[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 
 

  

ข่าวประชาสัมพันธ์
ครูผู้สอนคนพิการ กศน.อำเภอกันตัง นางสาวฐิติรัตน์ หนิษฐา

อาทิตย์ ที่ 1 เดือน มีนาคม พ.ศ.2558


 พระราชประวัติ 

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาเจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรรัฐสีมาคุณากรปิยชาติสยามบรมราชกุมารี 

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชสมภพ

เมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 2ในพระบาทสมเด็กพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ 
สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ถวายพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดากิติโสภาดุลภาคย์"
 
 เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ขณะพระชนมายุ ได้ 3 พรรษาเศษ ได้ทรงเข้ารับการศึกษาระดับอนุบาลที่โรงเรียนจิตรลดา ทรงมีพระสติปัญญา เฉลียวฉลาดสนพระทัยในการอ่านอย่างมากมายมาแต่ยังทรงพระเยาว์ จึงทรงมีพระสมญาอีกอย่างหนึ่งว่า "หนอนหนังสือ" ไม่ว่าจะเสด็จประทับ ณ ที่ใด
 จะทรงมีหนังสือติดพระหัตถ์อยู่เสมอ แม้จะเสด็จประทับในรถยนต์หรือเครื่องบิน

ปีการศึกษา 2510 ขณะทรงศึกษาอยู่ในชั้นประถมปีที่ 7 ทรงสอบข้อสอบของกระทรวงศึกษาธิการซึ่งวัดผลทั่วประเทศ ทรงทำคะแนนรวมได้ร้อยละ 96.6 เป็นลำดับที่ 1 ของการสอบวัดผลระดับประโยคประถมศึกษาตอนปลายของประเทศ

และในปีการศึกษา 2515 ทรงสอบข้อสอบของกระทรวงศึกษาธิการ ได้คะแนนรวมร้อยละ 89.30 เป็นลำดับที่ 1 ของประเทศในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนกศิลปะ
 
 
 เมื่อทรงศึกษาจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ทรงสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
ที่คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทรงลงทะเบียน เป็นนิสิตตามระเบียบของมหาวิทยาลัยเลขทะเบียน 16138 ทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์แรกที่ทรงศึกษามหาวิทยาลัย ในประเทศไทยตลอดระยะเวลาที่ทรงเข้าศึกษาเป็น "นิสิต"ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดา ฯ ทรงมีพระจริยาวัตรและมีน้ำพระทัย "น้องพี่สีชมพู" อย่างแท้จริง
ทรงเข้าร่วมพิธีและกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเช่นเดียวกับนิสิตอื่นๆทุกคน
เช่น เสด็จมารับการปฐมนิเทศ ทรงร่วมในพิธีไหว้ครู ตามประเพณีไทย
โดยเฉพาะกิจกรรมวันรับน้องใหม่ ทรงปฏิบัติตาม "ประเพณี" ของชาวจุฬาฯ ตามดังกราบบังคมทูลของรุ่นพี่ เช่น ทรงร้องเพลงบูมจุฬา ฯ แสดงลิเก ลอดซุ้ม ทรงเข้าซ้อมเพลงเชียร์ ทรงกีฬา เสด็จร่วมทรงบาตรในวันครบรอบการสถาปนามหาวิทยาลัย ทรงร่วมแข่งขันกีฬาระหว่างนิสิต กับคณาจารย์ในวันเกิด
คณะอักษรศาสตร์ คือวันที่ 3 มกราคมของทุกปี ทรงขับร้องเพลงลูกทุ่งกับวงดนตรีของคณะ 
ทรงร่วมพัฒนาคณะปลูกต้นไม้ประดับบริเวณคณะ
 
 
  นอกจากนั้นยังทรงสมัครเป็นสมาชิกชมรมดนตรี ชมรมวรรณศิลป์ ของสโมสรจุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย สมาชิกชมรมภาษาไทย ภาษาตะวันออก และประวัติศาสตร์ในคณะอักษรศาสตร์ ทรงจัดหาเรื่อง
และประทานบทพระราชนิพนธ์ลงในหนังสือ "อักษรศาสตร์พิจารณ์" ของชุมนุมวิชาการคณะอักษรศาสตร์ ทรงร่วมมือกับนิสิตภาควิชาประวัติศาสตร์  ริเริ่มจัดทำหนังสือ "สะพาน" เพื่อรวบรวมบทความและรายงาน
ของนิสิตลงพิมพ์เผยแพร่  
 
