[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 


บุคคลพิการซ้อน
 
            บุคคลพิการซ้อน (Mutiple Handcapped) หมาย ถึงบุคคลที่มีความบกพร่องหรือความพิการมากกว่าหนึ่งประเภท ในบุคคลเดียวกัน เช่น คนปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยินเป็นต้นหรือเด็กอาจจะมีปัญหาในด้านการเรียน รู้การควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย การได้ยิน และการมองเห็น เด็กแต่ละคนที่มีความพิการซ้อนจะมีลักษณะแตกต่างกัน และมีความต้องการที่แตกต่างกันออกไปด้วย เด็กบางคนไม่มีความพิการมากนัก เช่น เด็กที่สูญเสียทางการได้ยินระดับปานกลาง และสายตาเรือนลาง ถ้าลูกของคุณเป็นแบบนี้คุณสามารถใช้ข้อมูลที่อยู่ในเอกสารฉบับอื่นประกอบ เพื่อพัฒนาลูกของคุณในการเข้าสังคมได้เป็นอย่างดีแต่สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ บ่อยครั้งที่มีความพิการซ้อนมีปัญหาหลากหลายรูปแบบ เด็กจะมีการพัฒนาที่ช้ามากเพราะว่าเขามีปัญหาหลายเรื่อง พ่อแม่ต้องอดทนและไม่ควรคิดว่าเด็กต้องทําได้มากกว่าความสามารถของเขา แต่ควรจําไว้ว่าเด็กนั้นสามารถพัฒนาได้ ถ้าใช้เป้าหมายที่เล็กน้อยและเด็กมีความสามารถจะทําได้เด็กที่มีความบกพร องทางสติปัญญาและมีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์
สาเหตุของความพิการซ้อน
สาเหตุ ของความพิการซ้อนสาเหตุมีหลายประการ บางคนบกพร่องตั้งแต่ก่อนคลอด ระหว่างคลอดหรือหลังคลอด อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่ยังไม่ทราบสาเหตุของสภาพความพิการซ้อนที่แน่ชัด
1.ก่อนคลอดอาจจะมีความผิดปกติของโครโมโซม
2.ระหว่างคลอดอาจจะมีการขาดออกซิเจน
3.หลังคลอดได้รับอุบัติเหตุหรือได้รับสารพิษ
4.สถานะภาพทางเศรษฐกิจและสังคมเด็กที่มีความบกพรองทางรางกายหรือสุขภาพและบกพรองทางสายตา

ลักษณะเด็กพิการซ้อน

1. มี ปัญหาในการช่วยเหลือตนเองเด็กที่มีความบกพร่องในขั้นรุนแรง มักมีปัญหาในการช่วยเหลือตัวเองคือ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจําวันได้ หรือช่วยได้แต่ไม่ดี เช่น การแต่งตัว การรับประทานอาหาร การขับถ่ายอย่างถูกต้อง การควบคุมปัสสาวะการดูแลความสะอาดของร่างกาย เป็นต้น ดังนั้นในการจัดโปรแกรมการศึกษาสําหรับเด็กประเภทนี้จําเป็นต้องฝึกทักษะใน การช่วยเหลือตนเองให้แก่เด็ก

2. มี ปัญหาในการสื่อสารการสื่อสาร เป็นปัญหาที่สําคัญที่สุดประการหนึ่งของเด็กที่มีความบกพร่องขั้นรุนแรง กล่าวคือ เด็กเหล่านี้ไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ เช่นไม่สามารถบอกความต้องการของตนเองได้ ไม่เข้าใจเมื่อผู้อื่นต้องการสื่อสารด้วย บางคนไม่สามารถพูดได้ ไม่สามารถใช้ท่าทางประกอบความพยายามในการสื่อสารได้ เป็นต้น เนื่องจากข้อจํากัดเหล่านี้ทําให้การจัดการศึกษาให้กับเด็กที่มีความบกพร่อง ขั้นรุนแรงเป็นไปด้วยความลําบาก ครูต้องใช้สื่อในการสื่อสารเพิ่มมากขึ้น เช่น ใช้ภาพ สื่อสาร เป็นต้นเด็กที่มีความบกพรองทางรางกายหรือสุขภาพและบกพรองทางสติปัญญาอ่อน

