[x] ปิดหน้าต่างนี้
 




 

  

ความรู้เกี่ยวกับ IT
ชู 3 \"เครื่องมือแพทย์\" ไทยวิจัยเองถูกกว่านำเข้าครึ่งต่อครึ่ง

พุธ ที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ.2557

คะแนน vote : 124  

 

ชู 3 "เครื่องมือแพทย์" ไทยวิจัยเองถูกกว่านำเข้าครึ่งต่อครึ่ง

สวทช. จับมือ สปสช.กำหนดทิศทางสร้างเครื่องมือแพทย์ หวังลดการนำเข้า ชู 3 "เครื่องช่วยฟัง-ข้อเข่าเทียม-ต้นแบบสร้างอวัยวะเทียม" ผลงานวิจัยไทยพร้อมใช้ 
       ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล (คนที่3จากซ้าย)ผู้อำนวยการสวทช. และนพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช.(คนที่2จากซ้าย) เป็นผู้ลงนามในพิธี
       สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง "การกำหนดแนวทางการสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนา และบริหารผลงานวิจัยด้านการแพทย์สู่การใช้ประโยชน์" เมื่อวันที่ 4 ส.ค.57ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย โดยมี ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. และ นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. ร่วมลงนาม
       
       ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า ไทยมีความต้องการวัสดุทางการแพทย์สูงมาก และมีความต้องการสูงขึ้นทุกปี โดยมีมูลค่าการใช้จ่ายที่สูงถึง 38,000 ล้านบาท ซึ่งวัสดุทางการแพทย์เกือบทั้งหมดที่ใช้ในปัจจุบันนำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศทางแถบยุโรป อเมริกาและญี่ปุ่น ในขณะที่ประเทศไทยก็มีศักยภาพในการผลิตได้เช่นกัน การส่งเสริมนวัตกรรมผลงานวิจัยโดยคนไทยจึงเป็นสิ่งที่ควรสนับสนุน
       
       "โดยปกติบทบาทหน้าที่ของ สวทช. คือการทำวิจัยอยู่แล้ว แต่เป็นการทำวิจัยแล้วจึงนำผลที่ได้มาดูว่าจะปรับใช้กับเรื่องใดได้บ้าง แต่การเข้ามาให้ความร่วมมือจากทาง สปสช.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีข้อมูลความต้องการทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ของประชาชนทั้งประเทศ จะทำให้สามารถกำหนดทิศทางงานวิจัยได้ง่ายขึ้น ว่าควรทำวิจัยในรูปแบบใด เพื่อการนำไปต่อยอดในทางพาณิชย์ที่จะทำให้เกิดการใช้ประโยชน์ได้จริงในกลุ่มประชาชน อีกทั้งยังเป็นการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ของไทยให้ได้ตามมาตรฐานที่ทั่วโลกยอมรับ นำไปสู่การผลักดันสู่การส่งออกในอนาคต" ดร.ทวีศักดิ์กล่าว
       
       ทางด้านของ นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เผยว่า เป็นเรื่องดีที่ 2 หน่วยงานจะได้มาทำงานร่วมกัน เนื่องจากในแต่ละปีประเทศไทยต้องใช้งบประมาณในการดูแลทางด้านการรักษาพยาบาบและสาธารณสุขเป็นจำนวนมากคิดเป็นงบประมาณ 5% จากรายได้มวลรวมของประเทศ หากวัสดุทางการแพทย์เป็นนวัตกรรมที่ทำขึ้นโดยคนไทย ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและราคายุติธรรม ก็จะเป็นผลดีต่อประชาชนและการใช้งบประมาณของรัฐบาล
       
