[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 

บุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์

การศึกษาพิเศษ - Special Education
 
      บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์   หมายถึง   บุคคลที่มีอารมณ์และพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากปกติเป็นอย่างมาก และปัญหาทางพฤติกรรมนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่เป็นที่ยอมรับทางสังคมส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็กและผู้อื่น เป็นผลมาจากความขัดแย้งของเด็กกับสภาพแวดล้อม หรือความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในตัวเด็กเองขาดสัมพันธภาพกับเพื่อนหรือผู้อื่น ความเก็บกดทางอารมณ์จะแสดงออกทางร่างกาย แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
  1. กลุ่มความประพฤติผิดปกติ มีลักษณะก้าวร้าว ทำร้ายผู้อื่น ต่อต้าน เสียงดัง พูดหยาบคาย
  2. กลุ่มบุคคลผิดปกติ ชอบเก็บตัว ขาดความมั่นใจ กัดเล็บ เงียบเฉย ไม่พูด มองโลกในแง่ร้าย
  3. กลุ่มขาดวุฒิภาวะ มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับวัย สมาธิ ไม่สนใจสิ่งรอบตัว งุ่มง่าม เฉื่อยชา สกปรก ขาดความรับผิดชอบ
  4. กลุ่มที่มีปัญหาทางสังคม ชอบหนีโรงเรียน หนีออกจากบ้าน คบเพื่อนไม่ดี ต่อต้านผู้มีอำนาจ ชอบเที่ยวกลางคืน

เกณฑ์การตัดสิน

  • เป็นเด็กที่แสดงพฤติกรรมทางอารมณ์ที่เบี่ยงเบนไปจากเด็กทั่วไปในวัยเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะได้รับบริการแนะแนวและบริการให้คำปรึกษาแล้วก็ตามก็ยังมีปัญหาทางอารมณ์อยู่ในลักษณะเดิม
     
  • การประเมินผลทางจิตวิทยาและการสังเกตอย่างมีระบบ ระบุว่าเด็กมีปัญหาในทางพฤติกรรมมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน
     
  • มีพฤติกรรมที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนของตน การอ่าน การเขียน คณิตศาสตร์ พัฒนาการทาสังคม พัฒนาการทางภาษาและการควบคุมพฤติกรรมของตนเอง
     
  • มีหลักฐานอื่นยืนยันว่าปัญหาของนักเรียนมิได้เกิดจากความบกพร่องทางร่างกาย การรับรู้และสติปัญญา

ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม

  • ก้าวร้าว ก่อกวน
    • การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ
    • การปรับตัวทางสังคม เช่น  แก๊งอันธพาล  การหนีโรงเรียน
    • การทำลายสาธารณสมบัติ
    • การลักขโมย การประทุษร้ายทางเพศ

เทคนิคการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์

  1. กำหนดกฎเกณฑ์ ระเบียบตลอดจนกิจวัตรประจำวันในห้องเรียนให้เป็นระบบให้ชัดเจน ซึ่งควรมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการทำงาน
     
  2. ครูกำหนดกฎ ระเบียบของห้องเรียน ควรกระทำตอนต้นภาคเรียนและชี้แจงให้นักเรียนทุกคนเข้าใจตรงกันและปฏิบัติตาม
     
  3. ถ้ามีนักเรียนบางคนไม่เข้าใจกฎ ระเบียบ ให้ครูเลือกเด็กคนใดคนหนึ่งเป็นแบบอย่างให้นักเรียนที่ไม่เข้าใจปฏิบัติตามแบบอย่างจนกว่าเด็กจะเข้าใจ
     
  4. ครูคอยตรวจสอบว่านักเรียนปฏิบัติตามกฎ ระเบียบหรือไม่และให้แรงเสริมทางบวก เมื่อนักเรียนปฏิบัติตามกฎ
     
  5. หากนักเรียนทำแบบฝึกหัดหรือทำการบ้านไม่ได้ ครูอาจเลือกใช้วิธีอื่น
     
  6. ถ้านักเรียนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือใช้คำพูดไม่เหมาะสมกับครูหรือเพื่อน ครูควรวิเคราะห์พฤติกรรมของเด็กก่อนแล้วจึงพิจารณาดำเนินการต่อไป
     
  7. ถ้านักเรียนทะเลาะวิวาทหรือชกต่อยกัน ครูจะต้องจับเด็กแยกออกจากกันทันที หลังจากนั้นครูอาจให้นักเรียนศึกษาแบบอย่างพฤติกรรมที่ถูกต้องจากเด็กอื่นๆแล้วให้ปฏิบัติตามแบบอย่างนั้นๆ
     
  8. ถ้าเด็กปรับตัวในทางถดถอย ชอบอยู่คนเดียว ไม่ร่วมกิจกรรมกับเพื่อน ครูอาจสั่งให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมหรือส่งเด็กไปให้ครูแนะแนวหรืออาจให้เพื่อนนักเรียนในห้องเดียวกันเขียนส่วนดีของเด็กคนนั้นลงในกระดาษ แล้วให้นักเรียนอ่านข้อความนั้นให้นักเรียนทั้งห้องฟังเพื่อให้เด็กรู้สึกชื่นชมตนเองและมีแรงในภายในที่จะพัฒนาตนเองต่อไป
     
  9. ครูควรนำวิธีปรับพฤติกรรมมาใช้อย่างเป็นระบบ

bar_green.gif
 

 


Credit

ศูนย์การศึกษาพิเศษ  ประจำจังหวัดสระแก้   

 



เข้าชม : 4782
 
 

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองตรัง
ถนนพัทลุง ตำบลทับเที่ยง  อำเภอเมือง  จังหวัดตรัง 92000 
โทรศัพท์ 075-216886 โทรสาร 075-216886    
   
E-mail : wannisa_happy@hotmail.com

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05