ปัญหาในการเคลื่อนไหว

 ปัญหา ในการเคลื่อนไหวเด็กที่มีความบกพร่องขั้นรุนแรง บางคนไม่สามารถนั่งได้ ไม่สามารถเดิน หรือวิ่งได้ด้วยตนเอง บางคนมีปัญหาในการใช้มือ เพื่อหยิบจับสิ่งของต่างๆหากไม่ได้รับความช่วยเหลืออย่างถูกวิธีตั้งแต่อายุ ยังน้อย เด็กกลุ่มนี้อาจจะต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดชีวิต4. มี ปัญหาทางพฤติกรรมเด็กกลุ่มนี้อาจแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กปกติในวัยเดียวกัน พฤติกรรมบางอย่างที่เด็กแสดงออกเป็นพฤติกรรมที่ไร้ความหมายและพฤติกรรมที่ ซํ้าๆ ในลักษณะเดิม เช่น การโยกตัวไปมา การกางนิ้วมือ แล้วเคลื่อนที่ไปมาใกล้ๆ ใบหน้า การบิดตัวไปมา เด็กบางคนอาจมีพฤติกรรมในการกระตุ้นตนเอง เช่น กัดฟัน การลูบไล้ตามร่างกายตนเอง การสําเร็จความใคร่ด้วยตนเอง บางคนอาจมีพฤติกรรมในการทําร้ายตนเอง เช่น การโขกศีรษะตนเองการดึงผมตนเอง การชกต่อย ข่วนหรือกัดตนเอง เป็นต้น พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาตนเอง ดังนั้นในการจัดการศึกษาให้กับเด็กประเภทนี้ จึงควรมุ่งปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และสร้างพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับ เด็ก ถึงแม้อาจต้องใช้เวลาแต่เด็กสามารถเรียนรู้ได้เด็กที่มีความบกพรองทางสติ ปัญญาและออทิสติก

ปัญหาทางสังคม
ปัญหา ทางสังคมเด็กปกติทั่วไปมักชอบเล่นซุกซน และสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ แต่เด็กพิการซ้อนส่วนมากมีปัญหาในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น บางคนอาจไม่แสดงปฏิกริยาใดๆ ต่อสิ่งที่อยู่รอบตัว ไม่ยินดียินร้ายกับสิ่งแวดล้อม ไม่มีปฏิกริยาตอบสนองต่อสิ่งที่เป็นอันตราย ไม่สนใจ และไม่เอาใจใส่สิ่งใดๆ เด็กพิการซ้อนอาจเป็นเด็กที่มีความบกพร่องในขั้นรุนแรงหรือไม่ก็ได้ แล้วแต่ละบุคคล แต่เด็กที่หูหนวก และตาบอด จัดว่าเป็นเด็กที่มีความบกพร่องในขั้นรุนแรงเด็กที่มีความบกพรองทางร่างกาย หรือสุขภาพและบกพรองทางสติปัญญา

การดูแลและการฟื้นฟูการช่วยเหลือตนเอง

การ ดูแลและการฟื้นฟูการช่วยเหลือตนเอง มุ่งเน้นการช่วยตัวเองในชีวิตประจําวัน เช่นการแต่งตัว การรับประทานอาหาร การควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ และอุจจาระการอาบนํ้าเป็นต้นการสื่อสาร เป็นการฝึกทักษะในการสื่อสารกับผู้อื่น เช่น การทักทาย การบอกความต้องการของตนเอง การรับรู้ความต้องการของผู้อื่น ตลอดจนการสื่อสารโดยใช้ภาษาหรือท่าทางเป็นสื่อกลางในการสื่อสารอีกการ เคลื่อนไหว ทักษะในการเคลื่อนไหวที่จําเป็นสําหรับเด็กที่มีความบกพร่องขั้นรุนแรง ควรมุ่งเน้นทั้งการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็กซึ่งจะช่วยให้ เด็กมีทักษะในการประกอบกิจวัตรประจําวันได้เร็วขึ้นการปรับพฤติกรรม เนื่องจากเด็กที่มีความบกพร่องขั้นรุนแรงแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม หลายอย่าง ดังนั้นการจัดการศึกษาจึงควรมุ่งขจัดหรือบรรเทาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และสร้างหรือส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์พัฒนาการทางสังคม เช่นการเล่น การบอกข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ทักษะในห้องเรียนเด็กที่มีความบกพรองทางสติปัญญาและบกพรองทางการได้ยิน

การช่วยเหลือระยะเริ่มแรก

1. ช่วยถ่ายทอดการเรียนรู้ จากโรงเรียนไปยังบ้านและจากบ้านไปยังโรงเรียน

2. ผู้ปกครองและครูจําเป็นต้องมีความหวังอย่างเดียวกันเกี่ยวกับเด็กไม่เช่นนั้นแล้วเด็กจะรู้สึกสับสน

3. เด็กพิการสามารถเรียนรู้ทักษะเฉพาะได้เร็วขึ้นได้เกือบสองเท่า หากผู้ปกครองร่วมมือกันในการสอน

4. นําทักษะและความรู้ต่างๆ จากโรงเรียนไปใช้ที่บ้านได้

5. ช่วยลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่าง ๆ ที่ขัดขวางการเรียนของเด็ก

6. ผู้ปกครองเด็กพิการซ้อนจําเป็นต้องเน้นทักษะในการสอนเลี้ยงดูมากกว่าผู้ปกครองเด็กทั่วไป

7. ผู้ปกครองมีส่วนช่วยในการกระตุ้นเด็กได้ดีที่สุด

8. ให้แรงเสริมในระหว่างที่เด็กกําลังอยู่ในระหว่างการเรียนรู้

9. ช่วยส่งเสริมพฤติกรรมที่ดี และที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น

10. ช่วยปรับพฤติกรรมที่ไม่ดีของเด็กให้มีพฤติกรรมที่ดีขึ้น

11. ผู้ปกครองและครู ควรมีการวางแผนการแก้ไขและการฝึกทักษะร่วมกัน

12. ปรึกษา หารือร่วมกันระหว่างครูและผู้ปกครอง แล้วหาทางแก้ไขร่วมเช่น กําหนดกิจกรรมที่เหมาะสมกับช่วยเด็กพิการซ้อนเด็กที่มีความบกพรองทางรางกาย หรือสุขภาพและบกพรองทางการได้ยิน

การให้ความช่วยเหลือในบุคคลพิการซ้อน

 การให้ความช่วยเหลือในบุคคลพิการซ้อน จะต้องคํานึงถึงระดับความบกพร่อง ความสามารถ และศักยภาพของแต่ละบุคคล ซึ่งมีความแตกต่างกัน และจะต้องมีการประสานส่งต่อช่วยเหลือกับนักวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสภาพความบกพร่องของแต่ละบุคคล การช่วยเหลือแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่

1.การพัฒนาและฟื้นฟสมรรถภาพความพิการู

1.1 การ ฟื้นฟูสมรรถภาพความพิการ การฟื้นฟูสมรรถภาพความพิการด้านต่างๆจะต้องจัดให้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม อาทิ การกายภาพบําบัด เช่น การฝึกยืน ฝึกเดิน ฝึกการเคลื่อนไหวและการใช้อุปกรณ์ เป็นต้น การฝึกกิจกรรมบําบัดได้แก่ การฝึกกิจวัตรประจําวัน ฝึกการใช้มือหรืออวัยวะส่วนที่เหลือให้เต็มตามศักยภาพแต่ละบุคคล ฝึกการพูด ฝึกการสื่อสาร การปรับพฤติกรรมเพื่อให้เรียนรู้ได้การฝึกเข้าสังคม เพื่อให้ปรับตัวและอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข และใกล้เคียงกับคนทั่วไป
1.2 การ จัดสภาพแวดล้อมและสิ่งอํานวยความสะดวก ต้องจัดให้เหมาะสมกับความต้องการจําเป็นของแต่ละบุคคล เช่น ห้องนํ้า ประตูพื้น ราวจับบันได ทางลาด และถนนต่อเชื่อมอาคารต่างๆ เป็นต้นเด็กที่มีความบกพรองทางสติปัญญาและบกพรองทางการได้ยิน

2.แนวทางการจัดการเรียนการศึกษาสําหรับเด็กพิการซ้อนได้แก่

(1) การ จัดการศึกษาแบบเรียนร่วม คือการจัดการเรียนการสอนให้บุคคลพิการซ้อนเรียนร่วมกับบุคคลทั่วไป ในระบบโรงเรียนตามศักยภาพและความต้องการของแต่ละบุคคล
(2) การ จัดการศึกษาแบบการศึกษาในโรงเรียนพิเศษ คือ การจัดการเรียนการสอนให้บุคคลพิการซ้อนที่ไม่สามารถไปเรียนร่วม ได้เรียนในโรงเรียนเฉพาะประเภทความพิการ
(3) การ จัดการศึกษาแบบการศึกษานอกระบบ คือการจัดการเรียนการสอนให้กับบุคคลพิการซ้อนที่ไม่สามารถเรียนในระบบ โรงเรียน หรือโรงเรียนพิเศษ ได้แก่ บุคคลพิการซ้อนที่อยู่ตามบ้าน โรงพยาบาล ศูนย์การเรียนทั้งรัฐและเอกชน
(4) การ จัดการศึกษาตามอัธยาศัย คือ การจัดการเรียนการสอนให้กับบุคคลพิการซ้อน ที่ผู้ปกครองต้องการจัดการศึกษาให้ด้วยตนเองเด็กที่มีความบกพรองทางสติปัญญา และความบกพรองทางรางกายหรือสุขภาพ

สิทธิของคนพิการสิทธิมนุษยชนในการเป็นพลเมือง ประกอบด้วย

1. สิทธิเพื่อความเท่าเทียม ( กับคนทั่วไป ) ได้แก่

1.1 สิทธิเพื่อการดํารงชีวิต ในด้านต่างๆ เช่น
1. ปัจจัย 4 คือ อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่ และยา
2. การปฏิบัติกิจวัตรประจําวันรวมทั้งการมีคนช่วยเหลือเฉพาะบุคคล
3. เศรษฐกิจ เช่น นโยบายประกันรายได้ ประกันสังคม ประกันอุบัติเหตุ
 4. สังคม โดยเป็นสมาชิกครอบครัวและสังคมมีเกียรติภูมิ/ศักดิศรี ได้ร่วมกิจกรรมและแสดง ความคิดเห็น
5. ศาสนา เช่น การเลือกนับถือศาสนา และการบวช
6. วัฒนธรรม เช่น การใช้ภาษามือ อักษรเบรลล์
7. การดํารงพันธ์ เช่น การแต่งงาน มีลูก

1.2 สิทธิด้านบริการสุขภาพ ได้แก่
1. รักษาพยาบาล ทั้งสิทธิการเลือกการรักษา และการปฏิเสธการรักษา
2. บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม
3. ฟื้นฟูสมรรถภาพ
4. เครื่องช่วยความพิการ
5. กายอุปกรณ์
6. นันทนาการ
7. กีฬา
8. บริการสนับสนุนเด็กที่มีความบกพรองทางสติปัญญาและบกพร่องทางได้ยิน
9. สร้างเสริมสุขภาพ
10. แนะแนวสุขภาพจิต
11. ป้องกันความพิการ เป็นต้น

