[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 

บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

การศึกษาพิเศษ - Special Education
 
 

 

บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง  การที่บุคคลสูญเสียการได้ยินโดยสิ้นเชิงหรือที่เราเรียกว่า หูหนวก และบุคคลที่สามารถได้ยินบ้างแต่ไม่เท่าคนปกติทั่วไป ซึ่งเราเรียกว่า หูตึง และไม่เข้าใจในภาษาพูดจนไม่สามารถสื่อความหมายกับคนอื่นได้ แบ่งเป็น 2 ประเภท  คือ

              §   เป็นแต่กำเนิด ซึ่งจะทำให้พูดไม่ได้ หรือมีเปอร์เซ็นต์ที่จะพูดได้น้อยมาก
            
  §   เป็นภายหลัง สามารถพูดได้ แต่ไม่ดี

          เด็กหูหนวก  หมายถึง  คนที่สูญเสียการได้ยินมากจนไม่สามารถรับข้อมูล ผ่านทางการได้ยิน ไม่ว่าจะใส่หรือไม่ใส่เครื่องช่วยฟัง โดยทั่วไปหากตรวจวัดการได้ยินจะสูญเสียการได้ยินประมาณ 90 เดซิเบลขึ้นไป

          เด็กหูตึง  หมายถึง  คนที่มีการได้ยินเหลืออยู่พอเพียงที่จะรับข้อมูลผ่านทางการได้ยิน โดยทั่วไปจะใส่เครื่องช่วยฟัง  และหากตรวจวัดการได้ยินจะพบว่ามีการสูญเสียการได้ยินน้อยกว่า 90 เดซิเบล ลงมาจนถึง 26 เดซิเบล
 

                       ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

              ©  การพูด  จะมีปัญหาทางการพูดโดยอาจพูดไม่ชัดหรือพูดไม่ได้
              ©  ภาษา   จะมีปัญหาเกี่ยวกับภาษา  ได้แก่   มีความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ในวงจำกัด  เรียงคำเป็นประโยคที่ผิดหลักภาษา
           ©  ความสามารถทางสติปัญญา จากการวิจัยพบว่า เด็กมีความสามารถทางสติปัญญาในหลายๆระดับคล้ายเด็กปกติ
           ©  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เด็กจำนวนมากมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเด็กปกติอันเนื่องมาจากปัญหาทางภาษาและทักษะท่าทางภาษาจำกัด
           ©  การปรับตัว เด็กมีปัญหาในการปรับตัวซึ่งเป็นผลมาจากการสื่อสาร

 

สาเหตุ

  • ขณะตั้งครรภ์
    • กรรมพันธุ์
    • การติดเชื้อของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ เช่น หักเยอรมัน กามโรค คางทูม
    • พิษจากยาหรืออาหารบางประเภทที่มารดาได้รับขณะมีครรภ์
    • โรคขาดธาตุอาหารของมารดาขณะมีครรภ์
    • เลือดแม่กับลูกไม่เข้ากัน
    • อุบัติเหตุของมารดาขณะตั้งครรภ์ เช่น หกล้ม กระทบกระแทกขณะคลอด
  • ความผิดปกติของการคลอด เช่น คลออดยาก คลอดก่อนกำหนด ท่าคลอดของเด็กผิดปกติ
  • หลังคลอด
    • การแพ้พิษยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาควินิน ยาแก้หวัด ฯลฯ
    • การติดเชื้อ เช่น การเป็นหูน้ำหนวก ฯลฯ
    • ความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในหู เช่น มีเนื้องอกในหู
    • หูได้รับเสียงดังติดต่อกันเวลานาน
    • อุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนบริเวณหูหรือประสาทหู

การป้องกัน

  • หญิงมีครรภ์ควรปฏิบัติดังนี้
    • ฝากครรภ์กับแพทย์และรับการตรวจเป็นระยะ ๆ
    • รักษาสุขภาพ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
    • ห้ามซื้อยากิน - ฉีด ใช้เองเป็นอันขาด ต้องรับคำแนะนำจากแพทย์ก่อน
    • หลีกเลี่ยงการฉายแสงเอกซ์เรย์และระวังการใช้ยาปฏิชีวนะ
  • หญิงทุกคนควรฉีดวัคซีนป้องกันหักเยอรมัน เพื่อจะได้ไม่เป็นโรคนี้ขณะตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กประสาทหูพิการแต่กำเนิด
  • หญิง - ชาย ควรตรวจเลือดก่อนแต่งงาน
  • พบความผิดปกติในการได้ยินของบุตรหลานหรือตนเอง ควรปรึกษาแพทย์ทันที
  • เด็กแรกเกิดควรได้รับภูมิคุ้มกันตามกำหนด
  • อย่าให้หูได้รับเสียงดังมากเกินไป และเป็นเวลานาน
  • ระวังเด็กจากโรคไวรัสบางชนิด เช่น


Credit

ศูนย์การศึกษาพิเศษ  ประจำจังหวัดสระแก้ว  

 



เข้าชม : 2223
 
 

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองตรัง
ถนนพัทลุง ตำบลทับเที่ยง  อำเภอเมือง  จังหวัดตรัง 92000 
โทรศัพท์ 075-216886 โทรสาร 075-216886    
   
E-mail : wannisa_happy@hotmail.com

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05