บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น หมายถึง บุคคลที่ไม่สามารถมองเห็นหรือมีการมองเห็นเลือนรางของสายตาทั้ง 2 ข้าง
คนตาบอด หมายถึง คนที่สูญเสียการเห็นมากจนต้องสอนให้อ่านอักษรเบรลล์หรือใช้วิธีการฟังเทปหรือแผ่นเสียง หากตรวจวัดความชัดของสายตาข้างดีเมื่อ แก้ไขแล้วอยู่ในระดับ 6 ส่วน 60 หรือ 20 ส่วน 200 (20/200) ลงมาจนถึงบอดสนิท (หมายถึง คนตาบอดสามารถมองเห็นวัตถุได้ในระยะห่างน้อยกว่า 6 เมตร หรือ 20 ฟุต ในขณะที่คนปกติสามารถมองเห็นวัตถุเดียวกันได้ในระยะ 60 เมตร หรือ 200 ฟุต ) หรือมีลานสายตาแคบกว่า 20 องศา (หมายถึง สามารถมองเห็นได้กว้างน้อยกว่า 20 องศา)
คนเห็นเลือนราง หมายถึง คนที่สูญเสียการเห็น แต่ยังสามารถอ่านอักษร ตัวพิมพ์ที่ขยายใหญ่ได้ หรือต้องใช้แว่นขยายอ่าน หากตรวจวัดความชัดของสายตาข้างดีเมื่อแก้ไขแล้วอยู่ในระดับระหว่าง 6 ส่วน 18 (6/18) หรือ 20 ส่วน 70 (20/70) ถึง 6 ส่วน 60 (6/60) หรือ 20 ส่วน 200 (20/200) หรือมีลานสายตาแคบกว่า 30 องศา
สาเหตุ
- การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
- การได้รับอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนต่อดวงตาโดยตรง หรือประสาทในการมองเห็น อาทิเช่น
- สิ่งแปลกปลอมพวกสารเคมี หรือสารโลหะละลายที่ร้อนเข้าตา
- กรด - ด่างเข้าตา จะทำอันตรายอย่างมากต่อลูกตา และตามักจะบอดจากการอักเสบ หรือเยื่อตาเป็นแผล
- อุบัติเหตุอื่นๆ เช่นรถชนกัน อาจทำให้ของมีคมบาดเข้าตา ทำให้ขอบตา เยื่อบุตา ตาดำ หรือตาขาว ฉีกขาด ลูกตาแตก เป็นต้น
- แสงจากการหลอมแก้วเข้าตา ทำให้เลนส์ตาเสื่อมและกลายเป็นต้อกระจก
- การมีโรคตาบางชนิด ได้แก่
- ริดสีดวงตา เกิดจากจากติดต่อกันโดยใช้เครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้าร่วมกัน มีอาการตาแดง เคืองตา น้ำตามาก รู้สึกคล้ายมีเม็ดทรายอยู่ในตา สามารถรักษาได้โดยการหยอดยากินยา ถ้าปล่อยไว้ไม่รักษาแต่เนิ่นๆ อาจทำให้ตาบอดได้
- ต้อหิน เกิดจากทางระบายน้ำในลูกตาอุดตันทำให้เกิดความดันในลูกตาสูง ทำลายจอตาและ เส้นประสาท จะมีอาการปวดตา ตาค่อยๆ มัวลงทุกที ตาแดงอยู่เสมอ เคืองตามาก เมื่อหลับตาแล้วเอานิ้วกดที่ลูกตาจะแข็งกว่าปกติ ไม่สามารถรักษาได้โดยการกินยา หรือหยดยา ถ้าเป็นมากต้องใช้วิธีผ่าตัด
- โรคขาดสารอาหาร (วิตามิน) เกิดจากการขาดสารอาหารที่มีวิตามินเอ เช่น มะละกอสุก ฟักทอง มะเขือเทศสุก เนื้อสัตว์ตับ เป็นต้น มีอาการคือ แพ้แสง ระคายเคืองตา เห็นไม่ชัดในที่มืดหรือสลัว ตาดำขุ่น ฝ้าไม่มันใส ต้องรีบพบแพทย์เพื่อรักษา มิฉะนั้นจะทำให้ตาบอดได้
- โรคหนองในเข้าตา เกิดจากการติดเชื้อหนองในจากช่องคลอดมารดาของเด็กขณะคลอดหรือ ใช้ผ้าเช็ดตัวผ้าขาวม้าของบิดาที่เป็นหนองในเช็ดหน้าเด็กมีอาการคือตาบวมแดงลืมตาไม่ขึ้นมีหนอง ไหลจากตาต้องรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยด่วนถ้าช้าไปอาจตาบวมได้
การป้องกัน
- ระวังอุบัติเหตุหรืออันตรายที่จะมีผลกระทบกระเทือนดวงตา และประสาทตา
- ระวังรักษาและถนอมดวงตา เช่น ใช้สายตาในที่มีแสงสว่างพอเหมาะ
- ระวังการเกิดโรคที่มีผลต่อดวงตา เช่น ต้อตาอักเสบ ซิฟิลิส
- รับประทานอาหารที่มีสารอาหารบำรุงสายตา (วิตามินเอ) ให้พอเพียงแก่ความต้อง การของร่างกายทั้งปริมาณและคุณภาพ
- มีอาการผิดปกติทางตา ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาแต่เนิ่นๆ
- ควรให้แพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตรวจตาอย่างน้อยปีละครั้ง
เทคนิคการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
-
ควรบอกเด็กก่อนว่าเป็นใครและถามเด็กว่าต้องการความช่วยเหลือหรือไม่ จะให้ครูช่วยเหลืออะไรได้บ้างอย่าพยามช่วยเด็กโดยที่เด็กไม่ต้องการความช่วยเหลือ
-
หากเด็กทั่วไปต้องการจะช่วยเหลือเด็ก ต้องให้คำแนะนำและบอกวิธีช่วยเหลือที่ถูกต้อง
-
ครูควรบอกเด็กให้ทราบเกี่ยวกับสภาพและการจัดห้องเรียนว่าสิ่งใดอยู่ที่ไหนบ้าง
-
เมื่อครูออกจากห้องต้องบอกเด็กด้วยทุกครั้ง
-
กรณีที่เป็นเด็กสายตาเลือนราง เอกสารการสอนที่แจกให้เด็ก ควรพิมพ์ให้เรียบร้อย ไม่ควรพิมพ์ด้วยตัวอักษรที่มีขนาดเล็กเกินไป ไม่ควรเขียนด้วยลายมือและควรพิมพ์เอกสารหน้าเดียว
-
ก่อนเขียนกระดาน ควรลบกระดานให้สะอาดและในการเขียนกระดานดำหรือกระดานขาว(white board)ควรใช้สีที่ตัดกับผิวพื้น
-
พยายามขจัดเสียงรบกวนที่เด็กกำลังเรียน
-
จัดให้เด็กที่สายตาเลือนราง ได้นั่งในที่ที่ไม่มีแสงสะท้อนรบกวนสายตาที่ยังมีการมองเห็นเหลืออยู่
-
จัดให้มีบริการอ่านหนังสือให้เด็กฟังและบันทึกเนื้อหาวิชาเรียนในเทปแล้วเปิดให้เด็กฟัง
-
จัดให้เด็กได้ร่วมกิจกรรมทุกอย่างที่ปลอดภัยแก่เด็กและจัดอุปกรณ์ที่จำเป็น
|