ในการศึกษาปีแรก ทรงสอบได้เป็นที่ 1 ของนิสิตชั้นปีที่1 ของคณะอักษรศาสตร์ด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.94
ทรงได้รับรางวัล เงินทุนศาสตราจารย์พระวรเวทย์พิสิฐ ซึ่งเป็นสำหรับนิสิตปีที่1 ซึ่งสอบได้คะแนนยอดเยี่ยม นวิชาภาษาไทย ทรงได้รับรางวัลของสมาคมฝรั่งเศสที่มอบให้นิสิต ซึ่งได้คะแนนสูงสุด ในแต่ละชั้นปีปีต่อมาทรงได้รับรางวัลพระยาสุจริตธำรง

สำหรับคะแนนยอดเยี่ยมวิชาภาษาไทย และทรงได้รับทุนเรียนดีทุกปี แม้จะทรงสนพระทัย พระพุทธศาสนาและภาษาบาลีเป็นการส่วนพระองค์ แต่ก็ทรงตระหนักว่า พระองค์จะทรงสามารถ
ปฏิบัติพระราชกิจให้เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติได้ดีที่สุดนั้นจะต้องทรงรอบรู้
เรื่องประเทศเพื่อนบ้าน ให้มากที่สุด ด้วยเหตุนี้จึงทรงเลือกเรียนวิชาประวัติศาสตร์
เป็นวิชาเอก วิชาภาษาไทย และวิชาบาลี- สันสกฤต เป็นวิชาโท และทรงลงทะเบียน 
เข้าร่วมการบรรยายโดยไม่เข้าสอบอีก 4 รายวิชา
 
 
เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2519 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดา ฯ ทรงสอบได้คะแนนเฉลี่ย 3.98ทรงได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง และเป็นที่ 1 ของผู้สำเร็จการศึกษาอักษรศาสตร์บัณฑิต
ทรงได้รับ รางวัลรันซิแมน คะแนนยอดเยี่ยมในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ รางวัลสุภาพ จันทรโบส
สำหรับนิสิตหญิงที่ได้เกียรตินิยมและได้คะแนนสูงสุดในแต่ละสาขาวิชา
 
 
วันที่ 15 กรกฏาคม 2520 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดา ฯทรงรับพระราชทานปริญญา และนำบัณฑิตปฏิญาณตนต่อพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ท่ามกลางความปลาบปลื้มปิติโสมนัสของพสกนิกร ชาวจุฬาฯ ชาวไทยด้วย
ทรงเป็น "สมเด็จเจ้าฟ้าฯ บัณฑิต" พระองค์แรก มื่อเสด็จ พระราชดำเนินไปทรง"ถ่ายรูป" กับองค์บัณฑิตใหม่พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าฯ พระราชินีนาถ พระราชวงศ์และพระประยูรญาติ 
เช่นเดียวกับครอบครัวของบัณฑิตอื่นๆ
 
 
โอกาสนี้ กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลังได้ผลิตเหรียญพระฉายาลักษณ์ ในฉลองพระองค์ครุยบัณฑิตเพื่อเทิดพระเกียรติในการที่ทรงเป็น "เจ้าฟ้าบัณฑิต"พระองค์แรกที่ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย ในประเทศไทย
 
 
เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีแล้ว สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดาฯ
ทรงศึกษาต่อขั้นปริญญาโทสาขาวิชาบาลี - สันสกฤต ภาควิชาโบราณคดีที่มหาวิทยาลัยศิลปากรพร้อมกัน
เป็นพระราชภาระที่หนักยิ่งเนื่องจากทรงมีพระราชกิจต้องตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในต่างจังหวัดอยู่เนื่องๆเช่นเดียวกับเมื่อครั้งที่ทรงศึกษาระดับปริญญาตรี แต่ด้วยทรง มีพระวิริยะอุตสาหะ ทรงพระปรีชาสามารถรอบรู้ในวิทยาการ
ทรงรู้จักจัดสรรเวลา และทรงวางระเบียบการศึกษาที่ดี
 
 
พระองค์ทรงสามารถศึกษารายวิชาที่กำหนดไว้ ในหลักสูตรได้ครบถ้วนภายในเวลา 2 ปี ทรงได้รับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยศิลปากร
เมื่อปี พ.ศ. 2522 และได้รับปริญญาอักษรศาสตร์มหาบัญฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2523

หลังจากนั้นได้ทรงศึกษาขั้นปริญญาดุษฎีสาขาพัฒนะศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร ทรงสำเร็จการศึกษาได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิต เมื่อปี พ.ศ. 2529  
 
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดาฯได้ทรงแบ่งเบาพระราชภารกิจ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพรมบรมราชินีนาถในทุกด้านทั้งด้านการเกษตร
การชลประทาน การบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่อาณาประชาราษฎร์ ทรงเป็นผู้แทนพระองค์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปต่างประเทศเพื่อเจริญพระราชไมตรีกับประมุขของประเทศนั้นๆ  
 
ใน พ.ศ.2518 ได้ทรงก่อตั้งมูลนิธิสายใจไทยขึ้น ตามพระราชดำริของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เพื่อช่วยเหลือทหารตำรวจ พลเมืองที่บาดเจ็บหรือพิการอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่
เพื่อประเทศชาติและทรงดำรงตำแหน่ง ประธานมูลนิธิสายใจไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ด้วยพระองค์เอง ในปี พ.ศ. 2523 ทรงมีโครงการเกษตร เพื่ออาหารกลางวันแก่นักเรียนในชนบทห่างไกล 
และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในปีเดียวกันนี้ยังได้ทรงรับพระราชภาระ เป็นองค์ประธานคณะกรรมการอำนวยการบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระบรมมหาราชวังในโอกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปีด้วยพระปรีชาสามารถพระราชจริยาวัตรและน้ำพระราชหฤทัยอันเปี่ยมด้วยพระเมตตามิสิ้นสุดนี้
 
 
ในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2520 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยศักดิ์
 
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดาฯ 
ขึ้นเป็นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา 
เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรรัฐสีมาคุณากรปิยชาติ
สยามบรมราชกุมารี 
นับเป็นศุภวาระมงคลสมัย
ที่ยังความชื่นชมยินดีมาสู่พสกนิกรชาวไทยโดยทั่วหน้ากัน
 
 
 

 ด้วยพระปรีชาสามารถ พระปัญญา และพระเมตตา ที่พระองค์ทรงกระทำมาโดยตลอด ประชาชนชาวไทยจึงมีความปิติโสมนัสเป็นที่สุดที่ได้มี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เป็น "ลูกแก้ว" เสริมพระบารมีแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถตลอดจนเป็นคู่บุญบารมีและเป็นเกียรติของประเทศชาติสืบไปชั่วกาลนาน
 
   
   

เข้าชม : 617


ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

      ขับเคลื่อนการศึกาา = ขับเคลื่อนประเทศ 9 / พ.ย. / 2565
      ครูอาชีพ 12 ภารกิจ “เร่งด่วน” ที่จะต้อง “จับต้องได้” ภายใน 6 เดือน ของเลขาธิการ กศน. (นายวรัท พฤกษาทวีกุล) “คนสำราญ งานสำเร็จ” - ค 12 / ม.ค. / 2564
      ประวัติครูกลอนสุนทรภู่ กวีเอกของโลก 22 / มิ.ย. / 2561
      ส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และร่วมถวายความอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ครูผู้สอนคนพิการ สำนักงาน กศน.จังหวัดตรัง 17 / ต.ค. / 2559
      โครงการเสริมสร้างศักยภาพครูผู้สอนคนพิการ กศน.จ.ตรัง 17 / ส.ค. / 2559


 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกันตัง  จังหวัดตรัง
ถนนตรังคภูมิ  ตำบลกันตัง  อำเภอกันตัง  จังหวัดตรัง 92110 โทรศัพท์ 075-252726 โทรสาร 075-252755

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05