ความเป็นมาของวันภาษาไทยแห่งชาติ
ความเป็นมาของวันภาษาไทยแห่งชาติ
สาเหตุที่กำหนดให้วันที่ 29 กรกฏาคม เป็น “วันภาษาไทยแห่งชาติ”
สำหรับวันที่ 29 กรกฏาคม เป็น วันภาษาไทยแห่งชาติ นั้น เพราะตรงกับวันที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธานร่วมอภิปรายในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ 29 กรกฏาคม 2505 โดยทรงเปิดอภิปรายในหัวข้อ “ปัญหาการใช้คำไทย” โดยพระองค์ทรงอภิปรายและสรุปอภิปรายได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยกับความห่วงใยในการใช้ภาษาไทย คณะรัฐมนตรีจึงลงความเห็นว่าสมควรที่จะกำหนดให้ วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 29 กรกฏาคม ของทุกปีนั้นเอง
“...เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ควรจะใช้คำเก่าๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก…”
“...ในปัจจุบันนี้ปรากฏว่า ได้มีการใช้คำออกจะฟุ่มเฟือย และไม่ตรงกับความหมายอันแท้จริงอยู่เนืองๆ ทั้งออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นไปดังนี้ ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เองเป็นสิ่งอันประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเราทุกคนจึงมีหน้าที่จะต้องรักษาไว้
ภาษาไทยเป็นภาษาที่ เก่าเเก่ที่สุดในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีรากฐานมาจากออสโตรไทย ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับภาษาจีน มีหลายคำที่ขอยืมมาจากภาษาจีน
คนรุ่นใหม่ ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง"