[x] ปิดหน้าต่างนี้
 




 

  

บทความสุขภาพ
อีโบล่า ไวรัสอันตราย

พุธ ที่ 20 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2557

คะแนน vote : 144  

 อีโบล่า ไวรัสอันตราย  ที่ทั่วโลกเฝ้าระวัง!!


อย่างไรก็ตาม มีเชื้อไวรัสอันตรายถึงชีวิตบางชนิดระบาดเฉพาะในภูมิภาคของซีกโลกหนึ่ง ไม่ได้แพร่ไปสู่คนทั้งโลก แต่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ทั่วทุกภูมิภาค ต่างก็เฝ้าระวังป้องกันไม่ให้เข้าไปแพร่ระบาดในประเทศของตนเองด้วยมาตรการต่าง ๆ เพื่อความไม่ประมาท
 
     ล่าสุด เกิดเชื้อไวรัสอันตรายที่ทำให้โลกตกใจขึ้นมาอีกครั้ง นั่นคือเชื้อไวรัส อีโบล่า หรือ ไข้เลือดออกอีโบล่า ซึ่งระบาดในประเทศยูกันดา ทวีปแอฟริกา คร่าชีวิตผู้คนเพิ่มเป็น 15 รายแล้ว โดยระบาดหนักแถบภาคตะวันตก ห่างจากเมืองหลวง กรุงกัมปาลา ประมาณ 200 กม. และห่างจากพรมแดนของสาธารณรัฐประชาธิปไตคองโก เพียง 50 กม.



สำหรับเชื้อไวรัสอีโบล่านี้ เป็นกลุ่มโรคไข้แล้วมีเลือดออกชนิดหนึ่ง ซึ่งร้ายแรงถึงเสียชีวิต เนื่องจากยังไม่มีวัคซีนใช้ป้องกัน และรักษา โดยได้รับการประกาศจากองค์การอนามัยโลกจัดให้อยู่ใน ความปลอดภัยชีวภาพ ระดับ 4 ถือเป็นหนึ่งในเชื้อโรคอันตรายมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก
 
     หากไล่เลียงย้อนอดีตไป มีรายงานจากสำนักข่าวต่างประเทศว่า เชื้อไวรัสอีโบล่าถูกตั้งชื่อตามแม่น้ำขนาดเล็กในคองโก ทั้งนี้ เชื่อว่าเป็นไวรัสที่ผ่านจากสัตว์ไปสู่คน แต่ยังไม่พบการระบุว่าสัตว์ชนิดใดเป็นพาหะครั้งนั้นมีผู้ป่วยเกือบ 300 คน และเสียชีวิตกว่า 100 ราย จากนั้น ในบางปีต่อ ๆ มาก็พบการระบาดบ้างทั้งการระบาดใหญ่ และระบาดเล็กในบางประเทศของทวีปแอฟริกา สำหรับยูกันดาเกิดการระบาดครั้งแรกเมื่อปี 2543-2544 ระยะเวลาราว 5 เดือน มีผู้ป่วยกว่า 400 คน และเสียชีวิตกว่า 200 ราย

ลักษณะอาการจะมีไข้ขึ้นสูง เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดตามข้อ-กล้ามเนื้อ รวมถึงช่องท้อง และหนักถึงขั้นอาเจียน ท้องร่วงรุนแรง เกิดผื่น ตลอดจนตาแดงจัด แพร่เชื้อโดยการสัมผัสโดยตรงกับเลือด หรือ สารคัดหลั่งจากร่างกายผู้ติดเชื้อ ทั้งนี้ ในประเทศไทยยังไม่มีรายงานว่าเคยพบผู้ป่วยด้วยเชื้อไวรัส อีโบล่า ดังกล่าว
 
      อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันจากจำนวนมนุษย์ ตลอดจนการติดต่อ พบปะ สัญจรถึงกันได้สะดวกกว่าอดีตมาก อาจเป็นช่องทางหนึ่งที่โรคต่าง ๆ จะมีโอกาสเล็ดลอดแฝงเข้าไปถึง แม้จะเป็นพื้นที่ห่างไกลกันครึ่งค่อนโลกก็เป็นได้ จึงไม่ควรประมาท!!.
 
 
ที่มาจาก : http://www.dailynews.co.th/article/440/147584
ภาพจาก : http://health.kapook.com/view44777.html
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1343538435&grpid=03&catid=03
http://www.thairath.co.th/content/oversea/279690



 
 อีโบลา ซึ่งเป็นกลุ่มโรคไข้แล้วมีเลือดออกชนิดหนึ่ง ที่น่าสนใจคือโรคนี้ อัตราการแพร่ระบาดสูงและ เร็ว และอัตราค่อนข้างสูง(50-90%) ในประเทศไทย ยังไม่มีข้อมูลการป่วยด้วยโรคนี้ และโรคนี้ยังไม่อยู่ในระบบเฝ้าระวัง อย่างไรก็ดี นโยบายเสรีในเรื่องการท่องเที่ยวของประเทศไทย ก็อาจเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่ง ที่เชื้ออาจเล็ดรอดเข้าประเทศมาได้ ดังนั้น อาจต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ สำหรับกลุ่มประชากรบางกลุ่ม บทความนี้ นำเสนอเรื่องของโรค อาการ การติดต่อ เพื่อเป็นแนวทางกว้างๆ สำหรับผู้สนใจและเฝ้าระวัง

