[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
   
       
  


 

เลือกเมนู

แนวคิด/หลักการ/จุดมุ่งหมาย /
  ระดับการศึกษา / สาระการเรียนรู้
โครงสร้างหลักสูตร/ลงทะเบียนเรียน/
   รายวิชาบังคับ/โึครงสร้างหลักสูตร
วิธีการจัดการเรียนรู้

หลักฐานการเรียนรุ้

กิจกรรม กพช. / สื่อการเีรียนรู้
การเทียบโอนความรู้
การประเมินความรู้และประสบการณ์
การวัดและประเมินผล
เกณฑ์การจบหหลักสูตร/คุณสมบัติ
  ของผู้สมัคร/หลักฐานการสมัคร/
  สถานที่รับสมัคร
การลงทะเบียนเรียน/การปฏิบัติตน/
  การย้ายสถานศึกษา/การยื่นคำร้องขอจบ/ การพ้นสภาพนักศึกษา
 แบบฟอร์มเกี่ยวกับกิจกรรม กพช.
กพช.1 / กพช.2 / กพช.3 / กพช.4
ตัวอย่างการเขียนโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต
 
 
     
 
โครงสร้างหลักสูตร

 
 

โครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

หมายเหตุ
วิชาเลือกและวิชาบังคับในแต่ละระดับสถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียน เรียนรู้จากการทำโครงงาน จำนวนอย่างน้อย 3 หน่วยกิต

       จากโครงสร้างหลักสูตรดังกล่าวข้างต้น สถานศึกษาต้องจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในรายวิชาบังคับ ตามที่กำหนดไว้ในโครงสร้างหลักสูตร สำหรับรายวิชาเลือกนักศึกษาสามารถเลือกตามรายวิชาที่สำนักงาน กศน. จัดทำขึ้น หรือพัฒนาขึ้นได้ตามความต้องการของผู้เรียนและชุมชน

การลงทะเบียนเรียนรายวิชา
       การลงทะเบียนเรียนตามโครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ให้ลงทะเบียนเรียนเป็นรายวิชาและตามจำนวนหน่วยกิต ในแต่ละภาคเรียนดังนี้
       1. ระดับประถมศึกษา ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 14 หน่วยกิต
       2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 56 หน่วยกิต ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 16 หน่วยกิต
       3. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 76 หน่วยกิต ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 20 หน่วยกิต

 
 
 
.................................................................................................................................
 
           
 








           
    การพิจารณาเลือกรายวิชาต่าง ๆ ลงทะเบียนเรียน
       1. ครู ผู้เรียน และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมกันพิจารณาจัดรายวิชาต่าง ๆ ลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคเรียน
       2. พิจารณาจำนวนหน่วยกิตที่ต้องลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคเรียนให้เป็นไปตามที่กำหนด คือ ระดับประถมศึกษาภาคเรียนละไม่เกิน 14 หน่วยกิต ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นภาคเรียนละไม่เกิน 16 หน่วยกิต และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ภาคเรียนละไม่เกิน 20 หน่วยกิต
       3. พิจารณารายวิชาที่ต้องเรียนรู้ตามลำดับ ก่อน-หลัง หรือตามสถานการณ์ รายวิชาใดต้องเรียนก่อน ก็กำหนดไว้ในภาคเรียนแรก ๆ
       4. ความต่อเนื่องของการลงทะเบียนในรายวิชาต่าง ๆ สถานศึกษาอาจมีการพิจารณาลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนเดียวกัน หรือภาคเรียนถัดไป ทั้งนี้การลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนเดียวกัน ต้องจัดการเรียนรู้ตามลำดับก่อน-หลังของเนื้อหา
       5. กระจายรายวิชาที่ยาก และรายวิชาที่ง่ายให้คละกันไปในแต่ละภาคเรียน เช่นแยกรายวิชาคณิตศาสตร์กับภาษาอังกฤษ ซึ่งไม่ควรลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนเดียวกัน

รายวิชาเลือก
       จากโครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอก ระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ทั้ง 3 ระดับ คือ ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย มีรายวิชาที่ให้เลือกเรียนจำนวน 12,16,และ 32 หน่วยกิต ตามลำดับในส่วนรายวิชาที่ให้เลือกนั้น ผู้เรียนสามารถเลือกได้ตามความต้องการ หรือตามปัญหาของสังคม หรือของผู้เรียนในขณะนั้นโดยรายวิชาเลือกเหล่านี้อาจจะได้มาจากที่สำนักงาน กศน. หรือสถานศึกษาพัฒนาขึ้นตามความต้องการของผู้เรียน

 
         



เข้าชม : 2146
 
 
 
นางสาวสัตตบุษย์ จรทอง
ครู กศน.ตำบลช่อง
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอนาโยง
ที่อยู่ บ้านหนักไทร ม.3  ต.ช่อง อ.นาโยง  จ.ตรัง   เบอร์โทร..062-2426400 (ครูแอล)



Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05