบ ดังนี้
- การส่งเสริมการรู้หนังสือ
- การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- การศึกษาต่อเนื่อง
๒.๒ จัดและส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย
- ส่งเสริมการอ่าน
- จัดและพัฒนาแหล่งเรียนรู้
- บริการข่าวสารข้อมูลและสื่อทุกประเภท
- จัดและส่งเสริมกิจกรรมห้องสมุดประชาชนตำบล ห้องสมุดชุมชนมุมหนังสือบ้าน
๓. บริการการเรียนรู้ในชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่าย
๓.๑ ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center) ร่วมกับ (สอศ.)
๓.๒ ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับ (สคบ.)
๓.๓ ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนร่วมกับ (กระทรวงไอซีที)
๓.๔ มุมวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต ร่วมกับ (สสวท.)
๓.๕ หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ร่วมกับโรงพยาบาล สถานีอนามัย
๓.๖ อำเภอเคลื่อนที่ ร่วมกับอำเภอ
๔. พัฒนา กศน.ตำบลให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน
๔.๑ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของชุมชน (Information center)
๔.๒ศูนย์สร้างโอกาสการเรียนรู้ (Opportunity Center)
๔.๓ ศูนย์การเรียนชุมชน (Learning Center)
๔.๔ ศูนย์ชุมชน (Community Center)
กลุ่มเป้าหมาย
การดำเนินงานของ กศน.ตำบลคลองชีล้อม มุ่งเน้นจัดกิจกรรมการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมายนอกระบบที่พลาดโอกาส ขาดโอกาสทางการศึกษา ให้ได้รับการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัยรวมทั้งการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมีกลุ่มเป้าหมายต่อไปนี้ กลุ่มผู้ใช้แรงงาน กลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้นำท้องถิ่น กลุ่มผู้จบการศึกษาภาคบังคับและไม่ได้เรียนต่อ และประชาชนทั่วไปที่ให้ความสนใจ
คณะกรรมการ กศน.ตำบลคลองชีล้อม
1. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองชีล้อม ประธาน
2. นายนิกร ฮ่อยี่ซี่ กรรมการ
3. นายสวาท หาบหละ กรรมการ
4. นายศรี แก้วลาย กรรมการ
5. นายบุญฤทธิ์ เมืองทวี กรรมการ
6. นางหลี ไชยฤทธ์ กรรมการ
7. นายแดง ชิตพงษ์ กรรมการ
8. นางสาวสุพิศ สวนแก้ว กรรมการ
9. นายเจือ ถ่ายพงศ์ กรรมการ
10. ว่าที่ร้อยตรีหญิงฐิติรัตน์ หนิษฐา กรรมการและเลขานุการ
อาสาสมัคร กศน.ตำบลคลองชีล้อม
๑. นายสาหรี่ ยังชุม
อาสาสมัครรักการอ่าน กศน.ตำบลคลองชีล้อม
๑)นางจุฑามาศ หลาดใหล วุฒิการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น รับผิดชอบหมู่ 1.บ้านคลองชีล้อม
๒)นายพงศกร ณศตา วุฒิการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น รับผิดชอบหมู่ 2.บ้านหนองเสม็ด
๓)นางสาวยุพวรรณ ทองชู วุฒิการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น รับผิดชอบหมู่ 3.บ้านหนองเสม็ด
๔)นางสาวธิดาพร รอดคืน วุฒิการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น รับผิดชอบหมู่ 4.บ้านป่ากอ
๕)นายวรวิทย์ นิลรังสี วุฒิการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น รับผิดชอบหมู่ 5.บ้านทุ่งนา
Ø การดำเนินงาน
๑. การบริหารจัดการ
๑.๑ การวางแผน
๑.จัดทำฐานข้อมูลชุมชนกศน.ตำบลคลองชีล้อม มีการจัดทำข้อมูลพื้นฐานของชุมชน เช่น ข้อมูลทั่วไปของตำบลคลองชีล้อม
- การสำรวจข้อมูลความต้องการการศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่ตำบลคลองชีล้อม เช่น การจัดทำเวทีประชาคมการสำรวจประชากรวัยแรงงาน (๑๕ – ๕๙ ปี) การสำรวจความต้องการทางการศึกษาและกิจกรรมการเรียนรู้ การสำรวจแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานและเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในพื้นที่ตำบลคลองชีล้อม
- การจัดทำและพัฒนาระบบข้อมูล สารสนเทศ ผ่านทางเว็บไซต์ของกศน.ตำบลคลองชีล้อมให้มีความ ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์รวมถึงการประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรม ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ของ กศน.ตำบลคลองชีล้อม
