[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 

  

ข่าวประชาสัมพันธ์
กศน.กรุงเทพมหานคร

พฤหัสบดี ที่ 24 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2553


แนวทางปฏิบัติทางทันตกรรมในผู้พิการทางสติปัญญา
(Clinical practice guidelines for the mental handicaps)
ผู้พิการทางสติปัญญาหมายถึง คนที่มีความผิดปกติหรือมีความบกพร่องทางสติปัญญา หรือสมอง
จนไม่สามารถเรียนรู้ด้วยวิธีการศึกษาตามปกติได้ ซึ่งได้แก่ กลุ่มผู้ป่วย ปัญญาอ่อน ดาวน์ซินโดรม และผู้
พิการทางสติปัญญาที่มีความพิการทางกายร่วมด้วย ได้แก่ ผู้ป่วยพิการทางสมอง (Celebral palsy) และ
Rett syndrome เป็นต้น
ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพช่องปากของผู้พิการทางสติปัญญาเหล่านี้ได้แก่ ระบบกล้ามเนื้อผิดปกติ
(Motor dysfunction) ภาวะปัญญาอ่อน การใช้ยาเป็นประจำ เช่น phenytoin (dilantin) ยารักษาโรคจิตที่มี
ผลทำให้น้ำลายไหลน้อยลง การขย้อนอาหาร ความผิดปกติทางพันธุกรรม การที่ได้รับการเลี้ยงดูอยู่ใน
สถานเลี้ยงดูนานๆ และภาวะที่ต้องพึ่งพาคนดูแล ทำให้ผู้พิการทางสติปัญญามีโอกาสเสี่ยงต่อโรคในช่อง
ปากเพิ่มขึ้นมากกว่าคนปกติหลายเท่าตัว
การให้บริการทันตกรรมในผู้พิการทางสติปัญญา
เพื่อให้ผู้พิการทางสติปํญญาได้รับการรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพ และส่งเสริมป้องกันทางทันตสุขภาพ
ที่เหมาะสม การให้บริการทันตกรรมแก่ผู้พิการทางสติปํญญา มีแนวคิดและระบบบริการดังนี้ คือ
1. การดูแลโดยทันตแพทย์ (Professional care) ได้แก่
1.1 การให้บริการตรวจ และ วินิจฉัย
1.2 การให้บริการฉุกเฉิน
1.3 การให้บริการทันตกรรมป้องกัน
1.4 การให้บริการทันตกรรมบำบัด
1.5 การให้บริการทันตกรรมฟื้นฟู
1.6 การให้บริการคงสภาพทันตสุขภาพ
2. การดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง (Individual oral self care) ได้แก่
2.1 การสอนและแนะนำผู้ป่วยทำความสะอาดและดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง
2.2 การสอนญาติ และผู้ดูแลผู้ป่วย กรณีผู้ป่วยไม่สามารถแปรงฟันได้ด้วยตนเอง
บทบาทของทีมทันตกรรม
การจัดการทางทันตกรรมที่ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วยการปฏิบัติต่อผู้ป่วยด้วยความอบอุ่นมี
ความเห็นอกเห็นใจ การสื่อสารติดต่อกับผู้ป่วยต้องทำตามระดับความเข้าใจของผู้ป่วย ไม่มากหรือน้อย
เกินไปกว่าความสามารถทางสติปัญญาของผู้ป่วย ในผู้พิการทางสติปัญญาถึงแม้มีอายุมาก แต่ทันตแพทย์
อาจจะต้องใช้คำพูดสื่อสารกับผู้ป่วยเท่ากับอายุทางสมองของผู้ป่วยเท่านั้น ใช้คำอธิบายและคำสั่งง่ายๆไม่
ซับซ้อน ไปทีละขั้นเพื่อให้ได้พฤติกรรมที่ต้องการ ในบางครั้งการให้ผู้ปกครองอยู่ด้วยจะมีประโยชน์ต่อการ
สื่อสารกับผู้พิการทางสติปัญญา
ผู้พิการทางสติปัญญาจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือพิเศษในการดูแลสุขภาพช่องปากทั้งจาก
ผู้ปกครองและทีมทันตกรรม ซึ่งประกอบด้วยทันตแพทย์และผู้ช่วยทันตแพทย์ รวมทั้งให้ความรู้ข้อมูล
เกี่ยวกับทันตกรรมป้องกันต่อผู้ปกครองหรือผู้ดูแลผู้ป่วยพิการเหล่านี้อย่างใกล้ชิด
การป้องกันดูแลสุขภาพช่องปากในผู้พิการทางสติปัญญา
การป้องกันโรคในช่องปากและการดูแลสุขภาพช่องปากประกอบด้วย การกำจัดคราบจุลินทรีย์และ
คราบหินน้ำลาย การใช้ฟลูออไรด์เฉพาะที่และทางระบบ การเคลือบหลุมร่องฟัน และการให้คำปรึกษา
เกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหาร
1. การทำความสะอาดช่องปากด้วยการแปรงฟัน ผู้ป่วยพิการทางสติปัญญาหลายรายขาดทักษะใน
การดูแลความสะอาดช่องปาก ไม่สามารถแปรงด้วยตัวเอง ดังนั้นผู้ปกครองหรือผู้ดูแลจึงจำเป็นที่จะต้อง
ช่วยแปรงฟันให้ผู้ป่วย เพื่อกำจัดแผ่นคราบจุลินทรีย์และหินน้ำลาย ในการแปรงฟันให้ผู้พิการทางสติปัญญา
การแปรงฟันท่านั่งที่แนะนำคือให้ผู้ป่วยนั่งบนพื้น ผู้แปรงฟันนั่งข้างหลังบนเก้าอี้ หรือให้ผู้ป่วยนอนราบกับ
พื้นผู้แปรงฟันนั่งอยู่กับพื้นด้านหลังวางศีรษะบนตัวผู้แปรงฟัน ใช้นิ้วโป้งหรือนิ้วชี้ถ่างปากผู้ป่วย แล้วแปรง
ให้ ถ้าผู้ป่วยดิ้นให้ใช้ผ้าผืนใหญ่ๆ ห่อมัดตัวผู้ป่วย มีคนช่วยจับศีรษะและจับส่วนขา ถ้าไม่ยอมอ้าปากให้ใช้
ไม้ไอศกรีมหลายๆ อันพันด้วยผ้าก็อซค้ำไว้ แล้วแปรงอีกด้าน เมื่อสะอาดแล้วจึงเปลี่ยนมาใส่อีกด้าน
2. การใช้ฟลูออไรด์ ในผู้ป่วยพิการที่มีปัญหาทันตกรรมมากๆ การใช้ฟลูออไรด์ทั้งเฉพาะที่และทาง
ระบบอย่างเหมาะสมสามารถให้ประโยชน์ในด้านป้องกันโรคอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้ยาสีฟันผสม
ฟลูออไรด์จะช่วยในการป้องกันฟันผุได้ แต่ต้องระวังไม่ให้ผู้ป่วยกลืนเข้าไปเพราะจะทำให้ผู้ป่วยได้รับ
ฟลูออไรด์มากเกินไป
3. การเคลือบหลุมร่องฟัน ผู้ป่วยควรได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันเพื่อป้องกันฟันผุบนด้านบดเคี้ยว
4. การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหาร ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
หลีกเลี่ยงของขบเคี้ยวที่เป็นของหวานติดฟันต่างๆ พฤติกรรมการดูดนมขวดคาปากขณะนอนหลับ การให้
ขนมหวานเป็นรางวัลเพื่อสร้างพฤติกรรมที่ดี ควรจะต้องลดลง หรือไม่มีเลย
การรักษาทางทันตกรรมในผู้พิการทางสติปัญญา มีแนวทางการปฏิบัติดังนี้คือ
ผู้ป่วยพิการทางสติปัญญา
ให้คำแนะนำ/ทันตสุขศึกษา
แก่ผู้ปกครอง
ประเมินโรคทางระบบ
ประเมินพฤติกรรม
ไม่มี
มี
Premedication/
เตรียมอุปกรณ์ช่วยชีวิต
ส่งแพทย์รักษาโรคทางระบบ
ร่วมมือดี ร่วมมือปานกลาง ไม่ร่วมมือ
ปรับพฤติกรรม
Physical Restraint ร่วม/ไม่ร่วมกับ
Conscious sedation
ปัญหาทางทันตกรรมน้อย ปัญหาทางทันตกรรม
ปานกลาง/มาก
Physical Restraint ร่วม/ไม่ร่วมกับ
