[x] ปิดหน้าต่างนี้
 




 

  

ข่าวประชาสัมพันธ์
ประเภทความพิการ ของกระทรวงศึกษาธิการ

จันทร์ ที่ 10 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557


ความพิการ 9 ประเภท - กระทรวงศึกษาธิการ

             ศธ.ประกาศหลักเกณฑ์เรียนคนพิการ ๙ ประเภท (
13 พฤษภาคม 2552 ) กระทรวง ศึกษาธิการ กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ.2552 และประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2552 กำหนดประเภทของคนพิการออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่ 1. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น 2. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 3. บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา 4. บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ 5. บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ 6. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูด และภาษา 7. บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรม หรืออารมณ์ 8. บุคคลออทิสติก 9. บุคคลพิการซ้อน กำหนดเป้าหมายระยะยาว 1 ปี จัดทำรายงานผลปีละ ๒ ครั้ง กรณีส่งต่อผู้เรียนจบการศึกษาแต่ละระดับ หรือย้ายสถานศึกษา ให้สถานศึกษานำส่งแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล รายงานผลการประเมิน การดำเนินการตามแผน แฟ้มประวัติ และแฟ้มสะสมผลการเรียนของผู้เรียน เพื่อเป็นข้อมูลจัดการศึกษาต่อไป (มติชนออนไลน์ 12 พ.ค. 2552 )
1.บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการเห็นจนไม่สามารถรับการศึกษา ได้โดยการเห็นหรือใช้สายตาได้ตามปกติ แต่สามารถศึกษาเล่าเรียนได้โดยวิธีการต่างไปจากคนที่มองเห็นปกติแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. คนตาบอด หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการเห็นมากจนไม่สามารถอ่านหนังสือธรรมดาได้ ต้องสอน ให้อ่านและเขียนอักษเบรลล์ หรือใช้วิธีการฟังแถบบันทึกเสียง หรือเครื่องบันทึกเสียต่าง ๆ และมีความสามารถในการเห็นของตาข้างที่ดี หลักจากได้รับการแก้ไขแล้วอยู่ระหว่าง 20 ส่วน 200 ฟุต มีลานสายตาแคบกว่า 30 องศา
2. คนตาบอดบางส่วน หรือคนที่มีการเห็นเลือนราง หมายถึง บุคคลที่มีสูญเสียการเห็นแต่ยังสามารถอ่านอักษรตัวพิมพ์ที่มีขนาดใหญ่ได้ โดยต้องใช้แว่นขยายหรืออุปกรณ์พิเศษบางอย่างที่ทำให้ความชัดเจนของการเห็นใน ข้างที่ดี เมื่อแก้ไขแล้วอยู่ในระดับ 20 ส่วน 60 ฟุต ถึง 20 ส่วน 200 ฟุต มีลานสายตาแคบกว่า 30 องศา
2.บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่ระดับน้อยไปถึง ระดับรุนแรง จนไม่สามารถฟังเสียงได้เหมือนคนปกติซึ่งอาจจะเป็นหูตึง หรือหูหนวกก็ได้ แบ่งเป็น 2 ประเภท
1. คนหูหนวก หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการได้ยินมากจนไม่สามารถรับข้อมูลผ่านทางการได้ยิน ไม่ว่าจะใช้หรือไม่ใช้เครื่องช่วยฟังก็ตาม โดยทั่วไป หาตรวจการได้ยินจะสูญเสียการได้ยินประมาณ 90 เดซิเบลขึ้นไป ไม่สามารถได้ยินเสียงพูดดัง ๆ อาจรับรู้เสียงบางเสียงได้ จากการสั่นสะเทือน ไม่สามารถใช้การได้ยินได้เป็นประโยชน์เต็มประสิทธิภาพ คนหูหนวกอาจสูญเสียการได้ยินมา ตั้งแต่กำเนิด หรือสูญเสียการได้ยินภายหลัง
2. คนหูตึงหมายถึง บุคคลที่มีการได้ยินเหลืออยู่บ้างสามารถได้ยินได้ ไม่ว่าจะใช้เครื่องช่วยฟังหรือหรือไม่ก็ตาม หากตรวจการได้ยินจะพบว่ามีการสูญเสียการได้ยินน้อยกว่า 90 เดซิเบล ระดับการได้ยินอาจแบ่งเป็นกลุ่มย่อยดังนี้
Øตึงเล็กน้อย (26-40 เดซิเบล)
Øตึงปานกลาง (41-55 เดซิเบล)
Øตึงมาก (56-70 เดซิเบล)
Ø- ตึงรุนแรง (71-90 เดซิเบล)