       "อย่างเช่นเครื่องมือช่วยฟังที่มีความจำเป็นสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางด้านการได้ยิน แต่เดิมการรักษาโดยใส่เครื่องช่วยฟังจะใช้งบประมาณต่อเครื่อง ต่อครั้งที่จำนวนเงิน 13,500 บาท แต่ปัจจุบันนักวิจัย สวทช.ได้ประดิษฐ์เครื่องช่วยฟังรุ่นอินทิมา (intima) ที่สามารถใช้งานได้ดีเทียบเท่าเครื่องช่วยฟังจากต่างประเทศ แต่ใช้งบประมาณเพียงเครื่องละ 7,000 บาท ซึ่งถ้าหากในอนาคตไทยสามารถพัฒนางานวิจัยนวัตกรรมทางการแพทย์และนำมาใช้เองในประเทศ แทนการนำเข้าวัสดุจากต่างประเทศได้ในสัดส่วนที่มากขึ้นก็จะช่วยประหยัดงบประมาณที่ต้องเสียดุลกว่าปีละ 5,000 ล้านบาทได้" นพ.วินัยกล่าว
นายอนุกูล น้อยไม้ (ขวา) และนายธราพงษ์ สูญราช (ซ้าย) ผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัยนวัตกรรมทางการแพทย์เครื่องช่วยฟัง จาก NECTEC
       
       สำหรับนวัตกรรมทางการแพทย์ที่มีการนำมาใช้จริงกับคนไข้ในโรงพยาบาลนำร่องแล้ว หลังจากการเข้ามามีส่วนร่วมกันระหว่าง สวทช.และ สปสช. มี 3 ผลงานด้วยกัน ได้แก่ เครื่องช่วยฟังดิจิทัลรุ่นอินทิมา (intima), ข้อเข่าขาเทียมแบบ 4 จุดหมุนและส่วนประกอบแกนในไม่รวมฝ่าเท้า และการจำลองทางการแพทย์และขึ้นรูปวัสดุฝังในเฉพาะบุคคล (Customized Implants) เพื่อทดแทนอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย ที่สูญเสียจากการเกิดอุบัติเหตุหรือความพิการบกพร่องของร่างกาย
       
       นายอนุกูล น้อยไม้ นักวิจัยห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการฟื้นฟูและอำนวยความสะดวก หน่วยพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์และระบบทางชีวการแพทย์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เจ้าของผลงานเครื่องช่วยฟังดิจิทัลรุ่นอินทิมา (intima) อธิบายว่า เครื่องดังกล่าวเป็นเครื่องมือที่ทางนักวิจัยจาก สวทช.และบริษัทเอกชนร่วมกันออกแบบ มีการทดสอบผ่านมาตรฐานสากล และได้เข้าร่วมกับ สปสช.ในโครงการนำร่องบริการเครื่องช่วยฟังไทยภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 500 เครื่องใน 12 โรงพยาบาล
       
       "จุดเด่นของเครื่องอยู่ที่รูปแบบซึ่งเป็นดิจิทัลทั้งหมด และใช้พลังงานโดยการชาร์จแบตเตอรีคล้ายโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อแบตเตอรี่ ก่อนใช้ผู้ป้วยต้องไปที่โรงพยาบาลเพื่อวัดความถี่ในการสูญเสียการได้ยิน แล้วจึงค่อยมาปรับเครื่องช่วยฟังให้เหมาะกับคนไข้แต่ละคน ซึ่งในส่วนของหูฟังจะถูกออกแบบมาพอดีกับลักษณะรูหูของผู้ป่วยแต่ละคนด้วยการพิมพ์ลักษณะรูหู เพื่อความคล่องตัว ไม่หลุดร่วงเวลาใช้งาน" นายอนุกูลกล่าว
       
       สำหรับเครื่องช่วยฟังดิจิทัลรุ่นอินทิมานั้น ทีมวิจัยใช้เวลาในการพัฒนานาน 4-5 ปี เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ จึงจำเป็นต้องผ่านการทดสอบทั้งในห้องปฏิบัติการและผู้ป่วยจริงจึงจะผ่านการรับรองมาตรฐานได้ โดยต้นทุนของเครื่องอยู่ที่ 7,000 บาท คิดเป็นครึ่งหนึ่งของราคาที่ต้องจ่ายหากนำเข้าเครื่องช่วยฟังจากต่างประเทศในปัจจุบันที่อยู่ในช่วงราคาประมาณ 13,500 บาท
       
