1. พิการ หมายถึง คนที่มีความผิดปกติหรือบกพร่องทางร่างกาย ทางสติปัญญา หรือทางจิตใจ
ตามสภาพที่เห็น ซึ่งอาจจะมีหนังสือรับรองจากแพทย์หรือไม่ก็ตาม โดยแบ่งลักษณะความพิการเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้
1.1 ทางการได้ยินหรือสื่อสาร หมายถึง ผู้ที่มีความผิดปกติหรือความบกพร่องในการเข้าใจ หรือการใช้ภาษาพูด จนไม่สามารถสื่อความหมายกับคนอื่นได้ เช่น หูตึง หูหนวก เป็นใบ้
1.2 ทางการมองเห็น หมายถึง ผู้ที่ตาบอดข้างเดียวหรือสองข้าง
1.3 ทางกายหรือการเคลื่อนไหว หมายถึง ผู้ที่มีความผิดปกติหรือความบกพร่องของร่างกายที่เห็นได้ชัดเจน และไม่สามารถประกอบกิจวัตรหลักในชีวิตประจำวันได้ หรือผู้ที่สูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวมือ แขน ขา หรือลำตัว อันเนื่องมาจากแขนหรือขาขาด อัมพาตหรืออ่อนแรง โรคข้อหรืออาการปวดเรื้อรัง รวมทั้งโรคเรื้อรังของระบบการทำงานของร่างกายอื่นๆ ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวัน หรือดำรงชีวิตในสังคมเยี่ยงคนปกติได้
1.4 ทางจิตใจหรือพฤติกรรม หมายถึง ผู้ที่มีความผิดปกติหรือบกพร่องทางจิตใจหรือสมองในส่วนของการเรียนรู้ อารมณ์ ความคิด จนไม่สามารถควบคุมความประพฤติที่จำเป็นในการดูแลตนเอง หรืออยู่ร่วมกับผู้อื่น เช่น วิกลจริต
1.5 ทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้ หมายถึง ผู้ที่มีความผิดปกติหรือความบกพร่องทางสติปัญญา หรือสมองจนไม่สามารถเรียนรู้ด้วยวิธีการศึกษาปกติได้ เช่น ปัญญาอ่อน
1.6 พิการซ้ำซ้อน หมายถึง ผู้ที่มีความผิดปกติหรือบกพร่องมากกว่า 1 ประเภท
2. ป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย หมายถึง การป่วยทุกชนิดตั้งแต่ป่วยเล็กน้อย จนกระทั่งถึงป่วยหนัก รวมถึงการที่รู้สึกตัวว่าไม่สบายด้วย
3. ซื้อยากินเอง หมายถึง การซื้อหรือหายาแผนปัจจุบันมาเพื่อบำบัดรักษาด้วยตนเอง การซื้อยากินเอง หมายรวมถึง การซื้อยาจากร้านขายยา ซึ่งในร้านอาจมีเภสัชกรแนะนำหรือไม่ก็ตาม การซื้อยาเก็บไว้ใช้เมื่อเจ็บป่วย การที่ผู้ปกครองซื้อยามารักษาเด็ก การซื้อยาโดยเคยรู้ชื่อยาจากแพทย์ เป็นต้น
4. สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล หมายถึง สวัสดิการที่ได้รับเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย ได้แก่ ค่ายา ค่าห้องพักในสถานพยาบาล รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องใช้ วัสดุที่ใช้ทำหน้าที่แทนหรือช่วยอวัยวะที่ประสบอันตราย ซึ่งรัฐบาลหรือเอกชนเป็นผู้ให้ เช่น สวัสดิการข้าราชการหรือข้าราชการบำนาญ สวัสดิการพนักงานรัฐวิสาหกิจ ประกันสังคม สวัสดิการจัดโดยนายจ้าง รวมทั้งกองทุนเงินทดแทน
บัตรสงเคราะห์ต่างๆ (บัตรผู้มีรายได้น้อย บัตรผู้สูงอายุ ทหารผ่านศึก เป็นต้น) บัตรสุขภาพ ประกันสุขภาพกับบริษัทประกัน และอื่นๆ
5. อาชีพ หมายถึง ประเภทหรือชนิดของงานที่บุคคลนั้นทำอยู่ในรอบปีที่แล้ว (ระหว่าง 1 พฤษภาคม 2538 ถึง 30 เมษายน 2539) เช่น ทำนา นักบัญชี ครู เป็นต้น บุคคลส่วนมากมีอาชีพเดียว สำหรับบุคคลที่ในรอบปีที่แล้วมีอาชีพมากกว่า 1 ชนิด ให้นับอาชีพที่ใช้เวลาทำงานมากกว่าถ้าใช้เวลาทำงานแต่ละอาชีพเท่ากัน ให้นับอาชีพที่มีรายได้มากกว่า ถ้าเวลาทำงานและรายได้ที่ได้รับจากแต่ละอาชีพเท่ากัน ให้เลือกเอาอาชีพใดอาชีพหนึ่ง
6. สถานภาพการทำงาน แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ นายจ้าง ผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัวผู้ช่วยธุรกิจในครัวเรือนโดยไม่ได้รับค่าจ้าง ลูกจ้างเอกชน และลูกจ้างรัฐบาล/รัฐวิสาหกิจ
เข้าชม : 253
|