Conscious sedation
Conscious sedation /
G.A.
ให้การรักษาทางทันตกรรม
ควบคุมโรค
ได้ ไม่ได้
แนวทางปฏิบัติทางทันตกรรมในผู้พิการทางสติปัญญา
การปฏิบัติทางทันตกรรมในผู้พิการทางสติปัญญา จะมีขั้นตอนและแนวทางการปฏิบัติ คือ
1. ให้คำแนะนำและทันตสุขศึกษาแก่ผู้ปกครอง ในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้ป่วย
2. ประเมินโรคทางระบบ โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และประเมินว่าผู้ป่วยมีโรคทางระบบ
หรือไม่
2.1 กรณีผู้ป่วยมีโรคทางระบบ เช่น โรคหัวใจ โรคเลือด โรคลมชัก ฯลฯ ต้องประเมินหรือ
ปรึกษาแพทย์ก่อน ถ้าโรคทางระบบนั้นควบคุมได้ สามารถให้การรักษาทางทันตกรรมได้ โดยมีการให้ยา
ก่อนการรักษา( pre-medication ) และเตรียมอุปกรณ์ช่วยชีวิต
กรณีผู้ป่วยมีโรคทางระบบ และควบคุมไม่ได้ ( uncontrolled ) ต้องส่งต่อแพทย์ เพื่อรักษาและ
ควบคุมโรคทางระบบก่อน เมื่อควบคุมโรคได้แล้วจึงมาทำการรักษาทางทันตกรรม
2.2 กรณีผู้ป่วยไม่มีโรคทางระบบ สามารถให้การรักษาทางทันตกรรมได้ตามปกติ
3. ประเมินพฤติกรรม โดยการพูดคุย ทำความคุ้นเคยกับผู้ป่วยเพื่อประเมินพฤติกรรม และ
พิจารณาให้การรักษา
3.1 ผู้ป่วยให้ความร่วมมือดี สามารถสื่อสารได้ ให้การรักษาได้ตามปกติโดยใช้การปรับพฤติ
กรรมร่วมด้วย
3.2 ผู้ป่วยให้ความร่วมมือปานกลาง การรักษาทางทันตกรรมใช้การรัดตัว ( physical restraint )
และอาจใช้ หรือไม่ใช้conscious seadation ร่วมด้วย
3.3 ผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือ พิจารณาปัญหาทางทันตกรรม
3.2.1 ผู้ป่วยมีปัญหาทางทันตกรรมน้อย การรักษาทางทันตกรรมใช้การรัดตัว ( physical
restraint ) และอาจใช้ หรือไม่ใช้ conscious seadation ร่วมด้วย
3.3.2 ผู้ป่วยมีปัญหาทางทันตกรรมปานกลางถึงมาก การรักษาทางทันตกรรมใช้ conscious
seadation ร่วมด้วย หรือ ใช้วิธีดมยาสลบ ( general anesthesia ) และให้การรักษาในห้องผ่าตัด
หมายเหตุ กรณีใช้ physical restraint , conscious seadation หรือ general anesthesia ต้องอธิบาย
ผู้ปกครอง และให้ผู้ปกครองลงลายมือชื่อ เพื่อแสดงความยินยอมรับการรักษา)__
รวบรวมโดย นายบุญช่วย สมัคร กศน.เขตจตุจักร


เข้าชม : 561


ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

      กศน.กรุงเทพมหานคร 25 / มิ.ย. / 2553
      กิจกรรมของคนพิการ 25 / มิ.ย. / 2553
      สองพี่น้อง 24 / มิ.ย. / 2553
      กศน.กรุงเทพมหานคร 24 / มิ.ย. / 2553
      ผลงานคนพิการวังน้ำเขียว 24 / มิ.ย. / 2553


 

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองตรัง
ถนนพัทลุง ตำบลทับเที่ยง  อำเภอเมือง  จังหวัดตรัง 92000 
โทรศัพท์ 075-216886 โทรสาร 075-216886    
   
E-mail : wannisa_happy@hotmail.com

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05