       ทางด้าน นายจักพงศ์ พิพิธภักดี จากเนคเทคเช่นกัน เจ้าของผลงานนวัตกรรมข้อเข่าขาเทียมแบบ 4 จุดหมุนและส่วนประกอบแกนในไม่รวมฝ่าเท้า เผยว่า งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยของ สวทช. และศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ และบริษัทเอกชน แต่เดิมข้อเข่าขาเทียมแบบสี่จุดหมุนต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศซึ่งราคาค่อนข้างสูงถึงประมาณ 60,000 บาท ในขณะที่ต้นทุนเมื่อทำเองจะอยู่ที่ประมาณ 30,000 บาทเท่านั้น
       
       "ข้อเข่าขาเทียมแบบ 4 จุดหมุนจะเป็นกลไกการทำงานของแรงกลที่จะช่วยลดแรงในการงอขา ผู้ใช้จะไม่ต้องออกแรงมากและไม่เจ็บจากการกระแทกเมื่อขาเทียมสัมผัสพื้นเนื่องจากระบบสปริงช่วยเหยียดข้อเข่า และการปรับระบบฝืดเพื่อป้องกันการพับงอเมื่อมีการงอเข่า ซึ่งจะช่วยให้ผู้พิการเดินได้อย่างมั่นคงด้วยการออกแบบที่สร้างขึ้นตามหลักชีวกลศาสตร์การเดิน" นายจักพงศ์กล่าว
       
       สำหรับนวัตกรรมข้อเข่าขาเทียมแบบ 4 จุดหมุนนั้น ได้รับมาตรฐาน ISO 10328:2006 ที่เป็นการทดสอบทางวิศวกรรม ทางการทดสอบแรงกดที่บริเวณส้นเท้าและปลายเท้ากว่า 3 ล้านครั้งในห้องปฏิบัติการเพื่อทดสอบการทำงานก่อนที่ผู้พิการจะใช้จริง
       
       "ผลที่ได้เป็นที่น่าพอใจเนื่องจากข้อเข่าขาเทียมที่ทำขึ้นทำจากโลหะสแตนเลสและอลูมิเนียม แต่มีน้ำหนักเพียง 1,900 กรัม ขณะที่ขาเทียมในท้องตลาดมีน้ำหนักมากกว่าหลายเท่า อีกทั้งข้อเข่าเทียมของเรายังสามารถปรับสปริงการเหยียด และความฝืดของการงอขาได้ตามจังหวะการเดินของผู้ใช้แต่ละคน ในอนาคตจะพัฒนารูปแบบของการเคลื่อนไหวให้สามารถนั่งพับเพียบและไขว่ห้างได้เพื่อความสะดวกในชีวิตประจำวันของผู้พิการเพิ่มเติมจากที่ตอนนี้สามารถเหยียดและงอขาได้เพียงอย่างเดียว" ทีมวิจัยระบุ
       
       อีกนวัตกรรมทางการแพทย์จากความร่วมมือของ 2 หน่วยงานคือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต้นแบบรวดเร็วในทางการแพทย์ เพื่อการสร้างแบบจำลองอวัยวะ 3 มิติเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ผลงานของ ดร.กฤษณ์ไกรพ์ สิทธิเสรีประทีป นักวิจัยอาวุโส ห้องปฏิบัติการอุปกรณ์การแพทย์ หน่วยวิจัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
       
       ดร.กฤษณ์ไกรพ์ อธิบายว่าเครื่องสร้างต้นแบบรวดเร็วทางการแพทย์ใช้เทคโนโลยีเอสแอลเอ (Stereolithography) ร่วมกับการพัฒนาวัสดุเรซินเหลวที่เข้ากันได้ในทางชีวภาพ เพื่อใช้เป็นวัสดุฝังในการศัลยกรรม และเทคโนโลยีการสร้างชิ้นงานต้นแบบ 3 มิติจากคอมพิวเตอร์กราฟฟิก โดยใช้หลักการขึ้นรูปทีละชั้นตามภาคตัดขวางของชิ้นงานจนได้ชิ้นงานที่สมบูรณ์ในเวลาอันสั้นเพื่อการจำลองทางการแพทย์และขึ้นรูปวัสดุฝังในเฉพาะบุคคล (Customized Implants) เพื่อทดแทนอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย ที่สูญเสียจากการเกิดอุบัติเหตุหรือความพิการบกพร่องของร่างกาย
       
