ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ
โดย ดร. จรวยพร ธรณินทร์ กรรมการ และเลขานุการคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษาเพื่อคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความสามารถพิเศษ
จากผลงานวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
ใน ปี 2541 ได้สรุปงานที่เกี่ยวกับการศึกษาเพื่อคนพิการไว้ดังนี้
1. นโยบายที่เสนอแนะในแผนการปฏิบัติงานของหน่วยงานรับผิดชอบ
1.1 ด้านบริการการศึกษา - ให้ผู้พิการได้เรียนก่อนประถม มัธยมปลาย วิชาชีพในหลักสูตรและมัธยมปลายสายสามัญ
1.2 ด้านการจัดการศึกษา - ขยายบริการทั้งในระบบ นอกระบบ โดยเน้นการเรียนร่วม จัดให้สอดคล้องกับประเภท และระดับความบกพร่อง
1.3 ด้านการรับนักเรียน - ให้ปรับกฎระเบียบเอื้อต่อการรับคนพิการทุกคน รับแต่แรกเกิดหรือ แรกพบ จัดทำทะเบียนรับรองความพิการที่ต้องได้รับการช่วยเหลือตามกฎกระทรวงว่าด้วยสื่อ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการศึกษาของคนพิการ
1.4 ด้านหลักสูตร - พัฒนาให้สอดคล้องกับประเภท และระดับผู้มีความบกพร่อง
1.5 ด้านการบริหาร - ให้มีหน่วยงานระดับจังหวัดดูแลประสานการจัดในจังหวัด ให้ ระดมสถานศึกษา สถานพยาบาลมาร่วมกัน ต้องสำรวจจำนวน และประชาสัมพันธ์ให้พ่อแม่เข้าใจถึงการบริการ
1.6 ด้านทรัพยากร - ให้การสนับสนุนทรัพยากร วิชาการ และดึงภาคเอกชนเข้ามาร่วม
1.7 ด้านบุคลากร ให้สถาบันอุดมศึกษาผลิตให้พอ มีคุณภาพ และพัฒนาครูประจำการโดยเน้นเทคนิคการสอน
2. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคนพิการรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน - มาตรา 55 บุคคลซึ่งพิการ หรือ ทุพลภาพมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นอันเป็นสาธารณะและความช่วย เหลืออื่นจากรัฐ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ ได้แก่
2.1 .พรบ.ประถม 2523 กำหนดการศึกษาภาคบังคับที่ยกเว้นคนพิการไม่ต้องเรียนจะ ต้องปรับให้สอดคล้อง พรบ. การศึกษา 2542
2.2 .พรบ. ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ 2534 มีการจดทะเบียนและได้รับการส่งเสริม พัฒนาและฟื้นฟู ปี 41 มีจำนวนผู้พิการจดทะเบียน 154,589 คน
2.3 .พรบ.การศึกษา 2542
นำเสนอโดย นางสาวพัชรี เส็นบัตร ครูการศึกษาพิเศษ จังหวัดพัทลุง
3. สภาพการจัดการศึกษาเพื่อผู้พิการ
3.1 ประเภทความพิการ จากการสำรวจในปี 2539 จำนวนคนพิการที่พบมากตาม ลำดับประเภทความพิการ
ลำดับที่ 1 พิการทางร่างกาย 45.2 %
ลำดับที่ 2 พิการทางสมองและปัญญา 22.5 %
ลำดับที่ 3 พิการทางการได้ยิน 21.7 %
ลำดับที่ 4 พิการทางการมองเห็น 11.6 %
ลำดับที่ 5 บกพร่องทางจิต 6.1 %
3.2 ประเภทความบกพร่องที่ได้รับบริการการศึกษามากที่สุด
3.2.1 ทางสมองและสติปัญญา 3,484 คน คิดเป็น 44.0 %
3.2.2 ทางการได้ยิน 5,333 คน คิดเป็น 17.4 %
3.2.3 บกพร่องทางการเห็น 2,401 คน คิดเป็น 7.8 %
3.2.4 บกพร่องทางกาย 2,285 คน คิดเป็น 7.5 %
3.2.5 จำแนกไม่ได้หรือพิการซ้ำซ้อน 7,122 คน คิดเป็น 23.3 %
3.3 หน่วยงานที่จัดบริการ ปี 40 จำนวน 28,335 คน
ลำดับ 1 สปช. จัดได้ 13,383 คน คิดเป็น 43.7 %
บกพร่องทางการเห็น 46.6 %
สมองและปัญญา 70.3 % ร่างกาย 63.5 %
ลำดับ 2 กรมสามัญ จัดได้ 8,129 คน คิดเป็น 26.2 %
ผู้บกพร่องการได้ยิน 77.5 %
ลำดับ 3 กศน. จัดได้ 6,823 คน คิดเป็น 22.3 %
3.4 ปริมาณและประเภทของสถานศึกษา ( ข้อมูลปี 40 )
ในระบบ
ลำดับ 1 นักเรียนพิการส่วนใหญ่ 13,750 คน คิดเป็น 44.9 %
เรียนในโรงเรียนปกติแบบเรียนร่วมจำนวน 2,247 แห่ง