3.บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา หมายถึง บุคคลที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าคนปกติทั่วไปทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม ภาษา เมื่อวัดสติปัญญาโดยใช้แบบทดสอบมาตรฐานแล้วมีสติปัญญาต่ำกว่าบุคคลปกติและความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่ำกว่าเกณฑ์ปกติอย่างน้อย 2 ทักษะ หรือมากกว่า เช่น ทักษะการสื่อความหมาย การดูแลตนเอง การดำรงชีวิตในบ้าน การควบคุมตนเอง สุขอนามัย และความปลอดภัย การเรียนวิชาการเพื่อชีวิตประจำวัน การใช้เวลาว่าง การทำงาน ทักษะทางสังคม และทักษะในการใช้สาธารณสมบัติ เป็นต้น ซึ่งลักษณะความบกพร่องทางสติปัญญาจะแสดงอาการแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ
1. บกพร่องระดับเล็กน้อย - ระดับเชาวน์ปัญญา (IQ) ประมาณ 55-70
2. บกพร่องระดับปานกลาง - ระดับเชาว์ปัญญา (IQ) ประมาณ 40-55
3. บกพร่องระดับรุนแรง - ระดับเชาว์ระดับรุนแรงมาก (IQ) ประมาณ 25-40
4. บกพร่องระดับรุนแรงมาก - ระดับเชาว์ปัญญา (IQ) ประมาณ 20-25
4.บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ หมายถึง บุคคลที่มีความผิดปกติ บกพร่องหรือสูญเสียอวัยวะ ส่วนใดสวนหนึ่งร่างกายทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ดีหรือมีอาการเกร็ง คือ อาการตึงตัวของกล้ามเนื้อ ส่วนใด ส่วนหนึ่งหรือหลายส่วน ควบคุมการทรงตัวได้ยากหรือไม่ได้เลย มีการเคลื่อนไหวของแขนขาไม่สัมพันธ์กันมีอาการสั่น เดินเซ หรืออาจเป็นบุคคลที่บกพร่องเนื่องจากสุขภาพ หรืออุบัติเหตุ อาการชัดโรคเรื้อรัง โรคติดต่อ เป็นต้น
ประเภทความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ อาจแบ่งได้ดังนี้
1. บกพร่องทางระบบประสาท เช่น บุคคลสมองพิการ (Cerebral Palsy)ไม่ใช่บุคคลปัญญาอ่อนแต่หมายถึง สมองส่วนที่ใช้ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งบกพร่อง หรือสูญเสียทำให้มีปัญหาในการเคลื่อนไหว ซึ่งแต่ละคนมีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวช้า ทรงตัวได้ไม่ดี ซึ่งแต่ละคนทีมากน้อยแตกต่างกันความบกพร่อง จะเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ ประมาณ 7 ปี
ลักษณะที่เห็นได้ชัดเจนของบุคคลสมองพิการ ได้แก่
               - กล้ามเนื้อหดตัว เกร็ง (Spastic) เป็นลักษณะความผิดปกติของการควบคุมการเคลื่อนไหว เคลื่อนไหวช้ามีอาการเกร็ง ซึ่งเราจะพบบุคคลที่มีอาการในกลุ่มนี้มากที่สุด
                - กล้ามเนื้อควบคุมการเคลื่อนไหวได้ยาก (Athetiod) มีลักษณะขนขาไม่สัมพันธ์ กังหันไป ตามทิศทางต่าง ๆ 
                - กล้ามเนื้อตึงตัว (Ataxia) มีอาการสั่น เดินเซ ควบคุมการทรงตัวได้ไม่ดี ซึ่งเราจะพบบุคคล ที่มีอาการในกลุ่มนี้น้อยที่สุด
                 - แบบผสม มีลักษณะร่วมตั้งแต่ 2 ชนิด เช่น มีอาการเกร็งร่วมกับการเคลื่อนไหวของแขน ไม่สัมพันธ์กัน หันไปคนทิศหรือมีการเกร็ง ควบคุมการทรงตัวไม่ได้มีการสั่นเดินเซ เป็นต้น
2. บกพร่องทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูก เช่น กล้ามเนื้อเปลี่ยน ไขข้ออักเสบ เป็นต้น
3. ไม่สมประกอบมาแต่กำเนิด เช่น น้ำครั่งในสมอง แขน ขาด้วยหรือกุด แขน ขามีขนาดใหญ่ เล็กผิดปกติ เป็นต้น
4. สภาพความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพอื่น ๆ ได้แก่ บกพร่องจากอุบัติเหตุไฟไหม้ แขน ขาขาด โรคติดต่อ เช่น โปลิโอ การได้รับอันตรายจากการคลอด หรือบกพร่อง เนื่องจากสุขภาพ เช่น โรคหืด โรคหัวใจ โรคปอด โรคเอดส์ เป็นต้น
