[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา เด่นสง่าดอกศรีตรัง ปะการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา
 

  

ความรู้เกี่ยวกับ IT
เท่าทันฟ้าผ่า

พุธ ที่ 22 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2558

คะแนน vote : 2994  

 เท่าทันฟ้าผ่า

ในช่วงหน้าร้อนและหน้าฝน มักเกิดฝนฟ้าคะนองอยู่บ่อยครั้ง ภัยคุกคามที่มักจจะเกิดตามมาคือ ฟ้าผ่า กลไกที่ฟ้าผ่าแล้วสามารถทำร้ายเราได้ในลักษณะต่างๆ มีดังต่อไปนี้

ฟ้าผ่าทำร้ายเราได้ทางใดบ้าง?

กลไกที่ 1 ฟ้าผ่าลงมาตรงๆ ที่ตัวคน (หรือสัตว์) เรียกว่า การผ่าลงมาโดยตรง (Direct Strike) กรณีเช่นนี้ไม่มีโอกาสรอด เนื่องจากกระแสไฟฟ้ามีค่าอย่างต่ำ 10,000 แอมแปร์ อย่างไรก็ดี โอกาสเกิดเช่นนี้ค่อนข้างน้อย (เมื่อเทียบกับกลไกอื่น)

กลไกที่ 2 ฟ้าผ่าลงมาที่วัตถุอื่น แต่คนและสัตว์สัมผัสกับตัวนำที่เชื่อมต่อกับวัตถุนั้น ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่ร่างกาย เรียกว่า ฟ้าผ่าโดยการสัมผัส (contact) ในต่างประเทศ มีกรณีที่ฝูงวัวถูกกระแสไฟฟ้าจากรั้วโลหะ เนื่องจากรั้วถูกฟ้าผ่า ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลไปตามเส้นลวดตลอดทั้งเส้น

กลไกที่ 3 ฟ้าผ่าลงมายังต้นไม้ เสาไฟ หรือโครงสร้างบางอย่าง จากนั้นกระแสไฟบางส่วน “กระโดด” ออกจากวัตถุนั้นผ่านอากาศเข้าสู่ร่างกายคนหรือสัตว์ที่อยู่ใกล้ เรียกว่า กระแสไฟฟ้าแลบด้านข้าง (Side flash, Side Splash หรือ Flash over) กระแสไฟฟ้าแลบด้านข้างอาจกระโดดออกไปได้ไกลราว 2-3 เมตรเลยทีเดียว

กลไกที่ 4 ฟ้าผ่าลงมายังพื้น จากนั้นกระแสไฟฟ้าไหลกระจายไปตามพื้น และเข้าสู่ร่างกายคนหรือสัตว์ เรียกว่า กระแสไหลตามพื้น (Ground Current) หรือแรงดันไฟฟ้าช่วงก้าว (Step Voltage) สนามกอล์ฟในภาพเคยถูกฟ้าผ่า ณ จุดที่ปักธง เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลไปถึงที่ใด ก็จะทำให้หญ้าร้อนขึ้นจนไหม้และทิ้งรอยไหม้เอาไว้

กลไกที่ 5 ฟ้าผ่าลงบนสายโทรศัพท์หรือสายไฟฟ้า เกิดกระแสจึงวิ่งไปในสายโทรศัพท์หรือสายไฟฟ้าเข้าสู่อุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่ (หากไม่มีการต่อสายดิน) เรียกว่า การผ่าโดยมีสายโทรศัทพ์เป็นตัวกลาง (Telephone-mediated Strike) หรือฟ้าผ่าโดยมีสายไฟฟ้าเป็นตัวกลาง (wire-mediated Strike) ในประเทศไทยเคยมีข่าวเด็กได้รับอันตรายจากตู้เย็นขณะเกิดฟ้าผ่ามาแล้ว

กลไกที่ 6 ประจุลบเคลื่อนที่ลงมาจากเมฆ จะผลักประจุลบในวัตถุบนพื้นออกไป หรืออาจมองได้ว่าประจุบวกถูกเหนี่ยวนำให้ไหลขึ้นไปตามโครงสร้างต่างๆ เช่น ต้นไม้ หลังคาบ้าน หรือแม้แต่ตัวคน กระแสไฟฟ้านี้เรียกว่า สตรีมเมอร์ไหลขึ้น (Upward Stream) และมีค่าสูงสุดราว 100 แอมแปร์ โดยในช่วงสั้นๆ ราวไม่กี่สิบ (หรือไม่กี่ร้อย) ไมโครวินาที กลไกกระแสสตรีมเมอร์นี้เองที่เป็นคำอธิบายข่าวที่ครั้งหนึ่งคุณตูน Bodyslam รู้สึกเหมือนถูกไฟดูดขณะถือร่ม แต่ไม่ได้รับอันตรายมากกว่านั้น (อาจเป็นเพราะปริมาณกระแสไฟฟ้าน้อย)

กลไกที่ 7 กระแสไฟฟ้าจากฟ้าผ่าทำให้เกิดสนามแม่เหล็กแผ่ออกไปโดยรอบและสนามแม่เหล็กนี้ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้นในโลหะ แม้ยังค้นไม่พบว่ากระแสไฟฟ้าเหนี่ยมนำนี้ทำร้ายคน แต่มีหลักฐานจากงานวิจัยต่างประเทศว่า กระแสไฟฟ้าราว 10,000 แอมแปร์ จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขนาด 15 แอมแปร์ต่อเมตรในสายไฟฟ้าที่ฝังดินที่อยู่ห่างออกไปราว 70 เมตร และเกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำเป็นห้วงสั้นๆ ราว 20 ไมโครวินาที โดยมีค่ากระแสไฟฟ้าสูงสุดถึง 120 แอมแปร์

กลไกที่ 8 หากฟ้าผ่าลงมาใกล้ๆ จุดที่คนอยู่ เสียงดังกัมปนาทจากการขยายตัวของอากาศอย่างรวดเร็วอาจทำให้หูหนวกได้ นี่คือเหตุผลเบื้องหลังท่านั่งยองๆ เพื่อลดความเสี่ยงจากฟ้าผ่า ซึ่งแนะนำให้ปิดหูทั้งสองข้างไว้ด้วย (ท่านี้ใช้ในกรณีที่ไม่มีสถานที่หลบที่ปลอดภัย เช่น บ้านหรือรถยนต์)

จากการศึกษาของ Cooper&Holle ซึ่งตีพิมพ์ในพ.ศ. 2551 ระบุว่าในกรณีที่คนเสียชีวิตจากเหตุฟ้าผ่า กลไกที่เกิดบ่อยที่สุดคือ กระแสไหลตามพื้น (40-50%) ส่วนกลไกอื่นๆ ได้แก่ กระแสไฟฟ้าแลบด้านข้าง (20-30%) การสัมผัสกับวัตถุที่ถูกฟ้าผ่า (15-25%) กระแสสตรีมเมอร์ไหลขึ้น (10-15 %) และการผ่าโดยตรง (3-4%)


สัดส่วนกลไกฟ้าผ่าแบบต่างๆ ที่ทำให้เสียชีวิต


เมื่อคุณผู้อ่านเข้าใจกลไกการเกิดฟ้าผ่าแล้ว ก็ย่อมปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากฟ้าผ่าแต่ละแบบ ทั้งยังแนะนำบุตรหลานญาติมิตร รวมทั้งคนที่คุณรักให้ปลอดภัยจากฟ้าผ่าได้อีกด้วย



ขอขอบคุณข้อมูลจาก ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ.เท่าทันฟ้า, (2558, เมษายน-มิถุนายน). สื่อพลัง. 23 (2): 40-41.


ที่มาภาพ 
9engineer.com
www.cbssports.com/golf/eye-on-golf/25192738/look-this-lightning-strike-on-a-golf-green-is-crazy-and-scary



เข้าชม : 2746


ความรู้เกี่ยวกับ IT 5 อันดับล่าสุด

      เท่าทันฟ้าผ่า 22 / ก.ค. / 2558
      วุ้นตาเสื่อม อันตรายไม่รู้ตัว! 2 / ก.ค. / 2558
      เมอร์สคอฟ ไวรัสที่ยังไม่มียารักษา 2 / ก.ค. / 2558
      วันต่อต้านยาเสพติดโลก 26 มิถุนายนของทุกปี 26 / มิ.ย. / 2558
      วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุก 10 / ธ.ค. / 2557




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้ [กด F5 ถ้ารหัสไม่ชัดเจน]
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ mocyc@hotmail.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดตรัง
ถนนพัทลุง ตำบลทับเที่ยง  อำเภอเมือง  จังหวัดตรัง 92000 
โทรศัพท์ 075-218440 โทรสาร 075-219016 
trang@trang.nfe.go.th
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05