       ตัวอย่างเช่นการพัฒนากะโหลกศีรษะเทียมโดยใช้วัสดุที่มีการใช้อยู่เดิมในห้องผ่าตัด มาหล่อขึ้นรูปวัสดุฝังในด้วยเทคโนโลนีก่อนทำการผ่าตัด ซึ่งแต่เดิมแพทย์จะเป็นผู้ปั้นแต่งจากวัสดุด้วยมือภายหลังจากการเปิดแผลผ่าตัดในห้องผ่าตัดแล้วเท่านั้น โดยใช้ข้อมูลจากเครื่องตรวจวินิจฉัยโรคโดยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) เพื่อออกแบบรูปร่างของอวัยวะ
       
       "ปัจจุบันเทคโนโลยีนี้มีการใช้และได้รับการตอบรับที่ดีจากศัลยแพทย์มากมาย และมีการนำไปใช้กับผู้ป่วยแล้วมากกว่า 1,000 รายจากสถานพยาบาล 80 แห่ง โดยนอกจากกะโหลกศีรษะเทียมที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีแล้ว ยังมีการพัฒนาลูกตาเทียมแบบมีรูพรุนจากพลาสติกพอลิเอทิลีนจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติด้วย โดยลูกตาเทียมที่พัฒนาขึ้นมีความพิเศษกว่าลูกตาชนิดอื่นเนื่องจาก คุณสมบัติที่เป็นรูพรุนจะทำให้เส้นเลือดและเนื้อเยื่อสามารถเจริญเข้าไปในลูกตาเทียมเพื่อเพิ่มความแข็งแรงในการยึดเกาะ และลดความเสี่ยงในการเลื่อนหลุด อีกทั้งยังมีน้ำหนักเบาที่จะช่วยลดแรงกดต่อเปลือกตา ทำให้สามารถกรอกตาได้ดีขึ้นด้วย" ดร.จิตมัย สุวรรณประทีป นักวิจัยผู้ช่วยในโครงการพัฒนาลูกตาเทียม และกะโหลกเทียมเผยแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์
       
       สำหรับลูกตาเทียมชนิดรูพรุนนั้น ถูกนำไปทดลองใช้แล้วที่โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์
นายจักพงศ์ พิพิธภักดี เจ้าของผลงานนวัตกรรมข้อเข่าขาเทียมแบบ 4 จุดหมุนและส่วนประกอบแกนในไม่รวมฝ่าเท้าจาก NECTEC


























 


เข้าชม : 1453


ความรู้เกี่ยวกับ IT 5 อันดับล่าสุด

      พิมพ์ \"เซลล์ดวงตา\" ด้วยอิงค์เจ็ท ความหวังรักษาตาบอด 24 / ก.ย. / 2557
      รองเท้าสมาร์ท “บอด” 24 / ก.ย. / 2557
      ชู 3 \"เครื่องมือแพทย์\" ไทยวิจัยเองถูกกว่านำเข้าครึ่งต่อครึ่ง 24 / ก.ย. / 2557
      ิธีการช่วยเหลือเบื้องต้นแก่คนพิการด้านร่างกาย 19 / มี.ค. / 2557
      ข่าวไอที 25 / เม.ย. / 2554




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้ [กด F5 ถ้ารหัสไม่ชัดเจน]
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ mocyc@hotmail.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
ถนนเพชรเกษม 16 หมู่ 7 ตำบลวังมะปรางเหนือ  อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง โทรศัพท์ 075 - 262147
โทรสาร 075-262147
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05