โรคอีโบลา อยู่ในกลุ่มโรคไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัสอีโบลา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดประมาณ 80 นาโนเมตร ยาว 790-970 นาโนเมตร อยู่ในตระกูล Filoviridae ซึ่งประกอบด้วย 4 subtypes ได้แก่ แซร์อีร์ ซูดาน ไวอรี่โคทและเรสตัน 3 subtypes แรก ทำให้เกิดการป่วยรุนแรงในคนและมีอัตราตายสูงร้อยละ 50-90 ส่วนเรสตันพบในฟิลิปปินส์ ทำให้เกิดรุนแรงในลิง แต่ในคนไม่ทำให้เกิดอาการ

แหล่งรังโรคตามธรรมชาติ ยังไม่ทราบแน่ชัดจนปัจจุบัน ทวีปอาฟริกา และแปซิฟิกตะวันตกดูเหมือนว่าน่าจะเป็นแหล่งโรค แต่ก็ยังไม่สามารถอธิบายได้ ถึงแม้ว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเช่น ลิง จะเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในมนุษย์ แต่ก็ไม่ใช่รังโรค เชื่อว่าติดเชื้อมาจากสัตว์ป่า ปัจจับัน ตรวจพบเชื้อในพวก กอริลลา ชิมแปนซี (ไอวอรี่โค้ด และคองโก) กอริลลา(กาบอนและคองโก) และในสัตว์พวกกวางที่มีเขาเป็นเกลียว(คองโก) ในการศึกษาทางห้องปฎิบัติการครั้งหนึ่งแสดงว่าค้างคาวติดเชื้ออีโบลาแล้วไม่ตาย ทำให้เกิดสมมติฐานว่าสัตว์จำพวกนี้หรือไม่ ที่ทำให้เชื้อไวรัสยังคงมีอยู่ในป่าแถบร้อนชื้น

การติดต่อ: สัมผัสโดยตรง กับ เลือด สิ่งคัดหลั่ง อวัยวะ หรือน้ำจากร่างกายผู้ติดเชื้อ งานศพ ญาติผู้เสียชีวิตที่สัมผัสร่างกายของผู้เสียชีวิต ผู้ดูแลลิงชิมแปนซี กอริลลาที่ป่วย และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่รักษาผู้ป่วยอีโบลา โดยไม่ป้องกัน
ระยะแพร่เชื้อ ตั้งแต่เริ่มมีไข้ และตลอดระยะที่มีอาการ

ระยะฟักตัว 2-21 วัน โรคนี้ พบได้ทุกกลุ่มอายุ อาการ ไข้สูงเฉียบพลัน อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ เจ็บคอ ตามด้วยอาการท้องเสีย อาเจียน ผื่น ไตและตับไม่ทำงาน บางรายมีเลือดออกทั้งภายในและภายนอก ตรงจเลือดพบเม็ดเลือดขาวต่ำ การวินิจฉัยโดยการตรวจ antigen-RNA หรือ genes ของไวรัสจากตัวอย่างเลือด หรือ ตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัส หรือ แยกเพาะเชื้อไวรัส การตรวจตัวอย่างเหล่านี้ มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมาก ต้องทำในห้องปฎิบัติการที่มีการป้องกันระดับสูง ระดับ 4 การรักษายังไม่มีการรักษาเฉพาะรวมทั้งยังไม่มีวัคซีน การทดแทนน้ำ-เกลือแร่ให้เพียงพอ

การควบคุมโรค
แยกผู้ป่วย และเน้นมาตรการป้องกันโรคอย่างเข้มงวด
ติดตามผู้สัมผัสทั้งหมด รวมทั้งผู้ที่อาจจะสัมผัสกับผู้สัมผัสใกล้ชิด โดยต้องตรวจอุณหภูมิร่างกายวันละ 2 ครั้ง เมื่อมีไข้ต้องรีบมาโรงพยาบาลและเข้าห้องแยกทันที
เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทุกคน ต้องมีการแจ้ง/บอกให้ทราบ ถึงโรคและการติดต่อ เน้นวิธีการป้องกันขณะดูแลผู้ป่วย และการจัดการเลือด สิ่งคัดหลั่งจากผู้ป่วย

การระบาดของโรคพบการระบาดครั้งแรกในปี พศ.2519ที่จังหวัดแห่งหนึ่งในซูดาน 800 กิโลเมตรจากแซร์อีร์(ปัจจุบัน เป็นประเทศคองโก) ตรวจพบเชื้อครั้งแรกในผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากการชำแหละลิงชิมแปนซี ที่ไอวอรี่โค้ด ปี พศ.2547 