- พัฒนาระบบฐานข้อมูล และสารสนเทศระดับชุมชนที่ครบถ้วนถูกต้องเป็นปัจจุบัน เช่น ข้อมูลเครือข่าย ข้อมูลแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อพร้อมสำหรับการให้บริการ แก่กลุ่มเป้าหมายและประชาชนทั่วไป
- จัดทำข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลสารสนเทศของชุมชน ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันเช่น สินค้าชุมชนการแนะแนวอาชีพแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เป็นต้น
- มีการแสดงข้อมูลสารสนเทศ ในรูปแบบต่างๆ เช่น แผนภูมิ แผนป้ายประชาสัมพันธ์ เอกสารต่างๆ
- ส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนในพื้นที่ มีทักษะความรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นและอินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูล
๒. จัดทำแผนพัฒนา กศน.ตำบลคลองชีล้อม
- เพื่อเป็นกรอบในการกำหนดทิศทางการพัฒนาและการดำเนินงานของ กศน.ตำบลคลองชีล้อมเริ่มจากการทบทวนวิเคราะห์สภาพโดยรวมของ กศน.ตำบลคลองชีล้อมพร้อมนำสภาพทั้งภายในและภายนอกตลอดจนศักยภาพพื้นฐาน รวมถึงแนวโน้มการปรับเปลี่ยน บทบาทภาระหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยพ.ศ. ๒๕๕๑ ตลอดจนโอกาสและข้อจำกัดในการพัฒนาเพื่อการกำหนดภาพในอนาคตของ กศน.ตำบลคลองชีล้อม การดำเนินการบริหารการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมเพื่อส่งเสริมให้ กศน.ตำบลคลองชีล้อม พัฒนาสู่มาตรฐานการศึกษาและพัฒนาตนเองให้เต็มตามศักยภาพอย่างต่อเนื่อง โดยความร่วมมือและการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมกัน ในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๖–๒๕๕๘ ของ กศน.ตำบลคลองชีล้อม
๓.จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี
- กศน.ตำบลคลองชีล้อม ได้ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ ร่วมกับคณะกรรมการ กศน.ตำบล และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อใช้เป็นแนวทางสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม มุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายที่กำหนด โดยการพิจารณาความสอดคล้องกับทิศทางการดำเนินงานของสถานศึกษา ได้แก่ ปรัชญา พันธกิจ เป้าหมาย รวมทั้งสอดคล้องกับภารกิจและนโยบายจุดเน้นการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ และสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่กำหนด นำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปแบบเชื่อมโยงกิจกรรมตามผลผลิตต่างๆ เข้าสู่การวางแผนและจัดทำโครงการอย่างมีคุณภาพ โดยมุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนผู้รับบริการในแต่ละผลผลิต/กิจกรรม อย่างครอบคลุมและทั่วถึงทุกพื้นที่ โดย กศน.ตำบลคลองชีล้อม วางแผนและจัดทำโครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ จำนวน ๙ โครงการ โดยนำเสนอแผนให้ผู้อำนวยการ ศูนย์ กศน.อำเภอกันตังพิจารณาอนุมัติ
๑.๒ ด้านกายภาพ
๑.๒.๑อาคารสถานที่
- ครู กศน.ตำบลมีการปรับปรุงอาคารสถานที่ทั้งภายใน และภายนอกให้มีความพร้อมในการให้บริการมีความสะอาดร่มรื่นสวยงาม ปลอดภัยเหมาะสมและมีบรรยากาศเอื้อต่อการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งในการพัฒนาปรับปรุงในครั้งนี้ มีภาคีเครือข่ายเข้ามาให้การสนับสนุนในส่วนของวัสดุ อุปกรณ์ในการซ่อมแซม กศน.ตำบลคลองชีล้อม
๑.๒.๒สื่อวัสดุครุภัณฑ์
- ครู กศน.ตำบลมีการจัดหาวัสดุและครุภัณฑ์พื้นฐานเพื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัยเพียงพอกับความต้องการของผู้เรียน ซึ่ง กศน.ตำคลองชีล้อมมี สื่อวัสดุครุภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์เครื่องเล่นดีวีดีอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียมรวมทั้งหนังสือ วารสารในด้านต่างๆฯลฯ
๑.๓ ด้านบุคลากร
- หัวหน้า กศน.ตำบลคลองชีล้อม ปฏิบัติหน้าที่ประจำในพื้นที่ กศน.ตำบล มีหน้าที่รับผิดชอบ การจัดกิจกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง การศึกษาตามอัธยาศัย ให้กับคนในพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการติดต่อประสานงานกับเครือข่ายในพื้นที่ในการดำเนินงาน
