กิจกรรมพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวสำหรับเด็กออทิสติก
( Movement For Learning )
เรียบเรียงโดย กมลรัตน์ ประชุมพลอย
|
การออกกำลังกายช่วยส่งเสริมให้เด็กออทิสติกมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์
สังคมและสติปัญญาเช่นเดียวกับกิจกรรมการศึกษาแขนงอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้กิจกรรม
พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวเป็นกิจกรรมหลักในการส่งเสริมสุขภาพ
กิจกรรมพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว ช่วยนำไปสู่การพัฒนาด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ส่งเสริมพัฒนาด้านร่างกายและความแข็งแรงของอวัยวะต่าง ๆ
ตามหลักสรีระวิทยาร่างกายคน ตั้งแต่แรกเกิดมาจนกระทั่งตายล้วนต้องการ
ออกกำลังกายเป็นประจำและสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้รับการกระตุ้น
เป็นผลให้ร่างกายแข็งแรงทนทาน และเมื่อกิจกรรมเสร็จสิ้นร่างกายก็สามารถกลับคืนสู่สภาพ
ปกติเร็วขึ้น นอกจากนี้ การออกกำลังกายจะช่วยกระตุ้นให้อวัยวะต่าง ๆ ได้เติบโตเต็มที่และ
ช่วยส่งเสริมสมรรถภาพของร่างกาย
2. ส่งเสริมการประสานสัมพันธ์ระหว่างประสาทและกล้ามเนื้อ
ความสัมพันธ์ระหว่างประสาทและกล้ามเนื้อ คือ การที่ร่างกายสามารถจะเคลื่อน
ไหวได้จังหวะ กลมกลืน สง่างาม รวมถึงการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการทำงาน การเล่นกีฬา การเดิน
การกระโดด การขว้างปา และอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งการเคลื่อนไหวในกิจกรรมเหล่านี้จะดีหรือไม่ดี
ขึ้นอยู่กับการทำงานสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างประสาทและกล้ามเนื้อ
3. ส่งเสริมพัฒนาการทางสังคม
กิจกรรมทางการเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย สามารถส่งเสริมพัฒนาการสังคม
หากจัดกิจกรรมอย่างบูรณาการ ซึ่งจะพัฒนาส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถปรับตัวเอง
ให้เข้ากับ สถานการณ์และสิ่งแวดล้อม และมีความเข้าใจในสังคมที่ตัวเองมีชีวิตอยู่ได้เป็นอย่างดี
เช่น จะส่งเสริมให้เป็นผู้ที่มีความกล้า ความเชื่อมั่นในตนเอง ความคิดริเริ่ม ความอดทน การรู้จัก
ยับยั้งชั่งใจ การมีศีลธรรมจรรยาสำหรับคุณลักษณะที่เกี่ยวกับหมู่พวก ได้แก่ การเห็นอกเห็นใจ
ซึ่งกันและกัน การให้ความร่วมมือ ความซื่อสัตย์สุจริต ความเป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา การเคารพสิทธิ
ของผู้อื่น การรู้จักเคารพต่อกติกาการเล่น การเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
การเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี คุณลักษณะเหล่านี้สามารถที่จะถ่ายทอดไปใช้ในสถานการณ์ของ
การมีชีวิตอยู่ในสังคมต่อไป
4. ส่งเสริมพัฒนาทางด้านอารมณ์และจิตใจ
การออกกำลังกายช่วยลดความตึงเครียด ช่วยให้สดชื่นและมีชีวิตยืนยาว จิตใจแจ่มใส
ร่าเริง ไม่มีความวิตกกังวล
5. ส่งเสริมการเรียนรู้
ตามหลักจิตวิทยาการเรียนรู้ของเด็กในวัยเริ่มต้นเป็นการเรียนทางด้านกลไก และ
การเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น การวิ่ง การกระโดด ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนขั้นสูงต่อไปอีก
นอกจากนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถภาพทางกาย และทักษะกลไกต่อผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนเด็กที่มีทักษะทางด้านกลไกสูงมีความสัมฤทธิ์ในการอ่าน การเขียน และความเข้าใจสูง
กว่าเด็กที่มีทักษะทางด้านกลไกต่ำ
ขอบข่ายของกิจกรรมการพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว
1. ทักษะขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การวิ่ง การขว้าง การกระโดด ฯลฯ
2. การเคลื่อนไหวแบบแยกส่วนต่างของร่างกาย
3. กิจกรรมเข้าจังหวะ
4. เกมและกีฬาต่าง ๆ
5. กิจกรรมสร้างสมรรถภาพ กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพตนเอง
6. กิจกรรมแก้ไขความบกพร่องของร่างกาย
7. กิจกรรมนันทนาการ
8. กิจกรรมกลางแจ้ง และการอยู่ค่ายพักแรม
จากขอบข่ายการจัดกิจกรรมการพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวจะเห็นได้ว่ามีกิจกรรม
มากมาย หลายประเภทต่างก็มีความสำคัญและคุณค่าแก่เด็กแตกต่างกันออกไป การส่งเสริม
การออกกำลังกายจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้กว้างขวาง และเปิดโอกาส
ให้เด็กได้เข้าร่วมตามความต้องการและความสนใจ เพื่อให้เกิดพัฒนาการพร้อมกันไปทุกด้าน
การเลือกกิจกรรมการออกกำลังกายของเด็กออทิสติก
1. การฝึกการเดิน การเดินเป็นการออกกำลังกายขั้นพื้นฐานที่เหมาะสำหรับเด็ก
ออทิสติกที่เริ่มฝึกทักษะการเคลื่อนไหว จุดมุ่งหมายของการฝึกเดิน คือ เพื่อให้หัวใจและระบบ
ไหลเวียนสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและฝึกการฟัง
2. การวิ่งเหยาะและการวิ่ง เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากการฝึกการเดิน การวิ่งเป็น
การออกกำลังกายที่เพิ่มความอดทนของระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต ทั้งนี้เพื่อควบคุม
การเคลื่อนไหวอย่างมีทิศทาง
3. การออกกำลังกายโดยขี่จักรยานอยู่กับที่ การฝึกการขี่จักรยานอยู่กับที่ช่วยพัฒนา
กลไกกล้ามเนื้อมัดใหญ่และระบบการเคลื่อนไหว โดยใช้อัตราการเต้นของหัวใจเป็นเกณฑ์
4. การว่ายน้ำ เป็นการออกกำลังกายที่ดีที่สุด เนื่องจากน้ำมีความต้านทานจึงสามารถ
ลดแรงกระแทกของร่างกายในขณะออกกำลังกายได้เป็นอย่างดี และร่างกายสามารถเคลื่อนไหว
ได้ทุกส่วน นอกจากนี้การออกกำลังกายในน้ำยังเหมาะสำหรับผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอหรือมีความ
พิการผิดปกติทางกล้ามเนื้อ โดยทางการฟื้นฟูสมรรถภาพ เรียกกิจกรรมนี้ว่า “ ธาราบำบัด ”
ผลจากการฝึกทักษะการเคลื่อนไหว
1. การเปลี่ยนแปลงของระบบต่าง ๆ
1.1 ขนาดของหัวใจโตขึ้น
1.2 อัตราการเต้นของหัวใจดีขึ้น
1.3 ปริมาณเลือดที่สูบฉีดหัวใจต่อครั้งได้เพิ่มขึ้น
1.4 มัดกล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่โตขึ้น
2. การเปลี่ยนแปลงของระบบหายใจ
2.1 การระบายอากาศของปอดเพิ่มขึ้น
2.2 ประสิทธิภาพของการระบายอากาศเพิ่มสูงขึ้น
2.3 อัตราการเหนื่อยต่อการทำกิจกรรมลดลง
3. การเปลี่ยนแปลงด้านอื่น ๆ
3.1 ไขมันในร่างกายลดลง
3.2 ร่างกายมีความเคยชินต่อความร้อนเพิ่มขึ้น
3.3 กระดูก เอ็น และพังผืด มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น
เอกสารอ้างอิง
คู่มือการช่วยเหลือเด็กออทิสติก ( วัยแรกพบ ) สำหรับผู้ปกครอง
เข้าชม : 974
|