เป็นของ สปช. 2224 แห่ง จำนวน 9,597 คน
ลำดับ 2 เรียนในโรงเรียนพิการเฉพาะทาง ของกรมสามัญ 46 แห่ง
รวมศูนย์การศึกษา สช. 61 แห่ง กรมประชาสงเคราะห์ 5 แห่ง
ลำดับ 3 เรียนในโรงพยาบาล 11 แห่ง จำนวน 455 คน
นอกระบบ กศน. จัดโดยมีแนวโน้มการขยายตัวในเชิงปริมาณ รับได้มากขึ้น
3.5 การบริหารและการจัดการ
หลายหน่วยงานจัด มีสภาพเป็นนิติบุคคล ไม่ค่อยประสานกัน
ความพร้อมของหน่วยงาน กฎระเบียบ คือตัววัดประสิทธิภาพ
3.6 หลักสูตร
3.6.1 หลักสูตรสายสามัญ
1) หลักสูตรสายสามัญที่จัดในโรงเรียนปกติประถมมัธยมต้น มัธยมปลาย
2) หลักสูตร กศน. สายสามัญ 3 ระดับ ประถม มัธยมต้น มัธยมปลาย โดยกำหนดวิชาเลือกที่สร้างความพร้อมเช่น ทักษะการใช้ภาษามือ การอ่านริมฝีปาก ( สำหรับบกพร่องทางการได้ยิน ) ทักษะการอ่านเขียนอักษรเบรลล์ ทักษะการเดินทาง ( บกพร่องทางการเห็น ) บางสถานศึกษามีฟื้นฟูสมรรถภาพ ฝึกอาชีพด้วย
หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จพื้นฐาน
หลักสูตร กศน. สายอาชีพระยะสั้น
การจัดการศึกษาให้กับกลุ่มสนใจ
3.7 การรับผู้พิการเข้าเรียน กรมสามัญ มีระเบียบการรับหลายขั้นตอน แต่ละปีกรม ทำประกาศส่งไปให้สามัญ ศึกษาจังหวัด โรงเรียนการศึกษาพิเศษ เพื่อประกาศ จำนวนโรงเรียน จำนวนนักเรียน ให้ไปสมัครกับ ศศจ.
3.8 ด้านบุคลากร โรงเรียนของรัฐ ครู 1 : นร. 11 คน รร.เอกชน ครู 1 : นร. 5 คน
สัดส่วนที่กำหนดไว้กับสำนักงบประมาณ กค. คือ 1:8 ปัญหาขณะนี้ฝึกครูมีวุฒิการ ศึกษาพิเศษโดยตรงน้อย ต้องเร่งฝึกอบรม
4. การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชนและสมาคมคนพิการ
4.1 ผู้ปกครองและชุมชนมีบทบาทน้อย
4.2 องค์กรเอกชน มูลนิธิ รวมตัวเคลื่อนไหวได้มาก
5. ค่าใช้จ่ายการศึกษาเพื่อคนพิการ
ปี 38 สำนักงบรายงาน ค่าใช้จ่ายต่อหัว เฉพาะงบดำเนินการของนักเรียนในโรงเรียน เฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม จัดโดย กองการศึกษาเพื่อคนพิการ ตา 21,086 บาท/ปี พบว่า ค่าใช้จ่ายจริงสูงกว่าที่คำนวณ – ควรเป็น 24,405 บาท/ปี ในส่วนโรงเรียนเอกชน ปี 40 ค่าใช้ จ่ายอุดหนุน ระดับอนุบาล ประถม 7,780 บาท มัธยมต้น 8,400 บาท มัธยมปลาย 9,030 บาท ซึ่งต่ำกว่าโรงเรียนส่งมา ต้องมีการปรับปรุงการจัดสรรใหม่
6. ข้อเสนอแนะ
6.1 จัดให้มีนโยบายพิเศษเฉพาะในการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ
6.2 ปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบที่เอื้อต่อการศึกษาเพื่อคนพิการ
6.3 มีหน่วยงานกลางระดับชาติ จังหวัด อำเภอ ในการประสานกำหนดนโยบายวางแผน
6.4 สถานศึกษา ต้องรายงานความก้าวหน้าของผู้เรียน ให้ผู้ปกครองทราบเป็นระยะ
6.5 ให้จัดระบบเทียบโอนเพื่อข้ามสถานศึกษา ระหว่างระดับ
6.6 ให้ท้องถิ่นชุมชน ผู้ปกครอง เข้ามาร่วนสนับสนุนมากขึ้น
6.7 การจัดหลักสูตรให้ใช้หลักสูตรคนปกติเท่าที่จะเป็นได้ สอดแทรกการฝึกวิชาชีพ
6.8 กระจายอำนาจให้สถานศึกษา มีความคล่องตัวในการบริหารงบประมาณ
6.9 ให้มีครูช่วยสอน มีห้องวิชาการที่มีอุปกรณ์พิเศษ
6.10 พัฒนาครูที่สอนการศึกษาพิเศษ โดยเฉพาะผู้ไม่มีวุฒิ
6.11 ให้สถาบันผลิตครูจัดวิชาการศึกษาพิเศษที่นักศึกษาครูทุกคนต้องเรียนเพิ่มการวิจัย Teaching Research
6.12 ประสานความร่วมมือ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเข้ามาช่วยการบำบัด การสงเคราะห์ หาอุปกรณ์แขนขาเทียม ฝึกอาชีพ แก่เด็กยากจน
6.13 สร้างระบบฐานข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
6.14 สร้างมาตรการจูงใจให้สถานประกอบการรับผู้พิการเข้าทำงาน
………………………………………………………..
เข้าชม : 183
|