- อาสาสมัครกศน.ตำบลดูแลรับผิดชอบอาคารสถานที่ และปฏิบัติในการเปิดให้บริการ ณ กศน.ตำบล และการติดต่อประสานงานกับภาคีเครือข่ายในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม
- อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน จัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมการอ่านให้กับคนในพื้นที่ เพื่อเน้นให้คนในพื้นที่เห็นความสำคัญ และประโยชน์ของการอ่านหนังสือ
๒. กิจกรรมของกศน. ตำบล
๒.๑ การประชาสัมพันธ์การรับสมัคร กศน.ตำบลคลองชีล้อม มีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
- จัดทำป้ายประกาศรับสมัครนักศึกษา
- กศน.ตำบล ทำหนังสือส่งให้กับผู้นำชุมชน เพื่อขอความอนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายในการรับสมัครนักศึกษา
- จัดองค์กรนักศึกษาให้ประชาสัมพันธ์ ในการเปิดรับสมัครนักศึกษา
๒.๒ การจัดกระบวนการเรียนรู้ กศน.ตำบล
๒.๒.๑เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ
- จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน
- จัดสภาพแวดล้อมและสถานการณ์การเรียนรู้เพื่อผู้เรียน
- จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง
- สร้างบรรยากาศการเรียนอยู่ร่วมกัน
๒.๒.๒บทบาทของครู กศน.ตำบล
- การเตรียมการจัดกระบวนการเรียนรู้โดย
๑. ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียน
๒. ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรเนื้อหาสาระ
๓. วางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยวางแผนการเรียนรู้ตลอดภาคเรียนโดยการ พบกลุ่ม วางแผนการสอน วางแผนการเรียนรู้ด้วยตัวเอง การวัดผลและประเมินผล
๔. จัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ได้แก่ สื่อ เอกสาร หนังสือ ข้อมูล วัสดุในการจัดการเรียนรู้
๓. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของชุมชน (Information center)
- กศน.ตำบล มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูล และสารสนเทศระดับชุมชนที่ครบถ้วนถูกต้องทันสมัยพร้อมสำหรับการให้บริการ
- กศน.ตำบลคลองชีล้อม มีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพกศน.ตำบลและแผนปฏิบัติการประจำปีร่วมกับ คณะกรรมการกศน.ตำบล และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ โดยนำเสนอแผนงานให้กศน.อำเภอพิจารณาอนุมัติ
- กศน.ตำบลคลองชีล้อม ได้จัดทำข้อมูลข่าวสารสารสนเทศของชุมชน มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันเช่นด้านการตลาดชุมชนสินค้าชุมชนการแนะแนวอาชีพแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ร่วมไปถึงการประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่
- กศน.ตำบลคลองชีล้อม มีการส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ มีทักษะความรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
๔. ศูนย์สร้างโอกาสการเรียนรู้ (Opportunity Center)
- มีการติดต่อประสานงานในเรื่องการจัดกิจกรรม เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในชุมชนเช่นคณะกรรมการชุมชนอบต. พัฒนาที่ดินสถานีอนามัยกำนันผู้ใหญ่บ้านอสม. อาสาสมัครส่งเสริมการอ่านวัด มัสยิดโรงเรียนดีประจำตำบลฯลฯเพื่อให้การจัดกิจกรรมบรรลุตามวัตถุประสงค์
- กศน.ตำบลคลองชีล้อม มีการจัดกิจกรรมร่วมกับภาคีเครือข่ายเช่นศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it center)(สอศ.) ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน (กระทรวงไอซีที) มุมวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต (สสวท.) บริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่การป้องกันบรรเทาสาธารณภัย อำเภอเคลื่อนที่ฯลฯกิจกรรมนี้จึงเป็นเสมือนการสร้างโอกาสการเรียนรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่
- กศน.ตำบลคลองชีล้อม มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายและสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนได้รับประโยชน์สูงสุดนพื้นฐาน
๔.๒ ทำเนียบครูกศน.ตำบลคลองชีล้อม
ลำดับที่
|
ชื่อ – สกุล
|
ตำแหน่ง
|
ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง
|
๑
|
นายบุญภพ ดวงสุด
|
ครูกศน.ตำบล
|
1พฤศจิกายน ๒๕๔๘– ปัจจุบัน
|