ปัจจุบัน(กย 50) กระทรวงสาธารณสุขคองโก ยืนยันพบการระบาดของไข้เลือดออกอีโบลา ในจังหวัดคาไซตะวันตก (Kasai Occidental) โดยผลตรวจทางห้องปฏิบัติจาก CIRMF ในกาบอง และ CDC สหรัฐอเมริกา ยืนยันพบไวรัสอีโบล่า ส่วนในตัวอย่างปัสสาวะและเลือดจากผู้ป่วยต้องสงสัย จากการตรวจที่ INRB ในคินชาสาพบ Shigella dysenteriae type 1 ซึ่งการระบาดครั้งนี้ทีมจาก WHO ได้ลงไปในพื้นที่ระบาดตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2550ณ วันที่ 11 กันยายน 2550 WHO ทราบว่ามีผู้ป่วย 372 ราย เสียชีวิต 166 รายซึ่งจะมีการเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการต่อไป WHO ในประเทศและภาคพื้นแอฟริกา พันธมิตรที่เกี่ยวข้อง เช่น ศูนย์ควบคุมโรค องค์กรแพทย์ไร้พรมแดน (MSF) หน่วยงานสาธราณสุขแคนาดา ร่วมมือกันตอบโต้ต่อการระบาดครั้งนี้ โดยสนับสนุนช่วยเหลือในการเฝ้าระวังค้นหาผู้ป่วย ด้านระบาดวิทยา ห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ เวชภัณฑ์ การขับเคลื่อนสังคมในการป้องกันและควบคุมโรค การบริหารจัดการในพื้นที่

บทส่งท้าย ถึงแม้ว่า ขณะนี้ WHO ยังไม่มีคำแนะนำในการการจำกัดการเดินทางหรือค้าขายกับประเทศคองโก และยังไม่พบผู้ป่วยโรคนี้ใน ประเทศไทย 
แต่ เนื่องจาก ปัจจุบัน การเดินทางข้ามโลก ระหว่างประเทศ เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ภายใน 1 อาทิตย์ อาจพบว่าจากทวีปหนึ่งเดินทางไปอีกทวีปหนึ่งได้ ดังนั้น อาจพบผู้ติดเชื้อมาจากแหล่งที่มีการระบาด(เช่น คองโก) เดินทางเข้าประเทศได้ เนื่องจากระยะฟักตัวของโรคกว่าจะมีอาการ นานที่สุด พบได้ถึง 21 วัน ข้อแนะนำทั่วๆไป ในการเฝ้าระวังป้องกันโรค มีดังนี้
 
สำหรับคนไทยที่เดินทางไปประเทศเสี่ยง ต้องระมัดระวัง ไม่ใกล้ชิด ผู้ป่วยหรือ ผู้ที่มีอาการสงสัย เมื่อเดินทางกลับประเทศไทย ต้องคอยสำรวจตรววจตราตัวเองว่ามีไข้ หรือไม่ ถ้ามีไข้ ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที และให้ประวัติให้ละเอียดว่าไปที่ใดมาบ้างในช่วง 21 วันก่อนมีไข้
 
สำหรับ หน่วยงาน ที่ต้องคอยดูแลเฝ้าระวัง มี
ด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศ ซึ่งมีหน้าที่คอยดูแลตรวจตราผู้เดินทางเข้า-ออกระหว่างประเทศ ต้องเพิ่มความเข้มงวดในการคัดกรอง ซักถามผู้ที่เดินทางมาจากประเทศเสี่ยง ..Link...ดูแนวทางปฎิบัติ และรายละเอียด โรคจาก กลุ่มงานโรคติดต่อระหว่างประเทศ
สถานพยาบาล โดยเฉพาะรพ.เอกชน ที่รับตรวจชาวต่างประเทศ ควรเพิ่มการสอบถามประวัติการเดินทาง เมื่อพบชาวต่างประเทศมีอาการไข้มารับการรักษา โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางเข้าประเทศใหม่ๆ 
เมื่อมีผู้ป่วยสงสัย ต้องรีบแจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบ(ต่างจังหวัด แจ้ง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ในกทม แจ้ง ศูนย์บริการสาธารณสุข หรือ งานระบาด กทม หรือ สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข

 
Referrences :
World Health Organization website : Ebola factsheet
Ebola-Marburg viral Disease: Control of Communicable Disease Manual, 18th Edition;page 198-199

 
 
 


เข้าชม : 1199


บทความสุขภาพ 5 อันดับล่าสุด

      เกร็ดน่ารู้ในชีวิตประจำวัน 10 / ก.ค. / 2561
      7 โรคไร้พรมแดน ที่(อาจ)มากับ ประชาคมอาเซียน 18 / พ.ย. / 2557
      โรคที่มากับหน้าฝน 10 / ต.ค. / 2557
      อีโบล่า ไวรัสอันตราย 20 / ส.ค. / 2557
      โรคมือ เท้า ปาก Hand Foot and Mouth Disease 7 / ก.ค. / 2557


 

ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับตำบลบางด้วน
หมู่ที่2 บ้านยวนโปะ ตำบลบางด้วน  อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง โทร.086-8797266
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05