5.บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หมายถึง บุคคลที่มีความบกพร่องทางการรับรู้หรือทางการเรียนรู้ที่มี ความ ผิดปกติอย่างเดียวหรือหลายอย่างทำให้เกิดปัญหาทางการฟัง การอ่าน การพูด การเขียน การสะกด การคำนวณ การใช้เหตุผล การรวบรวมความคิด ซึ่งความผิดปกตินี้ไม่ใช่เกิดจากภาวะบกพร่องทางการเห็น การได้ยินทางร่างกาย ทางสติปัญญา ทางอารมณ์แต่เป็นภาวะทางสมองที่มีความผิดปกติทำให้การแปลภาพ การแปลเสียงหรือการรับรู้ แปรปรวนไปจากเดิมเด็กบางคนมองเห็นหนังสือกลับหลัง เด็กบางคนไม่สามารถแปลความหมายหรือเข้าใจจากการได้ยิน เด็กบางคนไม่เข้าใจตัวเลขและความหมายตัวเลข
6.บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา หมายถึง บุคคลที่มีความบกพร่องในเรื่องการออกเสียงพูด เช่น เสียงผิดปกติ อัตราความเร็วและจังหวะการพูดผิดปกติ หรือคนที่มีความบกพร่องในเรื่องการเข้าใจ และการใช้ภาษาพูด การเขียนตลอดจนระบบสัญลักษณ์อื่นที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งอาจเกี่ยวกับรูปแบบภาษา เนื้อหาของภาษา และหน้าที่ของภาษา
7.บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรม และอารมณ์
บุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ หมายถึง บุคคลที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากบุคคลทั่วไป และพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนนี้ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ต่อสิ่งต่างๆ และปัญหาทางพฤติกรรมนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่เป็นที่ยอมรับกันทางสังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งขาดสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม มีความคับข้องใจ มีการเก็บกดทางอารมณ์โดยแสดงออกทางร่างกาย
ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์
-          ก้าวร้าว ก่อกวน เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ มักแสดงออกในทางก้าวร้าว ก่อกวนความสงบของผู้อื่น พฤติกรรมที่แสดงออกอาจรวมไปถึงความโหดร้าย ทารุณสัตว์ ชกต่อย ทำร้ายตัวเองและผู้อื่น หวีดร้อง กระทืบเท้า ไม่เชื่อฟังครูและพ่อแม่ พฤติกรรมเหล่านี้อาจรุนแรงขึ้นหากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง
-          การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ หมายถึง ไม่หยุดนิ่ง เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา โดยปราศจากจุดหมาย นอกจากนี้ยังมีความสนใจสั้น สนใจในบทเรียนได้ไม่นาน ขาดสมาธิในการเรียน
-          การปรับตัวทางสังคมเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ จะมีการปรับตัวทางสังคมไม่ถูกต้อง ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ที่ไม่เป็นที่ยอมรับทางสังคม เช่น แก๊งอันธพาล การทำลายสาธารณสมบัติ ลักขโมย หนีโรงเรียน การประทุษร้ายทางเพศ


เข้าชม : 1393


ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

      การสอบปลายภาคเรียนที่ 1/2562 2 / ต.ค. / 2562
      นักศึกษาพิการรับทุนการศึกษา 25 / ก.พ. / 2562
      โครงการเสริมสร้างศักยภาพครูผู้สอนคนพิการ กศน.ตรัง ด้านเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้สื่อเทคโนโลยี 17 / ส.ค. / 2559
      ครูผู้สอนผู้พิการ กศน.อำเภอวังวิเศษ เข้าร่วมกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2558 ณ โรงเรียนวังวิเศษ อำเภอวังวิเศษ 13 / ม.ค. / 2558
      ครูสอนผู้พิการ กศน.อำเภอวังวิเศษ เข้า ร่วมพิธีและแลกเงินขวัญถุงพระราชทาน กองทุนแม่ของแผ่นดิน 20 / ต.ค. / 2557




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
ถนนเพชรเกษม 16 หมู่ 7 ตำบลวังมะปรางเหนือ  อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง โทรศัพท์ 075 - 262147
โทรสาร 075-262147
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05