- ๒ . ว่าที่ร้อยตรีหญิงฐิติรัตน์ หนิษฐา ครูกศน.ตำบล 1 กันยายน 2566 - ปัจจุบัน
๔.๓ อาณาเขต
ตำบลคลองชีล้อมเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอกันตังจังหวัดตรังห่างจากที่ว่าการอำเภอกันตังทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ6 กิโลเมตร และมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่างๆ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลคลองชีล้อมและตำบลบางเป้าอำเภอกันตัง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลบางหมาก
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลวังวน
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลทุ่งค่าย
เนื้อที่/อาณาเขต
ตำบลคลองชีล้อมมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 39.58 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 24,739 ไร่
จำนวนประชากร แยกตามหมู่บ้านและเพศ และจำนวนครัวเรือน
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่ของตำบลคลองชีล้อมส่วนใหญ่เป็นป่าชายเลนและติดชายทะเลบางส่วนเป็นที่ราบสลับแนวภูเขาเตี้ยๆอยู่ทั่วไปทางทิศตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำปะเหลียนไหลผ่านส่วนทางทิศใต้ติดต่อกับแม่น้ำปะเหลียนต่อเนื่องกับทะเลอันดามันจึงมีลักษณะเป็นที่ราบชายฝั่งทางตอนกลางและทางทิศเหนือมีแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติและแนวเขตป่าถาวรตามมติคณะรัฐมนตรีในบริเวณหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 4
เขตการปกครอง
จำนวนหมู่บ้าน 5 หมู่บ้าน
หมู่ที่ 1 บ้านคลองชีล้อม
หมู่ที่ 2 บ้านหนองเสม็ด
หมู่ที่ 3 บ้านหนองเสม็ด
หมู่ที่ 4 บ้านป่ากอ
หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งนา
จำนวนหมู่บ้านในเขต อบต. เต็มทั้ง 5 หมู่บ้าน
ประชากร
ประชากรทั้งสิ้น 4,819 คน แยกเป็น ชาย 2,130 คน หญิง 2,689 คนจำนวน ครัวเรือน 1,400 ครัวเรือน
๔.๔ สภาพชุมชน
การศึกษา
- โรงเรียน 2แห่ง
- โรงเรียนบ้านหนองเสม็ด
- โรงเรียนบ้านคลองชีล้อม
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน/ห้องสมุดประชาชน 4แห่ง
สถาบันและองค์กรศาสนา
- วัด/สำนักสงฆ์ 1 แห่ง
วัดคลองชีล้อม
- มัสยิด5แห่ง
สาธารณสุข
- โรงพยาบาลชุมชนประจำตำบล/หมู่บ้าน 1 แห่ง
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ที่ทำการตำรวจชุมชน ตำบลคลองชีล้อม
ด้านเศรษฐกิจ
ประชากรในตำบลคลองชีล้อมส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำสวนยางพาราซึ่งประมาณร้อยละ 60 ของประชากรทั้งหมด นอกจากนี้ก็มีอาชีพอื่นๆรองลงมาได้แก่
- ทำสวนยางพารา
- ประมงชายฝั่ง
- รับจ้างทั่วไป
- ทำนากุ้งกุลาดำ
- ค้าขาย
- ทำใบจาก
- รับราชการ
- เกษตรกรรมอื่น ๆ เช่นทำสวนปาล์มน้ำมันปลูกพืชผักสวนครัว
ด้านการบริการพื้นฐาน
การคมนาคม
ตำบลคลองชีล้อมมีการคมนาคมระหว่างตำบล หมู่บ้าน โดยมีถนนทั้งหมด ดังนี้
ถนนลาดยาง จำนวน 6 สาย ดังนี้
สายกันตัง - คลองชีล้อม ระยะทาง 8.025 เมตร
สายคลองชีล้อม -โต๊ะเมือง ระยะทาง 3,676 เมตร
สายคลองชีล้อม–ตะเคียนหลบฟ้า ระยะทาง 3,290 เมตร
สายหนองเสม็ด - จุปะ ระยะทาง 5,000 เมตร
สายป่ากอ – ทุ่งนา ระยะทาง 2,670 เมตร
สายหนองเสม็ด–ท่านาว ระยะทาง 1,700 เมตร
การโทรนาคม
- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 1 แห่ง
- สถานีโทรคมนาคมอื่นๆ – แห่ง
การไฟฟ้า
ตำบลคลองชีล้อมมีไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้าน (จำนวน 5 หมู่บ้าน)แต่ยังไม่ครอบคลุมทุกครัวเรือนจำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ประมาณร้อยละ 97 ของครัวเรือนทั้งหมด
แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ลำน้ำ, ลำห้วย สาย
- บึง, หนองและอื่นๆ แห่ง
ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
แหล่งน้ำธรรมชาติ มีแหล่งน้ำที่สำคัญ ได้แก่น้ำจากปะเหลียน ตำบลคลองชีล้อม อำเภอกันตังจังหวัดตรัง
- มวลชนจัดตั้ง
- ลูกเสือชาวบ้าน จำนวน 4รุ่น จำนวน 361 คน
- ไทยอาสาป้องกันชาติ จำนวน - รุ่นจำนวน - คน
- กองหนุนเพื่อความมั่นคงของชาติ จำนวน - รุ่น จำนวน -คน
- อาสาสมัครตำรวจชุมชน จำนวน - รุ่น จำนวน - คน
- อพป. จำนวน 1 รุ่น จำนวน 75 คน
|