1.3 สิทธิด้านการศึกษา ได้แก่
1. การเข้าศึกษา
2. สิ่งอํานวยความสะดวก
3. สื่อ
4. บริการต่างๆ
5. ความช่วยเหลือเด็กที่มีความบกพรองทางสติปัญญาและบกพรองทางสายตา
6. มาตรฐานปกติ
7. การปรับหลักสูตร
8. ครูพิเศษ
1.4 สิทธิด้านการประกอบอาชีพ ได้แก่
1. การฝึกงาน
2. การจ้างงาน
3. สิ่งอํานวยความสะดวก
4. ค่าจ้างที่เท่าเทียม
5. การรับราชการ
6. การเคลื่อนไหว/เดินทาง
7. สารสนเทศ
8. สื่อสารเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาและบกพร่องทางรางกายหรือสุขภาพ
1.5. สิทธิในการรวมกลุ่ม ได้แก่
1. การตั้งองค์กรช่วยเหลือตนเอง
2. การแสดงความเห็นของกลุ่ม
3. การสนับสนุนจากรัฐบาล
4. การสนับสนุนจากผู้มีส่วนได้เสีย
1.6 สิทธิทางการเมือง ได้แก่
1. เลือกตั้ง
2. สิ่งอํานวยความสะดวก
3. ลงคะแนนลับ
4. สมัครรับเลือกตั้ง
5. ร่วมพรรคการเมือง
6. แสดงความคิดเห็น
7. มีส่วนร่วมออกกฎหมายการฝึกประสาทสัมผัส
8. ร่วมกําหนดนโยบายและแผน
1.7 สิทธิในการเข้าถึง หรือใช้บริการที่เป็นสากล และทุกคนใช้ร่วมกันได้ ได้แก่
1. สภาพแวดล้อม
2. อาคาร
3. บริการขนส่งสาธารณะที่มีความปลอดภัยและส่งเสริมการเป็นอิสระ
4. การเคลื่อนไหว/เดินทางเด็กที่มีความบกพรองทางสติปัญญาและบกพรองทางการได้ยิน
13. สิทธิในการใช้เทคโนโลยี ได้แก่
1. สารสนเทศ
2. การสื่อสาร โดยเฉพาะการใช้ ภาษามือ อักษรเบรลล์ กายอุปกรณ์ เป็นต้น
2. สิทธิในการได้รับบริการตามความต้องการจําเป็นพิเศษอันเนื่องมาจากความพิการ
3. สิทธิทางกฎหมาย ได้แก่
1. เป็นบุคคลตามกฎหมาย โดยมีการแจ้งเกิด ตั้งชื่อ และทําบัตรประชาชน
2. ทํานิติกรรม
3. การคุ้มครองทางคดีอาญา
4. เสรีภาพพื้นฐาน ได้แก่
1. เลือกที่อยู่ได้
2. ดํารงชีวิตอิสระ
3. ตัดสินใจด้วยตนเองเด็กที่มีความบกพรองทางสติปัญญาและบกพร่อง รางกายหรือสุขภาพ

วิธีปรับสภาพแวดล้อมสำหรับบุคคลพิการซ้อน

                ใช้วิธีปรับสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นซึ่งเกิดจากความ พิการแต่ละประเภทที่มีซ้อนกันอยู่ของคนพิการแต่ละคน


        credit:>>>>  http://wwwsukmak.blogspot.com/2011/01/blog-post.html




เข้าชม : 18897
 
 

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองตรัง
ถนนพัทลุง ตำบลทับเที่ยง  อำเภอเมือง  จังหวัดตรัง 92000 
โทรศัพท์ 075-216886 โทรสาร 075-216886    
   
E-mail : wannisa_happy@hotmail.com

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05